หน้าหลัก » ไฟล์ » เอกสารโรงเรียน » ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน |
03 June 2013, 11:43:41 | |||||||||||||||||
แนวการจัดกิจกรรมแนะแนว
การจัดกิจกรรมแนะแนว มีภาระงาน 2 ลักษณะคือ 1. การจัดบริการแนะแนว 2. การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน
การจัดบริการแนะแนว ครูทุกคน รวมถึงครูแนะแนวด้วย ร่วมรับผิดชอบ และมีหน้าที่ในการจัดบริการแนะแนว โดยมีครูแนะแนวเป็นที่ปรึกษาและประสานงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ได้มาตรฐานและครอบคลุมบริการแนะแนวทั้ง 5 งาน ตามวิธีการดังนี้
การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน ครูทุกคนร่วมรับผิดชอบ และมีหน้าที่ในการจัดกิจกรรมแนะแนว โดยมีครูแนะแนวเป็นที่ปรึกษาและประสานงาน ร่วมกันวางแผนและหาวิธีการที่เหมาะสมมาใช้พัฒนาผู้เรียน เช่น
โดยดำเนินการตามกิจกรรมอย่างน้อย 9 กิจกรรม 1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลผู้เรียนที่ตนเองรับผิดชอบเป็นรายบุคคล 2. คัดกรองผู้เรียนเพื่อจำแนกผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มปกติและกลุ่มพิเศษ 3. ดูแลช่วยเหลือให้คำปรึกษาเบื้องต้น ในด้านต่าง ๆ ให้ผู้เรียนพัฒนาเด็กตามศักยภาพ 4. พัฒนาระบบข้อมูลและภูมิความรู้ที่ทันสมัย เป็นประโยชน์และจำเป็นในการดำเนินชีวิต 5. ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องภายในสถานศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน แนวทางการดูแลช่วยเหลือ และการส่งต่อผู้เรียน 6. ประสานงานกับผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อการร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 7. จัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อป้องกัน แก้ไข และการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนทุกคน รวมทั้งผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ตลอดจนผู้มีปัญหาชีวิตและสังคมให้สามารถพัฒนาตนได้เต็มศักยภาพ 8. ร่วมจัดบริการต่าง ๆ เช่น § แนะแนวกลุ่ม § จัดบริการด้านสุขภาพ § จัดหาทุนและอาหารกลางวัน § จัดหางาน § จัดให้มีการฝึกงานและหารายได้ระหว่างเรียน § จัดศูนย์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนเพื่อการวางแผนชีวิต § จัดบริการช่วยผู้เรียนที่มีปัญหา หรือความต้องการพิเศษ § ติดตามผลผู้เรียนทั้งในปัจจุบัน และจบการศึกษาแล้ว ฯลฯ 9. นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และประชาสัมพันธ์ การประเมินผล 1. ครูผู้จัดกิจกรรมแนะแนว 1.1 ต้องจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะตามมาตรฐานการแนะแนว 1.2 ต้องรายงาน เวลา และพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม 1.3 ต้องศึกษา ติดตาม และพัฒนาผู้เรียน ในกรณีที่ผู้เรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรม 2. ผู้เรียน 2.1 ต้องเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 34 ชั่วโมง/ปี โดยมีหลักฐานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรม 2.2 ต้องปฏิบัติกิจกรรมเพิ่มเติมตามที่ครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมมอบหมาย ถ้าไม่เกิดคุณลักษณะตามมาตรฐานการแนะแนว
วิธีการประเมิน ครูผู้จัดกิจกรรมแนะแนว สามารถเลือกใช้วิธีการประเมินผลตามความเหมาะสมดังต่อไปนี้ 1. แฟ้มผลงาน 2. การประเมินสภาพจริง 3. การประเมินตนเอง 4. การประเมินโดยกลุ่ม/เพื่อน 5. การสังเกต 6. การสัมภาษณ์ 7. การเขียนรายงาน 8. มาตรฐานกิจกรรมแนะแนว มาตรฐานที่ 1 รู้จัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มาตรฐานที่ 2 มีความสามารถแสวงหา และใช้ข้อมูลสารสนเทศ มาตรฐานที่ 3 มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม มาตรฐานที่ 4 มีความสามารถในการปรับตัว และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มาตรฐานที่ 1 รู้จัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น หมายถึง มีความสามารถในการรู้จัก และ เข้าใจ ตนเอง ทั้งในด้านความถนัด ความสนใจ ความสามารถ จุดเด่น จุดด้อย นิสัย อารมณ์ ความภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มาตรฐานที่ 2 มีความสามารถในการแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ หมายถึง มีทักษะ และวิธีการในการแสวงหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ รวบรวม และจัดระเบียบข้อมูล สามารถจัดระบบกลั่นกรอง เลือกใช้ข้อมูลอย่างฉลาด เหมาะสม และเห็นคุณค่าในการใช้ข้อมูลสารสนเทศ มาตรฐานที่ 3 มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม หมายถึง สามารถกำหนดเป้าหมาย วางแผน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผล ตลอดจนปรับปรุงแผนการดำเนินงาน โดยใช้ ข้อมูล คุณธรรม และจริยธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ มาตรฐานที่ 4 มีความสามารถในการปรับตัวและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข หมายถึง การเข้าใจ ยอมรับตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ แสดงออกอย่างเหมาะสม มีมนุษยสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตัวอย่างตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานแนะแนว ด้านผลผลิต 1. ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น 2. ผู้เรียนรู้ความถนัด ความสามารถ ความสนใจ และจุดเด่น จุดด้อย ของตนเอง 3. ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการศึกษาและการประกอบอาชีพ ตลอดจนสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต 4. ผู้เรียนรู้จักพัฒนาศักยภาพ และการใช้ศักยภาพของตนให้เป็นประโยชน์ต่อตน ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ ได้ตามสภาพของแต่ละบุคคล 5. ผู้เรียนมีเป้าหมายชีวิต รู้จักวางแผนชีวิต การเรียน การงาน ที่เหมาะสมกบความถนัด ความสนใจ และสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และเทคโนโลยี 6. ผู้เรียนมีทักษะในการดำเนินชีวิต ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ ทักษะในการเรียนและทักษะในการทำงาน ที่มีประสิทธิภาพตามวุฒิภาวะ ความถนัด ความสนใจ 7. ผู้เรียนรู้จักเลือกตัดสินใจและแก้ปัญหา รวมทั้งสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างเหมาะสม 8. ผู้เรียนมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีคุณธรรม จริยธรรม และบุคลิกภาพที่ดี 9. ผู้เรียนรู้จักหลีกเลี่ยงอบายมุข เช่น สารเสพติด การพนัน หรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ทุกช่วงชีวิต 10. ผู้เรียนทุกคนได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดจากครู ด้านกระบวนการ 1. มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมระหว่างบุคคลภายในและภายนอกสถานศึกษา 2. มีการศึกษา สำรวจ ข้อมูล เกี่ยวกับตัวผู้เรียน และจัดทำข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทันสมัยอยู่เสมอ 3. มีการจัดโปรแกรมชุดกิจกรรมพัฒนาตนต่าง ๆ เช่น ชุดกิจกรรมการรักและเห็นคุณค่าในตน ชุดกิจกรรมเสริมสร้างประสิทธิภาพทางการเรียน ชุดกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพ และชุดกิจกรรมการสร้างเสริมวุฒิภาวะทางอารมณ์ ศีลธรรม จริยธรรม 4. มีการจัดบริการข่าวสาร ข้อมูล สารสนเทศ ที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย 5. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียน และเสนอแนะวิธีการจัดกิจกรรมที่จะช่วยให้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน แปลกใหม่ และน่าสนใจ 6. จัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา เช่น ห้องสมุด ศูนย์วิชาการ ศูนย์สุขภาพ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน แหล่งฝึกงานอาชีพ สหกรณ์ 7. มีการประสานสัมพันธ์กับผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และหลากหลายรูปแบบ 8. มีการจัดโครงการ/งาน/กิจกรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียน อย่างหลากหลายตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียน 9. มีการจัดโครงการ/งาน/กิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบศักยภาพของตน ตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจ 10. มีการจัดกิจกรรมการเสริมหลักสูตร เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างเหมาะสมและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง 11. มีการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกเวลาเรียน ให้ครูและผู้เรียน ได้พบปะใกล้ชิดเพื่อสร้างความคุ้นเคย เช่น กิจกรรมรับศิษย์ใหม่ วันไหว้ครู วันเด็ก วันขึ้นปีใหม่ ด้านปัจจัย 1. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำและเห็นความสำคัญของการแนะแนว 2. ครูทุกคนตระหนักเห็นความสำคัญของการแนะแนว และมีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐาน ด้าน จิตวิทยาการแนะแนว 3. ครูทุกคนมีบทบาทในการดำเนินงานแนะแนว 4. มีคณะทำงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานแนะแนวโดยตรง 5. มีแผนการดำเนินงานแนะแนวที่ชดเจนและเป็นรูปธรรม 6. มีโครงการ/งาน/กิจกรรม ที่สนองความต้องการของผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายและชุมชน 7. มีแนวปฏิบัติในการดำเนินงานแนะแนวและมีการปฏิบัติอย่างจริงจัง 8. มีเครื่องมือการรู้จักและเข้าใจผู้เรียนที่หลากหลาย ทันสมัย และมีการนำไปใช้ 9. มีศูนย์ปฏิบัติการแนะแนวของสถานศึกษา 10. มีเครือข่ายการพัฒนาดูแลช่วยเหลือผู้เรียนทั้งในและนอกสถานศึกษา
| |||||||||||||||||
Views: 27168 | ดาวน์โหลด: 0 | Rating: 5.0/1 |
คอมเม้นทั้งหมด: 0 | |