Thursday, 28 March 2024, 20:52:48
ยินดีต้อนรับ, Guest
หน้าหลัก » ไฟล์ » เอกสารโรงเรียน » การประเมินคุณภาพการศึกษา

ระบบและการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 2
[ · ดาวน์โหลดจากแหล่งอื่น () ] 21 March 2012, 18:40:27

ระบบและการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 

  i 4.2  ขั้นการดำเนินการ 

    ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก  4  ขั้นตอน  คือ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบประเมินผล และการพัฒนาปรับปรุง ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องดำเนินการร่วมกันในทุกขั้นตอน โดยมีรายละเอียดแต่ละขั้นตอน ดังนี้

         1. การวางแผน (Plan)  

         การวางแผนเป็นการคิดเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพื่อจะทำงานให้สำเร็จ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ สถานศึกษาควรมีการจัดทำแผนต่าง ๆ คือแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี แผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร และสอดคล้องกับเป้าหมายของสถานศึกษา แผนการประเมินคุณภาพการศึกษา แผนงบประมาณ ทั้งรายรับและรายจ่ายของสถานศึกษา ซึ่งแผนต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกัน ดังนี้ 

 

รูปภาพที่ 4 ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของแผนต่าง ๆ ที่สถานศึกษาควรจัดทำ

  

     ในการจัดทำแผนต่าง ๆ นั้น ควรวางแผนการประเมินผลไปพร้อมกันด้วย เพื่อใช้กำกับตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนเพียงใด โดยมีการตั้งเป้าหมาย วิธีการ รูปแบบ ในการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล แผนการประเมินที่ดี ควรสอดคล้อง เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน 

ดังนั้นโรงเรียนจึงมีขั้นตอนการวางแผน ดังแผนภูมิต่อไปนี้

 

รูปภาพที่ 5 แสดงขั้นตอนการวางแผน

 

      การกำหนดเป้าหมาย 

        1.  ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการวางแผน ข้อมูลต่าง ๆ ที่ควรวิเคราะห์ คือ 

  • เป้าหมายหรือมาตรฐานหลักที่เป็นความต้องการส่วนรวมของสังคมและประเทศชาติ 
  • สภาพเศรษฐกิจ ? สังคมของท้องถิ่นและชุมชน ทั้งในด้านสภาพทั่วไป ปัญหาความต้องการและแนวโน้มการพัฒนา ซึ่งเป็นเป้าหมายหรือมาตรฐานเฉพาะ
  • ข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาที่แสดงภาพของสถานศึกษาตามความเป็นจริง ได้แก่ สถิติข้อมูลพื้นฐาน ความสามารถในด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษา 

       2. วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา เพื่อพิจารณาความสอดคล้องขอข้อมูลต่าง ๆ  และการสังเคราะห์เพื่อประสานความต้องการของฝ่ายต่าง ๆ ตามแผนภูมิดังนี้ 

 

รูปภาพที่ 6   การกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา

 

 

            3. การจัดอันดับความสำคัญของเป้าหมาย จะช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการตั้งประเด็นเพื่อพิจารณาความต้องการในด้านต่าง ๆ

            4. กำหนดแนวทางการดำเนินงานหรือวิธีปฏิบัติงาน  คือการนำเป้าหมายที่มีลักษณะเป็นความคิดเชิงนามธรรม มาทำให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ โดยคิดโครงการหรือกิจกรรมที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ รวมกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จให้ชัดเจนด้วย

            5. การกำหนดระยะเวลา  การกำหนดระยะเวลาจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เพราะผู้ปฏิบัติจะได้ทราบว่างานใดควรดำเนินการให้เสร็จอย่างไร

             6. การกำหนดงบประมาณควรคิดงบประมาณที่จะต้องใช้ในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ รวมทั้งค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะเป็นในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ

           7. การกำหนดผู้รับผิดชอบการกำหนดผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม ในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้แผนดังกล่าวสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         C 2.  การปฏิบัติตามแผน (Do)

         บุคลากรร่วมกันดำเนินการตามแผนที่จัดทำไว้ โดยในระหว่างการดำเนินงานต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา และควรมุ่งเน้นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรดำเนินการดังนี้

  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนทำงานอย่างมีความสุข 
  • จัดสิ่งอำนวยความสะดวก สนับสนุนทรัพยากรเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  •  กำกับ ติดตาม (Monitoring) ทั้งระดับรายบุคคล รายกลุ่ม รายฝ่าย เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามแผน
  • ให้การนิเทศ ผู้บริหารควรให้การนิเทศ เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องการจัดการเรียนการสอน การประเมินตนเอง และทักษะในด้านต่าง ๆ

         C 3. การตรวจสอบประเมินผล (Check)

         การประเมินผล เป็นกลไกสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข โดยเฉพาะการประเมินตนเอง ซึ่งเป็นการประเมินที่มุ่งเพื่อการพัฒนา ซึ่งกิจกรรมที่ต้องดำเนินการประกอบด้วย การวางกรอบการประเมิน การจัดหา/จัดทำเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลความหมาย และการตรวจสอบ/ปรับปรุงคุณภาพการประเมิน ดังแผนภาพต่อไปนี้

รูปภาพที่ 7 แสดงกิจกรรมการตรวจสอบประเมินผลภายใน

 

            การวางกรอบการประเมิน เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางในการประเมิน และควร 

เชื่อมโยงกับเป้าหมายคุณภาพหรือมาตรฐานการศึกษาที่ระบุในแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ 

            การจัดหา / จัดทำเครื่องมือ ประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เอกำหนดเครื่องมือที่จะใช้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยมีขั้นตอนดังแผนภูมิต่อไปนี้ 

รูปภาพที่ 8 แสดงการจัดหา/จัดทำเครื่องมือ

  

         การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีแนวทางดังนี้ 

        1. การรวบรวมข้อมูล 

  • ใช้ข้อมูลที่สถานศึกษามีอยู่แล้ว 
  • เก็บข้อมูลใหม่ 
  • เก็บจากหลาย ๆ แหล่งเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล 
  • เก็บตามเวลาที่สอดคล้องกับการทำงานตามปกติ 
  • ในช่วงเวลาเดียวกัน ไม่ควรระดมเก็บข้อมูลทุกอย่างพร้อมกันจำนวนมากความครอบคลุมของกลุ่มเป้าหมาย 
  • ข้อมูลเพื่อพัฒนาปรับปรุงเป็นรายบุคคล ต้องเก็บข้อมูลทุกคน 
  • ข้อมูลภาพรวมของสถานศึกษา หรือข้อมูลจากผู้ปกครอง ชุมชน เก็บจากกลุ่มตัวอย่าง 

        2. การวิเคราะห์ข้อมูล 

     การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้รับผิดชอบร่วมกันพิจารณากรอบการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละประเด็น และมีวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น 

  • การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล
  •  การวิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียนในภาพรวม การแปลความหมายข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ต้องนำมาแปลข้อมูลก่อน โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ดังแผนภาพต่อไปนี้

 

 

        3. การตรวจสอบ / ปรับปรุงคุณภาพการประเมิน 

    สถานศึกษาดำเนินการประเมินตามแผนที่กำหนดไว้แล้ว ก็จะต้องมีกาตรวจสอบ กระบวนการและผลการประเมิน  เช่น ด้านความเหมาะสม ความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือ โดยผู้บริหารมีการตรวจสอบในระหว่างการนิเทศ และประชุมร่วมกับคณะกรรมการเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการประเมินคุณภาพให้มีประสิทธิภาพ

 

         C 4. การนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน (Action)

  • การปรับปรุงการปฏิบัติงานของผู้บริหารและบุคลากร
  • การวางแผนในระยะต่อไป
  • การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ
  • การประเมินผล

    เมื่อมีการดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ แล้ว การประเมินผลการดำเนินงานก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ทราบว่า การดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนมีปัญหา ? อุปสรรค จะมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้น ๆ อย่างไร ต้องมีการประเมินผลเป็นระยะ ๆ เพื่อปรับปรุง แก้ไขปัญหาอุปสรรคไปด้วย โดยเน้นที่เป้าหมายคือตัวนักเรียนเป็นสำคัญ

 

   i 4.3  ขั้นการเขียนรายงาน

    เป็นขั้นที่จัดทำรายงานประเมินผลตนเองประจำปี..... หรือรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี.....  ดำเนินการดังนี้

  • รวมรวมผลการดำเนินงานและประเมินตนเอง
  • วิเคราะห์ตามมาตรฐาน
  • เขียนรายงาน

5.  ปัญหา ? อุปสรรคและข้อเสนอแนะ

จากการดำเนินงานในการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษานั้น มีปัญหา และอุปสรรคดังนี้

  1. บุคลากร/ สถานศึกษา
  • บุคลากรยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการประกันคุณภาพภายในสถานศึก
  • บุคลากรไม่มีความรู้ในการจัดทำเครื่องมือในการประเมิน
  • บุคลากรไม่ได้ให้ความร่วมมือในการดำเนินการประกันคุณภาพอย่างเต็มที่
  • ด้านผู้ปกครอง และชุมชน ยังขาดความร่วมมือเท่าที่ควร
  • สถานศึกษายังเก็บข้อมูลสารสนเทศไม่เป็นระบบ
  • สถานศึกษาขาดการเก็บข้อมูลที่เป็นจริง

     2. งบประมาณ

  • งบประมาณไม่เพียงพอ
  • การจัดหาเครื่องมือการประเมิน ยังไม่ทันสมัย

    3. การดำเนินงาน

  • การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ยังไม่เป็นระบบ
  • ขาดการวางแผนที่ดี
  • ระยะเวลาในการประเมินไม่เหมาะสม กระชั้นชิด

    4. การจัดทำรายงาน

  • รูปเล่มของการรายงานไม่เป็นระบบและมีตัวอย่างที่เหมาะสม

ข้อเสนอแนะ

  • จัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด
  • สร้างความตระหนักและให้เห็นถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา
  • ปรับปรุงระบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาอยู่เสมอ
  • จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ
  • จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ
หมวด: การประเมินคุณภาพการศึกษา | เพิ่มโดย: jatuporn | Tags: ระบบและการดำเนินงานการประกันคุณภาพก
Views: 2835 | ดาวน์โหลด: 1008 | Rating: 0.0/0
คอมเม้นทั้งหมด: 0
ComForm">
avatar