Wednesday, 18 September 2024, 20:29:11
ยินดีต้อนรับ, Guest
หน้าหลัก » ไฟล์ » เอกสารโรงเรียน » เอกสารนักเรียนพิการเรียนร่วม

แบบคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่อง ที่ต้องการการศึกษาพิเศษ 9 ประเภท
[ ดาวน์โหลดจากเวบนี้ (302.0 Kb) ] 20 May 2012, 18:41:01

แบบคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่อง ที่ต้องการการศึกษาพิเศษ  9 ประเภท

สามารถ ดาวน์โหลดได้จากลิงค์ข้างต้น 

คณะอนุกรรมการคัดเลือกและจำแนกความพิการเพื่อการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดบุคคลที่มีความบกพร่องที่ต้องการการศึกษาพิเศษไว้ 9 ประเภท ดังนี้

         1.  บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น   หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท อาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

              1.1  คนตาบอด  หมายถึง  คนที่สูญเสียการเห็นมากจนต้องสอนให้อ่านอักษรเบรลล์ หรือใช้วิธีการฟังเทปหรือแถบเสียง หากตรวจวัดความชัดเจนของสายตาข้างดี เมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ 6 ส่วน 60 เมตร (6/60) หรือ 20 ส่วน 200 ฟุต ลงมาจนถึงบอดสนิท (หมายถึง คนตาบอดสามารถมองเห็นวัตถุได้ในระยะห่าง 60 เมตร หรือ 200 ฟุต ) หรือมีลานสายตาแคบกว่า 20 องศา (หมายถึง สามารถมองเห็นได้กว้างน้อยกว่า 20 องศา)

              1.2  คนเห็นเลือน ลาง  หมายถึง  คนที่สูญเสียการเห็น แต่ยังสามารถอ่านอักษรตัวพิมพ์ที่ขยายใหญ่ได้ หรือต้องใช้แว่นขยายอ่าน หากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดี เมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับระหว่าง 6 ส่วน 18 เมตร (6/18)  หรือ 20 ส่วน 70 ฟุต (20/70)  ถึง 6 ส่วน 60 เมตร (6/60) หรือ 20 ส่วน 200 ฟุต (20/200) หรือมีลานสายตาแคบกว่า 30 องศา

2.  บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  หมายถึง  บุคคลที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับรุนแรงถึงระดับน้อย อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

                2.1  คนหูหนวก  หมายถึง  คนที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน ไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟังก็ตาม โดยทั่วไปหากตรวจการได้ยินจะสูญเสียการได้ยินประมาณ 90 เดซิเบล
ขึ้นไป (เดซิเบล  เป็นหน่วยวัดความดังของเสียง) คนปกติเริ่มได้ยินเสียงเมื่อเสียงดังไม่เกิน 25 เดซิเบล แต่คนหูหนวกจะเริ่มได้ยินเสียงเมื่อเสียงดังมากกว่า 90 เดซิเบล

                 2.2  คนหูตึง  หมายถึง  คนที่มีการได้ยินเหลืออยู่พอเพียงที่จะรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน โดยทั่วไปจะใส่เครื่องช่วยฟัง และหากตรวจการได้ยิน จะพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า 90 เดซิเบล ลงมาจนถึง 26 เดซิเบล  หมายถึง คนปกติเริ่มได้ยืนเสียงเมื่อเสียงดังไม่เกิน 25 เดซิเบล แต่คนหูตึง จะเริ่มได้ยินเสียงที่ดังมากกว่า 26 เดซิเบล จนถึง 90 เดซิเบล อาจแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ดังนี้

                        -  หูตึงเล็กน้อย          เริ่มได้ยินเสียงที่ระดับ  26 – 40   เดซิเบล

                        -  หูตึงปานกลาง      เริ่มได้ยินเสียงที่ระดับ   41 – 55  เดซิเบล
                        -  หูตึงมาก               เริ่มได้ยินเสียงที่ระดับ   56 – 70  เดซิเบล
                        -  หูตึงรุนแรง          เริ่มได้ยินเสียงที่ระดับ   71 – 90  เดซิเบล
    

3.  บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา  หมายถึง  บุคคลที่มีพัฒนาการช้ากว่าคนทั่วไป เมื่อวัดระดับเชาว์ปัญญา โดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานแล้ว มีเชาว์ปัญญาต่ำกว่าคนทั่วไปและความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่ำกว่าเกณฑ์ทั่วไป อย่างน้อย 2 ทักษะหรือมากกว่า เช่น ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะทางสังคม ทักษะการใช้สาธารณสมบัติ การดูแลตนเอง การดำรงชีวิตในบ้าน การควบคุมตนเอง สุขอนามัย และความปลอดภัย การเรียนวิชาการเพื่อชีวิตประจำวัน การใช้เวลาว่างและการทำงาน ซึ่งลักษณะความบกพร่องทางสติปัญญา พบตั้งแต่แรกเกิดจนอายุก่อน 18 ปี อาจแบ่งความบกพร่องของสติปัญญา 4 ระดับ ดังนี้

      -  บกพร่องระดับเล็กน้อย                 ระดับเชาว์ปัญญา  (IQ)   ประมาณ  50 – 70
       -  บกพร่องระดับปานกลาง               ระดับเชาว์ปัญญา  (
IQ)   ประมาณ  35 – 49
      -  บกพร่องระดับรุนแรง                    ระดับเชาว์ปัญญา  (
IQ)   ประมาณ  20 – 34
      -  บกพร่องระดับรุนแรงมาก             ระดับเชาว์ปัญญา  (
IQ)   ประมาณ  ต่ำกว่า 20
        

4.  บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ  หมายถึง  คนที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง มีความพิการของระบบประสาท มีความลำบากในการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติ ทั้งนี้ไม่รวมบุคคลที่มีความบกพร่องทางประสาทสัมผัส ได้แก่ ตาบอด หูหนวก อาจแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้

                4.1  โรคของระบบประสาท  เช่น  ซีรีบรัล พัลซี (Cerebral Palsy) หรือโรคอัมพาต เนื่องจากสมองพิการ โรคลมชัก มัลติเพิล สเคลอโรซีส (Multiple Sclerosis) เป็นต้น 
                4.2  โรคทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก  เช่น  ข้ออักเสบ เท่าปุก โรคกระดูกอ่อน โรคอัมพาต กล้ามเนื้อลีบ หรือ มัสคิวลาร์ ดิสโทรฟี (
Muscular Dystrophy) กระดูกสันหลังคด เป็นต้น
               4.3  การมาสมประกอบตั้งแต่กำเนิด เช่น โรคศรีษะโต สไปนา เบฟฟิตา (
Spina Bifida) แขนขาด้วนแต่กำเนิด เตี้ยแคระ เป็นต้น
               4.4  สภาพความพิการและความบกพร่องทางสุขภาพอื่น ๆ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
                      4.4.1  สภาพความพิการอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุและโรคติดต่อ เช่น ไฟไหม้ แขนขาขาด โรคโปลิโอ โรคเยื่อบุสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส และอันตรายจากการคลอด
                      4.4.2  ความบกพร่องทางสุขภาพ เช่น หอบ หืด โรคหัวใจ วัณโรคปอด ปอดอักเสบ
         

5. บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หมายถึง  คนที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐานทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา อาจเป็นภาษาพูดปละ/หรือภาษาเขียน ซึ่งจะมีผลทำให้มีปัญหาในการฟัง การพูด การคิด การอ่าน การเขียน การสะกด หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ของสมองได้รับบาดเจ็บ การปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป ซึ่งทำให้มีปัญหาในการอ่าน และปัญหาในการเข้าใจภาษา ทั้งนี้ไม่รวมคนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เนื่องจากสภาพบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว ปัญญาอ่อน ปัญหาทางอารมณ์ หรือความด้อยโอกาสเนื่องจากสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมหรือเศรษฐกิจ         

6.  บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา  หมายถึง  คนที่มีความบกพร่องในเรื่องของการเปล่งเสียงพูด เช่น เสียงผิดปกติ อัตราความเร็วและจังหวะการพูดผิดปกติ หรือคนที่มีความบกพร่องในเรื่องความเจ้าใจหรือการใช้ภาษาพูด การเขียน และหรือระบบสัญลักษณ์อื่นที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจเกี่ยวกับรูปแบบของภาษา เนื้อหาของภาษาและหน้าที่ของภาษา           

 7.  บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์  หมายถึง  คนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมาก และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมหรือวัฒนาธรรม

8.  บุคคลออทิสติก  หมายถึง  บุคคลที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและการสื่อความหมาย พฤติกรรม อารมณ์ และจินตนาการ ซึ่งมีสาเหตุเนื่องมาจากการทำงานในหน้าที่บางส่วนของสมองผิดปกติไป และความผิดปกตินี้พบได้ก่อนวัย 30 เดือน ลักษณะของบุคคลออทิสติก มีดังนี้

                  8.1  มีความปกพร่องทางปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เช่น ไม่มองสบตาบุคคลอื่น ไม่มีการแสดงออกทางสีหน้า กิริยาหรือท่าทาง เล่นกับเพื่อนไม่เป็น ไม่สนใจที่จะทำงานร่วมกับใคร ไม่เข้าใจพฤติกรรมของคนอื่น  
                   8.2  มีความบกพร่องด้านการสื่อสาร ทั้งด้านความเข้าใจภาษา การใช้ภาษาพูด การแสดงกิริยาสื่อความหมายซึ่งมีความบกพร่องหลายระดับตั้งแต่ไม่สามารถพูดจาสื่อความหมายได้เลย หรือบางคนพูดได้แต่ไม่สามารถสนทนาโต้ตอบผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ บางคนพูดแบบเสียงสะท้อนหรือพูดเลียนแบบทวนคำพูด บางคนพูดซ้ำแต่ในเรื่องที่ตนสนใจ มีการใช้สรรพนามสลับที่ ระดับเสียงพูดอาจมีความผิดปกติ บางคนพูดโทนเสียงเดียว บางคนพูดเพ้อเจ้อเรื่อยเปื่อย
                    8.3  มีความบกพร่องด้านพฤติกรรมอารมณ์ บางคนมีพฤติกรรมซ้ำๆ ผิดปกติ เช่น เล่นมือ โบกมือไปมา หรือหมุนตัวไปรอบ ๆ เดินเขย่งปลายเท้า ท่าทางเดินงุ่มง่าม ยึดติดไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง การแสดงออกทางอารมณ์ไม่เหมาะสมกับวัย บางคนร้องไห้หรือหัวเราะโดยไม่มีเหตุผล บางคนมีอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
                    8.4  มีความบกพร่องทางด้านการรับรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ห้า คือ ทางการเห็น การฟัง การสัมผัส การรับกลิ่นและรส มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล  บางคนชอบมองแสง บางคนชอบตอบสนองต่อเสียงผิดปกติ รับเสียงบางอย่างไม่ได้ ด้านการสัมผัสกลิ่นและรส บางคนตอบสนองช้าหรือไวหรือแปลกกว่าปกติ เช่น ดมของเล่น
                    8.5  มีความบกพร่องทางด้านการใช้อวัยวะต่างๆ อย่างประสานสัมพันธ์ การใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงการประสานสัมพันธ์ของกลไกกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก มีความบกพร่อง บางคนเคลื่อนไหวงุ่มง่ามผิดปกติ ไม่คล่องแคล่ว ท่าทางเดินหรือวิ่งแปลกๆ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบจับไม่ประสานกัน 
                8.6  มีความบกพร่องด้านจินตนาการ  ไม่สามารถแยกเรื่องจริงหรือสมมติ หรือประยุกต์วิธีการจากเหตุการณ์หนึ่งไปยังอีกเหตุการณ์หนึ่งได้ เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ยาก เล่นสมมติไม่เป็น จัดระบบความคิด ลำดับความสำคัญก่อนหลัง คิดจินตนาการจากภาษาได้ยาก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้
                   8.7  มีความบกพร่องในด้านสมาธิ มีความสนใจสั้น วอกแวกง่าย
  

9.  บุคคลพิการซ้อน  หมายถึง  คนที่มีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่งประเภทในบุคคลเดียวกัน เช่น คนปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยินเป็นต้น

หมวด: เอกสารนักเรียนพิการเรียนร่วม | เพิ่มโดย: jatuporn | Tags: แบบคัดกรองเด็กพิการ 9 ประเภท
Views: 32486 | ดาวน์โหลด: 5120 | คอมเม้น: 3 | Rating: 2.0/4
คอมเม้นทั้งหมด: 1
avatar
0
1 Pannaporn • 23:53:41, 27 August 2012
Thanks
ComForm">
avatar