หน้าหลัก » ไฟล์ » เอกสารโรงเรียน » แผนการจัดการเรียนรู้ |
01 May 2013, 09:33:33 | |
การวัดและประเมินผลพหุปัญญา Gardner (1993) ได้กล่าวถึงการประเมินพหุปัญญาที่ถูกต้อง ว่าต้องประเมินเชาว์ปัญญาด้านนั้นๆโดยตรง โดยไม่ใช้ด้านอื่นเป็นเครื่องมือในการประเมิน จากกิจกรรมสามารถประเมินเชาว์ปัญญาด้านภาษา ตรรกะ/คณิตศาสตร์ ได้ด้วยแบบทดสอบข้อเขียน และปากเปล่า ส่วนเชาว์ปัญญาที่เหลือ ยากที่จะประเมินเป็นปรนัย (Objective) แต่ก็สามารถประเมินได้ด้วยวิธีวัดคือ การสังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม และการประเมินแผนที่ความคิด (Mind mapping) เครื่องมือวัดและประเมินผล 1. แบบสังเกตการร่วมกิจกรรม (ตรงเวลา, สนใจร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง, การแสดงบุคลิกภาพในที่ชุมชน และการนำเสนอผลงาน) 2. แบบประเมินแผนที่ความคิด (เนื้อหา, ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, ความสมบูรณ์ของงาน) เกณฑ์การวัดและประเมินผล 1. สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรมเกิน 80% 2. แบบประเมินแผนที่ความคิด ผ่านเกณฑ์ 80% กิจกรมเสนอแนะ จัดกิจกรรมศูนย์พืช และดอกไม้ —————————————————————————————– ***ตัวอย่างเครื่องมือวัดและประเมินผล จากแผนการจัดการเรียนรู้ที่เราเขียนไว้ มีดังนี้ค่ะ เกณฑ์การประเมินผล แบบประเมิน การเขียนภาพแผนที่ความคิด Mind Mapping หากลูกได้ 7 คะแนนขึ้นไป ก็คือผ่านเกณฑ์ เป็นต้นค่ะปล. เกณฑ์ที่เราตั้งไว้ 80% ดังนั้น คะแนนเต็ม 9 คะแนน ตัวอย่างแบบสังเกตพฤติกรรม
(ลงชื่อ) ผู้ประเมิน…………………………………………… **และหากเราจะวัดด้านภาษา เครื่องมือวัดและประเมินผลก็เอามาปรับใช้ ดังนี้ค่ะ ตัวอย่างที่ 2 แบบประเมินการเขียนนิทานเรื่องสัตว์หายาก ชื่อ- สกุล ………………………………………………………….. ระดับชั้น ………………….
เอกสารอ้างอิง ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
Views: 4910 | ดาวน์โหลด: 0 | Rating: 0.0/0 |
คอมเม้นทั้งหมด: 0 | |