Saturday, 27 April 2024, 03:17:50
ยินดีต้อนรับ, Guest
หน้าหลัก » ไฟล์ » เอกสารโรงเรียน » ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

แนวการจัดกิจกรรมแนะแนว
03 June 2013, 11:43:41

แนวการจัดกิจกรรมแนะแนว

http://www.bloggang.com/data/goirish2011/picture/1328172308.jpg


            การจัดกิจกรรมแนะแนว สถานศึกษาต้องบริหารจัดการให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่และมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน  ให้บรรลุตามจุดหมายของหลักสูตร และมาตรฐานการแนะแนวด้านผู้เรียน  โดยจัดเวลาให้เป็นไปตามสัดส่วนของการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น  รวมทั้งจัดบริการและกิจกรรมนอกห้องเรียนให้ครอบคลุมทั้ง 5 งาน  และมีกิจกรรมอย่างน้อย 9 กิจกรรม ตามแนวการจัดกิจกรรม       แนะแนว ดังนี้

            การจัดกิจกรรมแนะแนว มีภาระงาน 2 ลักษณะคือ

1.      การจัดบริการแนะแนว

2.      การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน

 

การจัดบริการแนะแนว

            ครูทุกคน รวมถึงครูแนะแนวด้วย ร่วมรับผิดชอบ และมีหน้าที่ในการจัดบริการแนะแนว โดยมีครูแนะแนวเป็นที่ปรึกษาและประสานงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ได้มาตรฐานและครอบคลุมบริการแนะแนวทั้ง 5 งาน ตามวิธีการดังนี้

งาน

วิธีการ

1. งานศึกษารวบรวมข้อมูล

ศึกษา รวบรวม  วิเคราะห์ สรุป และนำเสนอ

  ข้อมูลของผู้เรียน

2. งานสารสนเทศ

จัดศูนย์สารสนเทศทางการแนะแนวในรูป

  ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครอบคลุมด้าน

  การศึกษา อาชีพ ชีวิต และสังคม

3. งานให้คำปรึกษา

อบรมทักษะการให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่ครู

  ให้คำปรึกษาผู้เรียนทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่ม

ึกายกร (Case study)  และจัดกลุ่ม

  ปรึกษาปัญหา (Case conference)

ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีที่ผู้เรียนมีปัญหา

  ยากแก่การแก้ไข

จัดกลุ่มพัฒนาผู้เรียนด้วยเทคนิคทางจิตวิทยา

4.งานกิจกรรมส่งเสริม พัฒนา ช่วยเหลือ

   ผู้เรียน

จัดบริการ สร้างเสริมประสบการณ์ รวมทั้ง

  ให้การสงเคราะห์ เพื่อตอบสนองความถนัด

  ความต้องการ และความสนใจของผู้เรียน

5. งานติดตามประเมินผล

ติดตาม ดูแลพฤติกรรมและพัฒนาการของผู้เรียน

ติดตามผลผู้เรียน

ประเมินผลการดำเนินงานแนะแนว

 

การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน

 

            ครูทุกคนร่วมรับผิดชอบ  และมีหน้าที่ในการจัดกิจกรรมแนะแนว  โดยมีครูแนะแนวเป็นที่ปรึกษาและประสานงาน  ร่วมกันวางแผนและหาวิธีการที่เหมาะสมมาใช้พัฒนาผู้เรียน เช่น

 

ในห้องเรียน

นอกห้องเรียน

1.      กิจกรรมโฮมรูม

2.      กิจกรรมคาบแนะแนว

3.      การสอดแทรกกระบวนการแนะแนว

1.   กิจกรรมกลุ่มทางจิตวิทยาและการแนะแนว เช่นโปรแกรมพัฒนาตนเองเกี่ยวกับการรู้จัก และเห็นคุณค่าในตนเอง

2.   การอบรมเชิงปฏิบัติการ เช่น โครงการอบรม

      ผู้นำในโรงเรียนสหวิทยาเขต

4.      การทัศนศึกษาแหล่งวิทยาการ และ          

      สถานประกอบการ

5.      การเชิญวิทยากร ให้ความรู้ เช่น ผู้ปกครอง

      นักเรียน ศิษย์เก่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น

6.      การจัดนิทรรศการ

7.      การจัดป้ายนิเทศ

8.      การปฐมนิเทศ

9.      การปัจฉิมนิเทศ

10. การจัดเสียงตามสาย

11. ชุมนุมแนะแนว

12. กิจกรรมผู้ปกครองพบครูของลูกรัก

13. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน 

 

โดยดำเนินการตามกิจกรรมอย่างน้อย กิจกรรม

1.      ศึกษาและรวบรวมข้อมูลผู้เรียนที่ตนเองรับผิดชอบเป็นรายบุคคล

2.      คัดกรองผู้เรียนเพื่อจำแนกผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มปกติและกลุ่มพิเศษ

3.      ดูแลช่วยเหลือให้คำปรึกษาเบื้องต้น ในด้านต่าง ๆ  ให้ผู้เรียนพัฒนาเด็กตามศักยภาพ

4.      พัฒนาระบบข้อมูลและภูมิความรู้ที่ทันสมัย  เป็นประโยชน์และจำเป็นในการดำเนินชีวิต

5.      ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องภายในสถานศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน แนวทางการดูแลช่วยเหลือ และการส่งต่อผู้เรียน

6.      ประสานงานกับผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อการร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

7.      จัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อป้องกัน แก้ไข และการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนทุกคน รวมทั้งผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ตลอดจนผู้มีปัญหาชีวิตและสังคมให้สามารถพัฒนาตนได้เต็มศักยภาพ

8.      ร่วมจัดบริการต่าง ๆ  เช่น

§         แนะแนวกลุ่ม

§         จัดบริการด้านสุขภาพ

§         จัดหาทุนและอาหารกลางวัน

§         จัดหางาน

§         จัดให้มีการฝึกงานและหารายได้ระหว่างเรียน

§         จัดศูนย์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนเพื่อการวางแผนชีวิต

§         จัดบริการช่วยผู้เรียนที่มีปัญหา หรือความต้องการพิเศษ

§         ติดตามผลผู้เรียนทั้งในปัจจุบัน และจบการศึกษาแล้ว

ฯลฯ

9. นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และประชาสัมพันธ์

 

การประเมินผล
            ในการประเมินผลการจัดกิจกรรมแนะแนว ครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมแนะแนวและผู้เรียน มีภาระต้องรับผิดชอบดังนี้

1.      ครูผู้จัดกิจกรรมแนะแนว

1.1   ต้องจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะตามมาตรฐานการแนะแนว

1.2   ต้องรายงาน เวลา และพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม

1.3   ต้องศึกษา ติดตาม และพัฒนาผู้เรียน ในกรณีที่ผู้เรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรม

2.      ผู้เรียน

2.1   ต้องเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 34 ชั่วโมง/ปี โดยมีหลักฐานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรม

2.2   ต้องปฏิบัติกิจกรรมเพิ่มเติมตามที่ครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมมอบหมาย ถ้าไม่เกิดคุณลักษณะตามมาตรฐานการแนะแนว

 

วิธีการประเมิน

ครูผู้จัดกิจกรรมแนะแนว สามารถเลือกใช้วิธีการประเมินผลตามความเหมาะสมดังต่อไปนี้

1.      แฟ้มผลงาน

2.      การประเมินสภาพจริง

3.      การประเมินตนเอง

4.      การประเมินโดยกลุ่ม/เพื่อน

5.      การสังเกต

6.      การสัมภาษณ์

7.      การเขียนรายงาน

8.     

กล่องข้อความ: การดำเนินงานแนะแนวที่ดี ควรจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานการแนะแนวทุกมาตรฐาน ทั้งในด้านปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต ซึงสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสารมาตรฐานการแนะแนวและคู่มือการบริหารการแนะแนว

มาตรฐานกิจกรรมแนะแนว

 

            มาตรฐานที่  1  รู้จัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

            มาตรฐานที่  2  มีความสามารถแสวงหา และใช้ข้อมูลสารสนเทศ

            มาตรฐานที่  3  มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

            มาตรฐานที่  4  มีความสามารถในการปรับตัว และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

 

มาตรฐานที่  1   รู้จัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น หมายถึง มีความสามารถในการรู้จัก และ  เข้าใจ ตนเอง  ทั้งในด้านความถนัด ความสนใจ  ความสามารถ จุดเด่น จุดด้อย นิสัย อารมณ์  ความภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

 

มาตรฐานที่  2  มีความสามารถในการแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ หมายถึง  มีทักษะ และวิธีการในการแสวงหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ  รวบรวม และจัดระเบียบข้อมูล สามารถจัดระบบกลั่นกรอง เลือกใช้ข้อมูลอย่างฉลาด  เหมาะสม และเห็นคุณค่าในการใช้ข้อมูลสารสนเทศ

 

มาตรฐานที่ 3  มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม หมายถึง สามารถกำหนดเป้าหมาย วางแผน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผล ตลอดจนปรับปรุงแผนการดำเนินงาน โดยใช้     ข้อมูล คุณธรรม และจริยธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ

 

มาตรฐานที่  4  มีความสามารถในการปรับตัวและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข  หมายถึง การเข้าใจ ยอมรับตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์  แสดงออกอย่างเหมาะสม  มีมนุษยสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

ตัวอย่างตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานแนะแนว

 

ด้านผลผลิต

 1.      ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

2.      ผู้เรียนรู้ความถนัด ความสามารถ ความสนใจ และจุดเด่น จุดด้อย ของตนเอง

3.      ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการศึกษาและการประกอบอาชีพ  ตลอดจนสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต

4.      ผู้เรียนรู้จักพัฒนาศักยภาพ และการใช้ศักยภาพของตนให้เป็นประโยชน์ต่อตน ครอบครัว  สังคม ประเทศชาติ ได้ตามสภาพของแต่ละบุคคล

5.      ผู้เรียนมีเป้าหมายชีวิต รู้จักวางแผนชีวิต การเรียน  การงาน ที่เหมาะสมกบความถนัด ความสนใจ และสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และเทคโนโลยี

6.      ผู้เรียนมีทักษะในการดำเนินชีวิต ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ ทักษะในการเรียนและทักษะในการทำงาน ที่มีประสิทธิภาพตามวุฒิภาวะ ความถนัด ความสนใจ

7.      ผู้เรียนรู้จักเลือกตัดสินใจและแก้ปัญหา รวมทั้งสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างเหมาะสม

8.      ผู้เรียนมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีคุณธรรม จริยธรรม และบุคลิกภาพที่ดี

9.      ผู้เรียนรู้จักหลีกเลี่ยงอบายมุข  เช่น สารเสพติด การพนัน หรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ทุกช่วงชีวิต

10. ผู้เรียนทุกคนได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดจากครู

 

ด้านกระบวนการ

 1.      มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมระหว่างบุคคลภายในและภายนอกสถานศึกษา

2.      มีการศึกษา สำรวจ ข้อมูล เกี่ยวกับตัวผู้เรียน และจัดทำข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทันสมัยอยู่เสมอ

3.      มีการจัดโปรแกรมชุดกิจกรรมพัฒนาตนต่าง ๆ  เช่น ชุดกิจกรรมการรักและเห็นคุณค่าในตน  ชุดกิจกรรมเสริมสร้างประสิทธิภาพทางการเรียน ชุดกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพ  และชุดกิจกรรมการสร้างเสริมวุฒิภาวะทางอารมณ์ ศีลธรรม จริยธรรม

4.      มีการจัดบริการข่าวสาร ข้อมูล สารสนเทศ ที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

5.      ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียน และเสนอแนะวิธีการจัดกิจกรรมที่จะช่วยให้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน แปลกใหม่ และน่าสนใจ

6.      จัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา เช่น ห้องสมุด ศูนย์วิชาการ ศูนย์สุขภาพ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน แหล่งฝึกงานอาชีพ สหกรณ์

7.      มีการประสานสัมพันธ์กับผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และหลากหลายรูปแบบ

8.      มีการจัดโครงการ/งาน/กิจกรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียน อย่างหลากหลายตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียน

9.      มีการจัดโครงการ/งาน/กิจกรรม  เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบศักยภาพของตน ตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจ

10. มีการจัดกิจกรรมการเสริมหลักสูตร เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างเหมาะสมและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง

11. มีการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกเวลาเรียน ให้ครูและผู้เรียน ได้พบปะใกล้ชิดเพื่อสร้างความคุ้นเคย เช่น กิจกรรมรับศิษย์ใหม่  วันไหว้ครู วันเด็ก วันขึ้นปีใหม่

 

ด้านปัจจัย

 

1.      ผู้บริหารมีภาวะผู้นำและเห็นความสำคัญของการแนะแนว

2.      ครูทุกคนตระหนักเห็นความสำคัญของการแนะแนว และมีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐาน ด้าน  จิตวิทยาการแนะแนว

3.      ครูทุกคนมีบทบาทในการดำเนินงานแนะแนว

4.      มีคณะทำงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานแนะแนวโดยตรง

5.      มีแผนการดำเนินงานแนะแนวที่ชดเจนและเป็นรูปธรรม

6.      มีโครงการ/งาน/กิจกรรม ที่สนองความต้องการของผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายและชุมชน

7.      มีแนวปฏิบัติในการดำเนินงานแนะแนวและมีการปฏิบัติอย่างจริงจัง

8.      มีเครื่องมือการรู้จักและเข้าใจผู้เรียนที่หลากหลาย ทันสมัย และมีการนำไปใช้

9.      มีศูนย์ปฏิบัติการแนะแนวของสถานศึกษา

10. มีเครือข่ายการพัฒนาดูแลช่วยเหลือผู้เรียนทั้งในและนอกสถานศึกษา

 

หมวด: ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน | เพิ่มโดย: jatuporn | Tags: แนวการจัดกิจกรรมแนะแนว, กิจกรรมแนะแนว, แนะแนว
Views: 27124 | ดาวน์โหลด: 0 | Rating: 5.0/1
คอมเม้นทั้งหมด: 0
ComForm">
avatar