Tuesday, 19 March 2024, 14:04:53
ยินดีต้อนรับ, Guest
หน้าหลัก » 2012 » May » 23 » แนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนขนาดเล็ก
21:04:02
แนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนขนาดเล็ก

แนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนขนาดเล็ก 

เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง  (ต่อเนื่อง) 

                จากความเดิมเมื่อตอนที่แล้ว  ผู้เขียนได้กล่าวถึงกรอบ แนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง  กรณีที่1 ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนควบรวม ไปแล้วนั้น วันนี้ขอนำเสนอนโยบายและแนวปฏิบัติ กรณีที่2 ครูโรงเรียนควบรวม  กรณีที่3 แนวทางในการบริหารจัดการในการเดินทางไปเรียนของนักเรียนกรณีโรงเรียนควบรวม   และ กรณีที่4 แนวปฏิบัติ  ในเรื่องการบริหารการเงิน  การพัสดุ ที่ดินอาคารสถานที่ และทรัพย์สินอื่น ๆ ให้ผู้อ่านได้ทราบกันดังนี้

กรณีที่2.   ครูโรงเรียนควบรวม

2.1   ครูโรงเรียนควบรวม หากประสงค์จะไปสอนในโรงเรียนหลักแต่มีครูเกินเกณฑ์ ก็สามารถทำได้  โดยจะต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทุกปี  โดยมีชั่วโมงสอนไม่ต่ำกว่า          18 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องบริหารอัตรากำลังให้ได้ตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด ภายใน 3 ปี

2.2  สามารถขอย้ายไปโรงเรียนที่เกินเกณฑ์ได้ กรณีสาขาวิชาที่ขาดแคลน

2.3  สามารถเบิกเงินสวัสดิการ  ค่าขนย้าย ค่าเช่าบ้านได้

2.4  หากมีความประสงค์จะย้ายข้ามเขต จะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ

2.5   หากประสงค์จะพัฒนา / ศึกษาต่อในสาขาวิชาที่ขาดแคลน  สพฐ. จะจัดสรรทุนลาศึกษาต่อให้

กรณีที่3.   แนวทางการบริหารจัดการการเดินทางไปเรียนกรณีควบรวม

                สพฐ. ได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการการเดินทางไปเรียน หลักเกณฑ์ เงื่อนไข การจัดตั้งและจัดสรรงบประมาณสำหรับชดเชยค่าเดินทางแก่พ่อแม่ผู้ปกครอง ค่ายานพานหะ ค่าจ้างเหมาบริการ  โดยกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจัดตั้งและจัดสรรงบประมาณกรณีควบรวม ไว้ดังนี้

                3.1  ค่าพาหนะ กรณีการคมนาคมสะดวก จัดสรรให้ตามระยะทางจากบ้านถึงโรงเรียนหลัก

จำนวน 200 วันต่อคนต่อปีการศึกษา

                       -  ไม่เกิน 3 กิโลเมตร คนละ 10 บาทต่อวัน

                       -  มากกว่า 3 – 10 กิโลเมตร คนละ 15 บาทต่อวัน

                       -  มากกว่า  10 กิโลเมตรขึ้นไป  คนละ 20 บาทต่อวัน

                       -  ไม่เกิน 3 กิโลเมตร คนละ 10 บาทต่อวัน

                3.2  ค่าพาหนะ กรณีการคมนาคมในพื้นที่พิเศษตามระเบียบกระทรวงการคลัง

                       -  เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินคนละ 25 บาทต่อวัน โดยทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง

                       -  จ้างเหมายานพาหนะรับส่งนักเรียน เช่น กรณีเช่าเหมาเรือเป็นลำ เช่าเหมารถยนต์เป็นคันเป็นต้น

                3.3  ค่าจ้างเหมาบริการ

                       -  จัดสรรให้โรงเรียนที่เป็นโรงเรียนหลัก บริหารจัดการด้วยวิธีการที่เหมาะสม จ้างเหมายานพาหนะรับส่งนักเรียนจากโรงเรียนมาควบรวม

                       -  จัดสรรให้ผู้ปกครองที่รับส่งนักเรียนไปโรงเรียนหลัก

 

                3.4  การประกันอุบัติเหตุ

                       -  สพฐ. จัดทำประกันอุบัติเหตุหมู่ให้กับนักเรียนที่มาเรียนโรงเรียนหลักหรือจัดสรรงบประมาณ                    ให้เขตพื้นที่ / โรงเรียนหลัก

                3.5  จัดสรรยานพาหนะให้โรงเรียนหลัก

                       -  จัดสรรรถจักรยานสำหรับนักเรียนบ้านใกล้ เพื่อทดแทนค่าพาหนะ

                       -  จัดสรรยานพาหนะ เช่น รถยนต์ หรือเรือ ให้โรงเรียนหลัก

                3.6  ค่าใช้จ่ายสำหรับยานพาหนะรับส่งนักเรียน

                       -  จัดสรรสำหรับโรงเรียนที่ได้รับการจัดสรรยานพาหนะรับส่งนักเรียน ให้เป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิง              และการบำรุงรักษาสำหรับยานพาหนะให้กับโรงเรียนหลักที่ได้รับการจัดสรรยานพาหนะ  หรือได้รับการบริจาคเป็นยานพาหนะของโรงเรียน

กรณีที่4   แนวทางการบริหารจัดการในเรื่องการบริหารการเงินการพัสดุ ที่ดินอาคารสถานที่   และทรัพย์สินอื่น ๆ

                4.1  การบริหารการเงิน

                       -  เงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนให้โอนไปตามตัวนักเรียน

                       -  เงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณให้โอนให้โรงเรียนที่นักเรียนย้ายเข้าเรียนหรือกรณีที่นักเรียนย้ายไปหลายโรงเรียนให้โอนให้โรงเรียนที่นักเรียนย้ายเข้าเรียนมากที่สุด หรือโอนให้โรงเรียนที่ขาดแคลนหรือ ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

                4.2  การบริหารการพัสดุ

                       -  วัสดุและครุภัณฑ์ โอนให้โรงเรียนที่นักเรียนย้ายเข้าเรียนหรือกรณีที่นักเรียนย้ายไปหลายโรงเรียนให้โอนให้โรงเรียนที่นักเรียนย้ายเข้าเรียนมากที่สุด หรือโอนให้โรงเรียนที่ใกล้เคียง หรือโรงเรียนขาดแคลน

                      -  จำหน่ายตามระเบียบพัสดุ

                4.3  ที่ดิน อาคาร สถานที่ และทรัพย์สินอื่น ๆ

                       -  ที่ดิน กรณีโรงเรียนขออนุญาตใช้ที่ดินจากกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทยสำนักงานปฏิรูปที่ดิน วัด ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และอื่น ๆ ให้ตรวจสอบการถือกรรสิทธิที่ดินและดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

                       -  อาคาร กรณีไม่ใช้ประโยชน์สามารถจำหน่าย รื้อถอน อาคารสถานที่ วัสดุ ต้นไม้ ดิน ให้ปฏิบัติตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด

                       -  ทรัพย์สินอื่นๆ และเอกสารสำคัญ ให้โอนให้โรงเรียนที่นักเรียนย้ายเข้าเรียนหรือโอนให้โรงเรียนหลักที่กล่าวมาเป็นแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง   ก็ขอนำมาเสนอให้พวกเราได้อ่านกัน  และช่วยกันพิจารณาในการนำลงสู่ภาคปฏิบัติ อย่างเหมาะสม  ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการทำให้ลูกหลานของเราได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างแท้จริง

 

                                                                                              ดร. ชูศักดิ์   ประเสริฐ

                                                                                       ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน

หมวด: ข่าว สนง.นโยบายและแผน สพฐ | Views: 1758 | เพิ่มโดย: jatuporn | Tags: แนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนขน | Rating: 0.0/0
คอมเม้นทั้งหมด: 0
ComForm">
avatar