หน้าหลัก » ไฟล์ » เอกสารโรงเรียน » เอกสารนักเรียนพิการเรียนร่วม |
LD คืออะไร
20 May 2012, 18:58:15 | |
LD คืออะไร : หมายถึง ความผิดปรกติในพื้นทางทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจและการใช้ภาษาทำให้บกพร่องตั้งแต่ การพูด การคิด การอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์ บางครั้งเรียกว่า "เด็กเรียนยาก " หรือ Learning Difficulty เกิดความบกพร่องทางด้าน สติปัญญา อารมณ์ สังคม เด็กกลุ่มนี้จะมี IQ ปรกติ หรืออาจมากกว่าปรกติ มีสภาพร่างการปรกติแต่ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เพราะไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ลำบาก เราจึงเรียกเด็กกลุ่มนี้เรียกว่าเด็ก Learning Disabilities หรือเด็ก LD นายแพทย์กมล ให้ความเห็นจากการวิจัยว่าผู้ที่ถนัดซ้าย อาจมีความผิดปรกติในการอ่านและการเขียน หรือ Learning Disorder เด็ก L.D จะมีปัญหาเรื่องการนำข้อมูลไปใช้เนื่องจากสมองมีวิธีการนำข้อมูลไปใช้แตกต่างกว่าเด็กปรกตอทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้เพราะ Processing information คือการรับรู้ข้อมูลด้วยการฟัง หรือการสัมผัส การจัดหมวดหมู่วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ข้อมูล การจัดเก็บบันทึกข้อมูล การนำข้อมูลออกมาด้วยการพูด การอ่าน การเขียน หรือท่าทาง ไม่สามารถทำงานได้ ด้วย ความแตกต่างระหว่างระดับสติปัญญา ( Discrepancy ) ดังนั้นเด็กปรกติที่มี IQ สูงจึงเรียนเก่ง แต่ เด็ก L.D ที่มี IQ สูง จึงเรียนไม่เก่ง ซึ่งเป็นเรื่องปรกติ การแก้ไขต้องหาทางให้เด็กกลุ่มนี้สามารถเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องและไม่เป็นอุปสรรคด้วยการหาวิธีชดเชยปมด้อย ส่งเสริมปมเด่น เด็ก LD บางคนเป็นเด็ก ปัญญาเลิศ ( Gifted ) ประสบความสำเร็จสร้างความเจริญให้แก่ชาวโลก เช่น โทมัส เอดิสัน เป็นต้น ความบกพร่องในการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ 1. ความบกพร่องด้านการอ่าน(Reading Disorder) คืออ่านหนังสือไม่ออกเลย หรืออ่านหนังสือได้ไม่เหมาะสมตามวัย เช่น สะกดไม่ถูก อ่านตกหล่น อ่านทีละตัวอักษรได้แต่ผสมคำไม่ได้ แยกแยะพยัญชนะที่คล้ายกันไม่ออก (ก - ถ - ภ) ทั้งๆที่เด็กดูมีความ ฉลาดรอบรู้ในด้านอื่นๆ ถ้ามีใครเล่าเรื่องให้ฟังจะเข้าใจดี เรียนรู้จากการเห็นภาพ และการฟัง จะทำได้ดี แต่ถ้าให้อ่านเองจะไม่ค่อยรู้เรื่อง จับใจความไม่ได้ 2. ความบกพร่องด้านการเขียน (Disorder of Written Expression) คือมีปัญหาในด้านการเขียนหนังสือ ตั้งแต่เขียนหนังสือไม่ได้ทั้งๆที่รู้ว่าอยากจะเขียนอะไร เขียนตกหล่น สลับตำแหน่ง หรือผิดตำแหน่ง เขียนไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์ ใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง เว้นวรรคตอนหรือย่อหน้าไม่ถูกต้อง จนทำให้ผู้อ่านไม่สามารถเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้ถูกต้อง 3. ความบกพร่องด้านการคำนวณ (Mathematics Disorder) คือ มีปัญหาในด้านการคำนวณ ตามระดับความรุนแรง หลากหลายรูปแบบ เช่น มีความสับสนเกี่ยวกับเรื่องตัวเลข ไม่เข้าใจเรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ไม่สามารถแปลโจทย์ปัญหาเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ มีการคำนวณที่ผิดพลาด ตกหล่นเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขเป็นประจำ สาเหตุของการบกพร่องทางการเรียนรู้ : ในกระบวนการเรียนรู้ ของเด็ก LD สามารถอรรถธิบายด้วย แบบจำลองไซเบอร์เนติค (Cybernatics Model) เพื่อความ เข้าใจในกระบวนการรับรู้ โดยแบ่งเป็น 4ขั้น 1. ข้อมูลจากประสาทสัมผัสจะเข้าสู่สมอง ( Input process) 2. ข้อมูลจะถูกแปลความหมาย (Integration process) 3. ข้อมูลจะถูกบันทึก และสามารถดึงมาใช้ได้ (Memory process) 4. ข้อมูลจะถูกนำมาใช้ในรูปแบบของภาษา และการเคลื่อนไหว (Output process) เมื่อผู้เรียนได้รูปภาพ ฟังเสียง หรือสัมผัส ข้อมูลที่ได้รับจะถูกส่งไปยังสมอง จากนั้นข้อมูลจะถูกแปลความหมาย และจัดเก็บในหน่วยความจำ และสามารถดึงข้อมูลมาใช้ในยามที่ต้องการ โดยอาจออกมาในรูปการคิด การพูด การอ่าน การเขียน และการเคลื่อนไหว คล้ายกับกระบวนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติเมื่อมองรูปภาพ หรืออ่านหนังสือ จะสามารถแยกแยะภาพหรือตัวอักษรออกจากพื้น รู้ตำแหน่งทิศทางของภาพ และสามารถกะระยะความลึกของภาพ 3 มิติได้ เช่นเดียวกับการฟัง ที่เราจะต้องแยกแยะเสียงที่ต้องการฟังออกจากเสียงรบกวน หรือเสียงธรรมชาติอื่นๆ จากนั้นภาพและเสียงจะถูกบันทึกในสมอง ผ่านกระบวนการแปลงสัญญาณ (Coding) และดึงข้อมูลจากหน่วยความจำมาใช้ในการเขียน การอ่าน ผ่านกระบวนการแปลข้อมูลกลับ (Decoding) ในที่สุด เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้อาจมีปัญหาที่ใดที่หนึ่งใน 4 ขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งอาจเกิดจากเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน มักไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัด นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดความบกพร่องทางการเรียนรู้ เพราะไม่ใช่ปัจจัยเพียงปัจจัยเดียวที่ก่อให้เกิดปัญหา แต่พอสรุปได้จากงานวิจัยว่าการบกพร่องเกิดจากสาเหตุดังนี้ กรรมพันธุ์ สารเคมี หรือ สารพิษ และการได้รับบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุ สาเหตุหลัก ๆ ต่าง ๆ ดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการเรียนรู้ เพราะเป็นผลทำให้กระทบกระเทือนสมอง ทั้งซีกซ้ายและซีกขวา ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้ การทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกัน สมองมีหน้าที่ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลก่อนที่จะนำข้อมูลไปใช้ เด็ก L.D มีการจัดกระทำข้อมูลที่ช้า ดังนั้นเด็ก LD จึงทำงานช้า งานไม่สำเร็จตามเวลาที่ครูสั่ง ครูจึงเห็นว่าเด็กกลุ่มนี้ โง่ หรือ ไม่ฉลาด ซึ่งความจริงเด็กกลุ่มนี้ต้องการเพียงเวลาในการจัดกระทำข้อมูลที่เพียงพอเท่านั้นก็สามารถที่จะรับรู้ได้ แนวทางการดูแลรักษา : เมื่อเผชิญกับเด็กกลุ่มนี้ ในสถานะใดสถานะหนึ่งไม่ว่าจะเป็น พ่อ – แม่ , ผู้ปกครอง, ญาติสนิท , ครูผู้สอน ก็ตาม ควรจะสร้างความเข้าใจและมองหาแนวทางในการรักษาและดูแลเด็กกลุ่มนี้ได้โดย 1. ช่วยเหลือในการเรียนรู้ โดยวาง แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP - Individualized Educational Program) มีการนำสื่อ เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาประกอบในการเรียนการสอน ตามสภาพปัญหาของเด็ก เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เทป วีดีทัศน์ เครื่องคิดเลข ฯลฯ 2. แก้ไขปัญหาเฉพาะที่เกิดร่วมด้วย เช่น โรคสมาธิสั้น ปัญหาการประสานงานของกล้ามเนื้อ ปัญหาในด้านการพูดและการสื่อสาร 3. ลดความรุนแรงของผลกระทบที่ตามมา เช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาทางอารมณ์ ปัญหาพฤติกรรม และปัญหาการปรับตัว โดยคัดกรองปัญหาแต่แรกเริ่ม ให้กำลังใจ และให้ความช่วยเหลือตามแนวทางที่เหมาะสม 4. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับครอบครัว เกิดความเข้าใจว่าเป็นความบกพร่องที่ต้องให้การช่วยเหลือ ไม่ตำหนิติเตียนว่าเป็นความไม่เอาใจใส่ของเด็กเอง วิธีสอนเด็ก Learning Difficulties : ในการสำรวจหาวิธีการสอนเด็ก L.D นั้นไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าจะใช้รูปแบบใด แต่ขอเสนอวิธีสอนทั่วไปที่เหมาะสมสำหรับเด็กในกลุ่มนี้ดังนี้ 1. ให้เวลาเด็กมาขึ้นเพื่อให้เด็กมีเวลารับข้อมูล 2. เอกสารที่แจกให้ต้องมีตัวอักษรขนาดใหญ่ 3. ควรให้เด็กสามารถศึกษาเพิ่มเติมด้วยการให้ยืมเอกสารการสอนหรืออุปกรณ์การสอน 4. มีการสรุปให้เด็กฟัง 5. การทำแบบฝึกหัดควรให้ทำในกระดาษกราฟ เพื่อช่วยความเป็นระเบียบ 6. ควรมีการระบายสีเพื่อเน้นความสำคัญ 7. ให้เด็กลงมือปฏิบัติมากกว่าการฟัง 8. อัดเนื้อหาลงในเทปแล้วให้เด็กฟัง 9. ให้เด็กสอบในห้องที่เงียบสงบเพื่อให้เกิดสมาธิ 10. มอบงานให้ครั้งละไม่มาก 11. ให้เด็กสอบที่มีการตรวจที่แม่นยำเช่นการสอบด้วย Computer 12. ควรทดสอบด้วยวาจาไม่ต้องเขียนบรรยาย 13. ให้เด็กสามารถใช้เครื่องคิดเลขได้ในวิชาคณิตศาสตร์ 14. ให้เด็กใช้ Talking Dictionary ในวิชาภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ | |
Views: 3161 | ดาวน์โหลด: 0 | Rating: 0.0/0 |
คอมเม้นทั้งหมด: 0 | |