Wednesday, 24 April 2024, 07:21:47
ยินดีต้อนรับ, Guest
หน้าหลัก » ไฟล์ » เอกสารงานวิจัย

คู่มือแนวทางการเขียนโครงร่างวิจัย
[ ดาวน์โหลดจากเวบนี้ (66.0 Kb) ] 18 January 2014, 10:04:46

1.ชื่อโครงการวิจัย: อาจเขียนทั้งภาษาไทย และอังกฤษ ชื่อโครงการต้องกระชับ มีความชัดเจน ไม่คลุมเครือ ไม่สั้นหรือยาวจนจับใจความไม่ได้ (ไม่ควรระบุชื่อสถานที่ในชื่อเรื่อง)

2.ผู้วิจัย / ทีมผู้วิจัย: ระบุชื่อผู้วิจัยหลักเป็นชื่อแรก และเรียงตามลำดับการทำงานวิจัยมากไปน้อย หากมากกว่า 3 คน ให้เติม "และคณะต่อท้ายคนที่ 3 ควรระบุตำแหน่งและหน่วยงานของนักวิจัยทุกคนด้วย

3.ที่ปรึกษาวิจัย: ที่ปรึกษาต้องมีความรู้ ประสบการณ์ ทางด้านงานวิจัย ทั้งด้านเนื้อหา และด้านระเบียบวิธีวิจัยหรือด้านสถิติ

4.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา: ระบุเหตุผล ความสำคัญของปัญหา ให้ชัดเจนว่าทำไมต้องทำวิจัยเรื่องนี้ ถ้าไม่ทำแล้วจะเกิดผลกระทบอย่างไร ต่อใครบ้าง ถ้าทำแล้วจะเป็นประโยชน์กับใครบ้าง อย่างไร เป็นต้น และควรมีการทบทวนวรรณกรรมมากพอและอ้างอิงข้อมูลที่ชัดเจน

5.คำถามหลักการวิจัย: มีความชัดเจนและสำคัญเพียงพอที่จะต้องทำวิจัย ทำเสร็จแล้วสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาสำคัญๆ ได้ ไม่เพียงแต่ตอบสนองความรู้ที่ตนเองต้องการเท่านั้น แต่ต้องตอบสนองต่อหน่วยงาน องค์กร ผู้ป่วย ประชาชนด้วย และต้องไม่คลุมเครือหรือมีขอบเขตกว้างจนเกินไป โดยต้องระบุให้ชัดเจนว่าเราต้องการทราบอะไร  ( ตั้งเป็นลักษณะคำถาม  "?” )

6.วัตถุประสงค์การวิจัย: 1)นิยมใช้คำขึ้นต้นว่า "เพื่อโดยสอดคล้องกับชื่อเรื่องและคำถามวิจัย  2)ไม่มีหลายข้อเกินไป 3) ควรเขียนแยกเป็นข้อๆอย่างชัดเจน 4)จัดเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง 5) อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ ใช้คำตรงตามความหมาย

7.สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี): ส่วนใหญ่ใช้กรณีที่เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์หรือเชิงทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน ซึ่งเป็นคำตอบที่คาดคะเนล่วงหน้า โดยอาศัยเหตุผลที่ได้จากความรู้ จินตนาการและประสบการณ์เดิมของผู้วิจัย โดยจะทดสอบสมมติฐานได้ต้องมีการวัดตัวแปรทั้ง 2 เป็นตัวเลขและสามารถทดสอบได้มี 2 อย่าง 1) สมมติฐานทางการวิจัย เขียนเป็นข้อความถึงความคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร จะมีทิศทางหรือไม่มีทิศทางก็ได้ เช่นคำว่า "แตกต่างกันหรือ "ไม่แตกต่างกันหรือ "สูงกว่าหรือ "ต่ำกว่าเป็นต้น 2) สมมติฐานทางสถิติ เขียนในรูปประโยคสัญลักษณ์เชิงสถิติ

8.ขอบเขตการวิจัย: ระบุขอบเขตของการศึกษาว่า ศึกษาภายใต้เงื่อนไขใดบ้าง  หรือภายใต้ข้อจำกัดใดบ้าง

9.นิยามศัพท์: มีทั้งนิยามความหมายทั่วไปของศัพท์เฉพาะหรือตัวแปร / และนิยามเชิงปฏิบัติการ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มคำหรือกิจกรรมสำคัญ จะได้เข้าใจตรงกัน / ไม่ควรใช้คำปฏิเสธซ้อนกันหรือกำกวมเข้าใจยาก /ในการกำหนดคำศัพท์ใด ควรศึกษาค้นคว้าเอกสาร และทฤษฎีหรือสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำนั้นมาอย่างดีแล้ว ไม่ควรคิดคำศัพท์หรือคำนิยามขึ้นใหม่ด้วยตนเองโดยปราศจากการศึกษาอ้างอิงหรือวัดไม่ได้

10.ตัวแปรที่ศึกษา: ระบุกรอบการวิจัยให้ชัดเจนหากอ้างอิงแนวคิดหรือทฤษฎี หรืออาจเขียน Flow ด้วย และอาจระบุตัวแปรและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วย
    ตัวแปรต้น : คือตัวแปรที่เป็นต้นเหตุหรือเป็นตัวการที่ทำให้เกิดสิ่งอื่นๆตามมา / บางครั้งเรียกว่าตัวแปรจัดกระทำ / เป็นตัวแปรที่เกิดก่อนตัวแปรตาม หรือเป็นเหตุ หรือเป็นตัวกระตุ้น หรือเป็นตัวทำนาย มักใช้ตัว "x”
    ตัวแปรตาม : เป็นตัวแปรที่ต้องแปรเปลี่ยน หรือแปรสภาพ หรือคุณภาพไปตามอิทธิพลของตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ เมื่อตัวแปรอิสระมีการเปลี่ยนแปลง ตัวแปรตามจะมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย บางครั้งเรียกว่าตัวแปรมาภายหลัง หรือตัวแปรผล หรือเป็นตัวตอบสนอง หรือเป็นตัวถูกทำนาย มักใช้ตัว "y”

11.วิธีการศึกษา: เป็นการอธิบายรายละเอียดให้ชัดเจนในประเด็นต่างๆ ต่อไป

     11.1รูปแบบการวิจัย: กำหนดรูปแบบการวิจัย หรือ ระเบียบวิธีวิจัย หรือ ออกแบบวิจัย หรือ แบบแผนการวิจัย ให้ชัดเจน ว่าจะดำเนินการเป็นขั้นตอนอย่างไร ที่เป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดที่จะให้ได้คำตอบนี้ดีที่สุด และสามารถอธิบายจุดแข็ง จุดอ่อน หรือข้อดี ข้อเสีย ของแบบแผนงานวิจัยของตนเองได้ทุกแง่มุม

     11.2ประชากร/กลุ่มตัวอย่างและขนาด/วิธีการสุ่มตัวอย่าง:

           http://in.kkh.go.th/department/research/images/stories/medallion_but_5.gifประชากรมีทั้งประชากรที่มีจำกัดและไม่จำกัด ซึ่งเป็นการกำหนดคุณสมบัติของหน่วยวิเคราะห์ที่ต้องศึกษาว่ามีลักษ ณะอย่างไร มีคุณสมบัติอย่างไร ซึ่งประชากรหมายถึงจำนวนทั้งหมด หรือสิ่งทั้งหมดที่จะศึกษา แต่ถ้ามีปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เสียเงินและเวลาในการวิจัย ควรนำมาศึกษาเพียงบางส่วนซึ่งเรียกกลุ่มที่นำมาได้นี้ว่ากลุ่มตัวอย่าง
       http://in.kkh.go.th/department/research/images/stories/medallion_but_5.gifกลุ่มตัวอย่างเป็นการระบุจำนวนหน่วยวิเคราะห์หรือกลุ่มตัวอย่างว่าจะนำมาศึกษาปริมาณเท่าใด ซึ่งการกำหนดจำนวนนั้นจะต้องเหตุผลหรือสูตรการคำนวณที่เชื่อถือได้ทางสถิติ ไม่ได้กำหนดขึ้นลอยๆ ตามใจชอบ นอกจากนี้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและความจำเป็นในเรื่องเวลา แรงงาน งบประมาณ ความเหมือนหรือต่างกันของประชากร คือถ้าประชากรมีลักษณะคล้ายกันก็ไม่จำเป็นต้องเลือกมาก แต่หากมีลักษณะที่แตกต่างกันมากจะต้องใช้จำนวนมากขึ้น
         http://in.kkh.go.th/department/research/images/stories/medallion_but_5.gifการเลือกหรือสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยและสภาพการณ์จะทำให้ได้คำตอบที่ถูกต้องมากขึ้น จะต้องมีวิธีเลือกตัวอย่างที่ดี ไม่ลำเอียง เป็นตัวแทนของประชากรได้ มีหลักการที่ถูกต้องในการสุ่มตัวอย่าง

    11.3 เครื่องมือในการวิจัย/วิธีการสร้างหรือพัฒนา/วิธีเก็บข้อมูล:

          1. เครื่องมือจะต้องมีความตรง ความเที่ยง มีอำนาจจำแนก ความยากง่ายของการตอบ ตรงตามเนื้อหา ไม่มากเกินไปต้องเปลืองเวลาและต้นทุนหรือน้อยเกินไปจนไม่สามารถเก็บรายละเอียดสำคัญได้ ทั้งนี้ต้องมีความเหมาะสมที่สุด ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 
          2.ประเภทของเครื่องมือ มีหลายอย่าง เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก แบบประเมินค่า แบบสังเกต เป็นต้น  หากเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือคือตัวนักวิจัยเอง
          3. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
              3.1 กำหนดตัวแปรที่ต้องการเก็บให้ครบ / ครอบคลุม (ศึกษาเอกสาร/ทบทวน) โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา
              3.2 ออกแบบ / สร้างโจทย์ / ตรวจสอบ / เรียงลำดับให้เหมาะสม
              3.3 ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบทั้งด้านรูปแบบ และเนื้อหา
              3.4 ทดลองใช้ / ปรับให้เหมาะสม ( ดูค่า reliability)
              3.5 ออกแบบเก็บข้อมูลจริง
         4. หากผู้วิจัยส่งเครื่องมือการวิจัยให้คณะกรรมการวิจัยพร้อมโครงการวิจัยจะดีมาก
วิธีเก็บข้อมูลมีหลายวิธี เช่น 1) คัดลอกจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว 2) การสอบถาม/สัมภาษณ์ 3) การสังเกต 4) การใช้แบบวัด เป็นต้น
         5. ผู้วิจัยจะต้องวางแผนการเก็บข้อมูลให้รอบคอบ ให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่าง จะเก็บด้วยตนเอง หรือให้ผู้อื่นเก็บข้อมูลให้โดยอบรมผู้ช่วยนักวิจัยที่ช่วยเก็บข้อมูลก่อน หรือจะส่งทางไปรษณีย์ รวมทั้งออกแบบการเก็บให้ดีว่าจะเก็บกี่ครั้ง กี่วัน วันละกี่ราย เป็นต้น

    11.4 แนวทางวิเคราะห์ข้อมูล / สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์/การนำเสนอข้อมูล: กำหนดสถิติที่ใช้ตอบคำถาม ประกอบด้วย
           http://in.kkh.go.th/department/research/images/stories/medallion_but_5.gifสถิติเชิงพรรณนา เช่น  ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
           http://in.kkh.go.th/department/research/images/stories/medallion_but_5.gifสถิติอนุมานหรือเพื่อทดสอบสมมติฐาน เช่น t-test , ANOVA เป็นต้น

12. ปีที่ทำวิจัย/ระยะเวลา/ปฏิทินดำเนินการวิจัย: ควรระบุตั้งแต่เริ่มต้น จนสิ้นสุดงานวิจัย และระบุรายละเอียดว่าช่วงไหนทำอะไรบ้าง

13.งบประมาณ: ระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้จ่ายอะไรบ้าง ยิ่งระบุได้ชัดเท่าใด ก็จัดสรรได้ง่ายมากเท่านั้น (สำหรับงานวิจัยที่ใช้งบประมาณมาก อาจจะสนับสนุนเพียงบางส่วน หรืออาจจะให้ของบประมาณจากหน่วยงานภายนอก) สำหรับเงินวิจัยอาจไม่พิจารณาให้ซื้อวัสดุหรือครุภัณฑ์ที่มีราคาแพง อาจปรับให้ใช้จากหมวดอื่น หรือ นักวิจัยจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าหากมีวัสดุ/ครุภัณฑ์ ที่ใช้หลังจากการวิจัยแล้วจะดำเนินการอย่างไร

14.ผลที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย: ระบุประโยชน์ทั้งระยะสั้น และระยะยาว / ประโยชน์ต่อหน่วยงาน หรือต่อองค์กรอย่างไร
ใช้ประโยชน์ในวงกว้างหรือแคบ ใช้ประโยชน์ง่ายหรือยาก ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ดีเพียงใด

15.ผลกระทบด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์: สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านจริยธรรมหรือการทดลองในมนุษย์ ให้ระบุให้ชัดเจนว่าเหตุผลใดจึงต้องทดลอง/เก็บข้อมูลในมนุษย์ จะต้องมีข้อความระบุไว้ในโครงการและให้แสดง Inform consent หรือใบยินยอมแนบมาพร้อมกับโครงการด้วย หรือหากมีใบรับรองการทำวิจัยในมนุษย์จากที่อื่นมาแล้ว ให้แนบมาพร้อมโครงการด้วย และจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมทางการวิจัยอีกครั้งก่อนที่จะให้คณะกรรมการวิจัยพิจารณา ซึ่งจะมีใบรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมทางการวิจัยก่อน (ซึ่งคณะกรรมการวิจัยจะดำเนินการประสานงานเอง)

16.บรรณานุกรม/เอกสารอ้างอิง: ให้ระบุเอกสารอ้างอิงด้วย (หรือจะเขียนตอนผลงานวิจัยก็ได้)

17.ภาคผนวก: ควรส่งแนบมาด้วย

     ก.โครงร่างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล:

         http://in.kkh.go.th/department/research/images/stories/medallion_but_5.gif โครงร่างเครื่องมือหรือแบบสอบถาม ควรแนบมาพร้อมกับโครงร่างวิจัย 
         http://in.kkh.go.th/department/research/images/stories/medallion_but_5.gifเครื่องมืออาจจะยังไม่สมบูรณ์ก็ได้ / กรรมการจะช่วยวิพากษ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

     ข.รายละเอียดแนวคิด ทฤษฎี บางประการที่เกี่ยวข้อง: ถ้ามีแนวคิด ทฤษฎี บางประการที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยก็ควรสรุป หรือแนบมาด้วย

18.ความเห็นของผู้บังคับบัญชา: ขอให้ผู้บังคับบัญชาให้ความเห็นและลงนามรับทราบ

 

หมวด: เอกสารงานวิจัย | เพิ่มโดย: i-Tuinui | Tags: คู่มือแนวทางการเขียนโครงร่างวิจัย
Views: 1788 | ดาวน์โหลด: 266 | Rating: 0.0/0
คอมเม้นทั้งหมด: 0
ComForm">
avatar