Thursday, 18 April 2024, 22:51:20
ยินดีต้อนรับ, Guest
หน้าหลัก » 2013 » August » 5 » บทอาขยาน โคลงโลกนิติ
16:09:32
บทอาขยาน โคลงโลกนิติ

ดินหญ้ากาช้ำ:
โครงโลกนิติ

๏ ปลาร้าพันห่อด้วย           ใบคา
ใบก็เหม็นคาวปลา         คละคลุ้ง
คือคนหมู่ไปหา         คบเพื่อน พาลนา
ได้แต่ร้ายร้ายฟุ้ง         เฟื่องให้เสียพงศ์๚ะ๛
     การคบคนชั่วหรือคนพาลย่อมนำมาซึ่งความมัวหมอง ตรงกับสำนวนคบพาลพาลพาไปหาผิด 

๏ ใบพ้อพันห่อหุ้ม        กฤษณา
หอมระรวยรสพา         เพริศด้วย
คือคนเสพเสน่หา         นักปราชญ์
ความสุขซาบฤาม้วย         ดุจไม้กลิ่นหอม๚ะ๛
      การคบคนดีย่อมนำซึ่งความสุขและชื่อเสียง ตรงกับสำนวนคบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล
 
๏ ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้         มีพรรณ
ภายนอกแดงดูฉัน         ชาดบ้าย
ภายในย่อมแมลงวัน         หนอนบ่อน
ดุจดังคนใจร้าย         นอกนั้นดูงาม๚ะ๛
    การคบการคบคนอย่ามองเพียงความงดงามภายนอก ตรงกับสำนวนรู้หน้าไม่รู้ใจ หรือ ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง

๏ ขนุนสุกสล้างแห่ง         สาขา
ภายนอกเห็นหนามหนา         หนั่นแท้
ภายในย่อมรสา         เอมโอช
สาธุชนนั้นแล้         เลิศด้วยดวงใจ๚ะ๛
    การคบให้มองที่ความงามภายในเหมือนกับขนุน ตรงกับสำนวนข้างนอกขรุขระข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง
 
๏ คนพาลผู้บาปแท้         ทุรจิต
ไปสู่หาบัณทิต         ค่ำเช้า
ฟังธรรมอยู่เนืองนิตย์         บ่ทราบ ใจนา
คือจวักตักเข้า         ห่อนรู้รสแกง๚ะ๛
    คนเลวที่แม้คบคนดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีก็ยังไม่สามารถปรับปรุงตัวได้เป็นเสมือนจวักตักแกงที่แม้จะอยู่ในหม้อแกงแต่ไม่อาจรู้รสของแกงได้ ตรงกับสำนวน สีซอให้ควายฟัง หรือตักน้ำรดหัวตอ
 
๏ หมูเห็นสีหราชท้า         ชวนรบ
กูสี่ตีนกูพบ         ท่านไซร้
อย่ากลัวท่านอย่าหลบ         หลีกจาก กูนา
ท่านสี่ตีนอย่าได้         วากเว้วางหนี๚ะ๛
     ผู้ต่ำต้อยที่ไม่รู้จักประมาณตน อาจนำมาซึ่งความเดือดร้อน ตรงกับสำนวนถ่มน้ำลายรดฟ้า
 
๏ สีหราชร้องว่าโอ้         พาลหมู
ทรชาติครั้นเห็นกู         เกลียดใกล้
ฤามึงใคร่รบดนู         มึงมาศ เองนา
กูเกลียดมึงกูให้         พ่ายแพ้ภัยตัว๚ะ๛
     ผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจที่วางเฉยไม่ลงมาต่อกรด้วย พฤติกรรมของราชสีห์ตรงกับสำนวน อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ

๏ กบเกิดในสระใต้         บัวบาน
ฤาห่อนรู้รสมาลย์         หนึ่งน้อย
ภุมราอยู่ไกลสถาน         นับโยชน์ ก็ดี
บินโบกมาค้อยค้อย         เกลือกเคล้าเสาวคนธ์๚ะ๛
    คนที่อยู่ใกล้ของมีค่าแต่ไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของ ตรงกับสำนวนใกล้เกลือกินด่าง

๏ ไม้ค้อมมีลูกน้อม         นวยงาม
คือสัปบุรุษสอนตาม         ง่ายแท้
ไม้ผุดังคนทราม         สอนยาก
ดัดก็หักแหลกแล้         ห่อนรื้อโดยตาม๚ะ๛
    กิ่งไม้ที่อ่อนค้อมย่อมดัดตามรูปทรงได้ง่ายกว่าไม้ที่แก่หรือผุเช่นเดียวกับการสอนคน สอนคนที่พร้อมจะรับฟังง่ายกว่าการสอนคนที่อวดดี เชื่อมั่น หรือคนที่ไม่ดี อาจจะใช้ได้กับสำนวนตักน้ำรดหัวตอ ไม้อ่อนดัดง่ายไม้แก่ดัดยาก

๏ นาคีมีพิษเพี้ยง    สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช    แช่มช้า
พิษน้อยหยิ่งโยโส    แมลงป่อง
ชูแต่หางเองอ้า    อวดอ้างฤทธี๚ะ๛
     ผู้มีความรู้ ความสามารถย่อมไม่อวดตนหรือคุยโม พฤติกรรมของนาคีตรงกับ้ ตรงกับสำนวนคมในฝัก

๏ ความรู้ผู้ปราชญ์นั้น         นักเรียน
ฝนทั่งเท่าเข็มเพียร         ผ่ายหน้า
คนเกียจเกลียดหน่ายเวียน         วนจิต
กลอุทกในตระกร้า         เปี่ยมล้นฤามี๚ะ๛
    คนที่มีความหยันหมั่นเพียรแม้ทำกิจการใดที่ยากก็ย่อมสำเร็จ(ทั่งคือแท่งเหล็ก) แต่คนเกียจคร้านทำสิ่งใดไม่สำเร็จเหมือนกับการตักน้ำในตะกร้า (อุทก=น้ำ) พฤติกรรมของปราชญ์ตรงกับสำนวนหนักเอาเบาสู้
 
๏ งาสารฤาห่อนเหี้ยน    หดคืน
คำกล่าวสาธุชนยืน    อย่างนั้น
ทุรชนกล่าวคำฝืน    คำเล่า
หัวเต่ายาวแล้วสั้น    เล่ห์ลิ้นทรชน๚ะ๛
    คำพูดของคนที่ยึดมั่นในคำพูดเปรียบเสมือนงาช้างที่งอกแล้วไม่หดคืนแต่คำพูดของคนชั่ว (ทุรชน) ย่อมกลับไปกลับมาเหมือนหัวเต่าที่ผลุบ ๆโผล่ ๆ

๏ ห้ามเพลิงไว้อย่าให้    มีควัน
ห้ามสุริยแสงจันทร์    ส่องไซร้
ห้ามอายุให้หัน    คืนเล่า
ห้ามดังนี้ไว้ได้    จึ่งห้ามนินทา๚ะ๛
     การห้ามธรรมชาติทั้ง ๔ ประการไม่ให้ดำเนินไปว่าเป็นสิ่งที่ยากแล้วการห้ามไม่ให้คนนินทายังยากกว่า ตรงกับสำนวนอันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหินแม้องพระปฏิมายังราคิน มนุษย์เดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา
 
๏ภูเขาเหลือแหล่ล้วน    ศิลา
หามณีจินดา                    ยากได้
ฝูงชนเกิดนานา    ในโลก
หานักปราชญ์นั้นไซร้    เลือกแล้วฤๅมี๚
 
๏พริกเผ็ดใครเผ็ดให้    ฉันใด
หนามย่อมหนามเองใคร    เซี่ยมให้
จันทร์กฤษณาไฉน    ใครอบ หอมฤๅ
วงศ์แห่งนักปราชญ์ได้    เพราะด้วยฉลาดเอง๚
 
๏ภูเขาเอนก ล้ำ    มากมี
บ่มิหนักแผ่นธรณี    หน่อยไซร้
หนักนักแต่กระลี    ลวงโลก
อันจักทรงทานได้    แต่พื้นนรกานต์๚

๏ดารามีมากน้อย    ถึงพัน
บ่เปรียบกับดวงจันทร์    หนึ่งได้
คนพาลมากอนันต์    ในโลก
จะเทียบเท่าปราชญ์ไซร์    ยากแท้ฤๅถึง๚
 
๏ถึงจนทนสู้กัด    กินเกลือ
อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ    พวกพ้อง
อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ    สงวนศักดิ์
โซก็เสาะใส่ท้อง    จับเนื้อกินเอง๚
 
๏ ตีนงูงูไซร้หาก         เห็นกัน
นมไก่ไก่สำคัญ         ไก่รู้
หมู่โจรต่อโจรหัน         เห็นเล่ห์ กันนา
เชิงปราชญ์ฉลาดกล่าวผู้         ปราชญ์รู้ เชิงกัน๚ะ๛
    คนประเภทเดียวกันย่อมรู้เท่าทันซึ่งกันและกัน ตรงกับสำนวนไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่

๏ เว้นวิจารณ์ว่างเว้น         สดับฟัง
เว้นที่ถามอันยัง         ไป่รู้
เว้นเล่าลิขิตสัง-         เกตว่าง เว้นนา
เว้นดั่งกล่าวว่าผู้         ปราชญ์ได้ฤามี๚ะ๛
    คนที่จะเป็นปราชญ์นั้นต้องยึดถือหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ. จิ. ปุ.ลิ.ฟัง คิด ถาม เขียน

๏ รู้น้อยว่ามากรู้    เริงใจ
กลกบเกิดอยู่ใน    สระจ้อย
ไป่เห็นชเลไกล    กลางสมุทร
ชมว่าน้ำบ่อน้อย    มากล้ำลึกเหลือ๚ะ๛
    คนที่อยู่ในโลกหรือสังคมที่แคบย่อมคิดว่าสิ่งที่ตนพบเห็นนั้นยิ่งใหญ่แล้วตรงกับสำนวน กบในกะลา อึ่งอ่างในกะลา หิ่งห้อยในกะลา
 
๏ เสียสินสงวนศักดิ์ไว้    วงศ์หงส์
เสียศักดิ์สู้ประสงค์    สิ่งรู้
เสียรู้เร่งดำรง    ความสัตย์ ไว้นา
เสียสัตย์อย่าเสียสู้    ชีพม้วยมรณา๚ะ๛ 
     การรักษาความสัตย์สำคัญเหนือสิ่งใด ตรงกับสำนวนเสียชีพอย่าเสียสัตย์

๏ ตัดจันทน์ฟันม่วงไม้    จัมบก
แปลงปลูกหนามรามรก    รอบเรื้อ
ฆ่าหงส์มยุรนก    กระเหว่า เสียนา
เลี้ยงหมู่กากินเนื้อ    ว่ารู้ลีลา๚ะ๛
    การทำลายสิ่งที่ก่อประโยชน์เพื่อสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ สอนให้ตระหนักถึงความคุ้มค่าในกิจที่ทำ ตรงกับสำนวน
ขี่ช้างจับตั๊กแตน
 
๏ น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว         ยูงตาม
ทรายเหลือบหางยูงงาม         ว่าหญ้า
ตาทรายยิ่งนิลวาน         พรายเพริศ
ลิงว่าหวัวหวังหว้า         หว่าดิ้นโดดตาม๚ะ๛
     การหลงเชื่อในสิ่งที่ผิด หรือการหลงผิด โดยขาดการไตร่ตรอง อาจจนำมาซึ่งอันตรายถึงชีวิต เช่นนกยูงมองจากที่สูงเห็นสายน้ำที่คดเคี้ยวไกล ๆว่าเป็นงู กระโดดลงไปตาย เนื้อทรายมองแพหางนกยูงเป็นหญ้าก็กระโดด
หมายจะกิน ก็ตายตามไป ขณะเดียวกันลิงเห็นตาทรายที่โผล่พ้นน้ำเป็นลูกหว้าก็กระโดดหมายจะกินอีก ต่างตายตามไปด้วย ตรงกับสำนวนเห็นผิดเป็นชอบ

๏ พระสมุทรสุดลึกล้น    คณนา
สายดิ่งทิ้งทอดมา    หยั่งได้
เขาสูงอาจวัดวา    กำหนด
จิตมนุษย์นี้ไซร้    ยากแท้หยั่งถึง๚ะ๛
    ความลึก ความสูง ขนาดของสิ่งใดที่ยิ่งใหญ่มนุษย์สามารถวัดได้แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจสามารถวัดได้คือจิตใจของคน กวีสอนให้ระวังในการเชื่อหรือคบคน ตรงกับสำนวนรู้หน้าไม่รู้ใจ
 
๏ รักกันอยู่ขอบฟ้า    เขาเขียว
เสมออยู่หอแห่งเดียว    ร่วมห้อง
ชังกันบ่แลเหลียว    ตาต่อ กันนา
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง    ป่าไม้มาบัง๚ะ๛
    กวีสอนให้คนรักกัน เพราะหากอยู่ใกล้ชิดในสังคมเดียวกันมาโกรธหรือขุ่นเคืองกัน ย่อมสร้างอึดอัดให้ทั้งสองฝ่าย

๏ ให้ท่านท่านจักให้    ตอบสนอง
นบท่านท่านจักปอง    นอบไหว้
รักท่านท่านควรครอง    ความรัก เรานา
สามสิ่งนี้เว้นไว้    แต่ผู้ทรชน๚ะ๛
    โคลงบทนี้สอนให้คนรู้จักกตัญญู การเป็นผู้ให้ซึ่งกันและกัน ตรงกับสำนวนหมูไปไก่มา

๏ แม้นมีความรู้ดั่ง    สัพพัญญู
ผิบ่มีคนชู                    ห่อนขึ้น
หัวแหวนค่าเมืองตรู    ตาโลก
ทองบ่รองรับพื้น    ห่อนแก้วมีศรี๚ะ๛
     สอนให้คนที่มีความรู้ความสามารถตระหนัก ไม่เย่อหยิ่งจองหองเพราะแม้นว่ามีความสามารถปานใดก็ตามหากขาดคนสนับสนุนส่งเสริม ก็ยากที่จะมีใครเห็น เฉกเช่นเดียวกับ เพชรพลอย งดงามเมื่อมีแหวนทองรองรับ

๏ เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม    ดนตรี
อักขระห้าวันหนี    เนิ่นช้า
สามวันจากนารี    เป็นอื่น
วันหนึ่งเว้นล้างหน้า    อับเศร้าศรีหมอง๚ะ๛
     โคลงบทนี้สอนให้เป็นผู้เอาใจใส่ปฏิบัติต่อกิจที่ทำอยู่เป็นนิจ เพื่อผลประโยชน์แก่ตน

๏ ใครจักผูกโลกแม้    รัดรึง
เหล็กเท่าลำตาลตรึง    ไป่หมั้น
มนตร์ยาผูกนานหึง    หายเสื่อม
ผูกเพื่อไมตรีนั้น    แน่นเท้าวันตาย๚ะ๛
    ไม่มีเสน่หาหรือมนตร์ใดที่จะผูกมัดคนให้คงมั่นต่อกันเท่าไมตรี ความเอื้ออาทรที่ดีต่อกัน

๏ ผจญคนมักโกรธด้วย    ไมตรี
ผจญหมู่ทรชนดี    ต่อตั้ง
ผจญคนจิตโลภมี    ทรัพย์เผื่อ แผ่นา
ผจญอสัตย์ให้ยั้ง    หยุดด้วยสัตยา๚ะ๛
    สอนให้ใช้คุณธรรมต่าง ๆ เมื่อจะต้องคบค้าสมาคมกับบุคคลต่าง ๆ ที่มีพฤติกรรมตามที่กล่าวถึง
 
๏ คนใดคนหนึ่งผู้    ใจฉกรรจ์
เคียดฆ่าคนอนันต์    หนักแท้
ไป่ปานบุรุษอัน    ผจญจิต เองนา
เธียรท่านเยินยอแล้    ว่าผู้มีชัย๚ะ๛
     การชนะใจตนเองคือความยิ่งใหญ่ เป็นที่ยอมรับมากว่าการที่ชนะผู้อื่น

๏ ความรู้ดูยิ่งล้ำ    สินทรัพย์
คิดค่าควรเมืองนับ    ยิ่งไซร้
เพราะเหตุจักอยู่กับ    กายอาต มานา
โจรจักเบียนบ่ได้    เร่งรู้เรียนเอา๚ะ๛
      ความรู้มีความสำคัญที่สุด เพราะไม่มีใครสามารถมาเบียดเบียนไปได้
 
๏ คนใดโผงพูดโอ้    อึงดัง
อวดว่ากล้าอย่าฟัง    สัปปลี้
หมาเห่าเล่าอย่าหวัง    จักขบ ใครนา
สองเหล่าเขาหมู่นี้    ชาติเชื้อเดียวกัน๚ะ๛
      คนที่คุยโวโอ้อวด ชอบพูดข่มขู่ จะไม่กล้าทำจริง เหมือนหมาที่เห่าแต่ไม่กัด ตรงกับสำนวน หมาเห่าใบตองแห้ง หรือ หมาเห่ามักไม่กัด

๏ โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง    เมล็ดงา
ปองติฉินนินทา    ห่อนเว้น
โทษตนเท่าภูผา    หนักยิ่ง
ป้องปิดคิดซ่อนเร้น    เรื่องร้ายหายสูญ๚ะ๛
      ธรรมชาติของคนมักจะมองเห็นแต่ความผิดของผู้อื่น ขณะเดียวกันความผิดพลาดของตนแม้ใหญ่หลวงก็พยายามปกปิด

๏ ราชาธิราชน้อม    ในสัตย์
อำมาตย์เป็นบรรทัด    ถ่องแท้
ฝูงราษฎร์อยู่ศรีสวัสดิ์    ทุกเมื่อ
เมืองดั่งนี้เลิศแล้    ไพร่ฟ้าเปรมปรีดิ์๚ะ๛
     ประเทศหรือสังคมใดก็ตามที่มีผู้นำและข้าราชการอยู่ในศีลธรรม มีศีลสัตย์ประชาชน ย่อมอยู่อย่างสงบสุขตรงกับสำนวนไพร่ฟ้าหน้าใส

๏ คนใดละพ่อทั้ง    มารดา
อันทุพพลชรา    ภาพแล้ว
ขับไล่ไม่มีปรา    นีเนตร
คนดั่งนี้ฤาแคล้ว    คลาดพ้นไภยัน๚ะ๛
บุคคลใดก็ตามที่ละเลย ละทิ้งการดูแลบิดามารดา ที่ชราภาพ หรือทุพพลภาพ ย่อมนำมาซึ่งภัยอันตรายสู่ตัวเอง ตรงกับสำนวน ลูกอกตัญญู
 
๏ หอมกลิ่นดอกไม้ที่    นับถือ
หอมแต่ตามลมฤา    กลับย้อน
หอมแห่งกลิ่นกล่าวคือ    ศีลสัตย์ นี้นา
หอมสุดหอมสะท้อน    ทั่วใกล้ไกลถึง๚ะ๛
      กลิ่นหอมของดอกไม้ แม้หอมอย่างไร กลิ่นโชยไปตามลมเท่านั้น แต่ชื่อเสียงหรือคำสรรเสริญของคนที่มีศีลธรรมกลับหอมไปอย่างทั่วถึงกว่า

๏ ก้านบัวบอกลึกตื้น    ชลธาร
มารยาทส่อสันดาน    ชาติเชื้อ
โฉดฉลาดเพราะคำขาน    ควรทราบ
หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ    บอกร้ายแสลงดิน๚ะ๛
      ความยาวของก้านบัวสามารถบอกความลึกตื้นของแหล่งน้ำที่มันอยู่ได้ มารยาทบอกให้ทราบถึงความเป็นไปของชาติตระกูลคำพูดของคนสามารถแสดงให้เห็นว่าบุคคลนั้น ฉลาด เขลา ชั่ว หรือเลว เหมือนกับที่หญ้าเหี่ยวแห้งบอก
ถึงความไม่สมบูรณ์ของดิน ตามตรงกับสำนวนสำเนียงส่อภาษา กริยาส่อสกุล

๏ อย่าเอื้อมเด็ดดอกฟ้า    มาถนอม
สูงสุดมือมักตรอม    อกไข้
เด็ดแต่ดอกพยอม    ยามยาก ชมนา
สูงก็สอยด้วยไม้    อาจเอื้อมเอาถึง๚ะ๛
     โคลงบทนี้กวีสอนให้รู้จักประมาณตน ใฝ่ฝัน หรือปรารถนาในสิ่งที่เป็นไปได้จะได้ไม่ต้องพบกับความผิดหวังเจ็บปวด หากมีพฤติกรรมตรงข้ามกับสิ่งที่กล่าวตรงกับสำนวนดอกฟ้ากับหมาวัด หรือ กระต่ายหมายจันทร์
 
๏ เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อ    มังสา
นายหนึ่งเลี้ยงพยัคฆา    ไป่อ้วน
สองสามสี่นายมา    กำกับ กันแฮ
บังทรัพย์สี่ส่วนถ้วน    บาทสิ้นเสือตาย๚ะ๛
     การทำกิจการใดก็ตามหากมีคนเบียดบังผลประโยชน์ หรือโกงกินคนโกงกินหนึ่งคน ผลงานของก็ย่อมไม่สมบูรณ์ และยิ่งมีคนโกงกินมากกิจการนั้นย่อมไม่สำเร็จ ตรงกับสำนวนคดในข้องอในกระดูก
 
๏ โคควายวายชีพได้    เขาหนัง
เป็นสิ่งเป็นอันยัง    อยู่ไซร้
คนเด็ดดับสูญสัง    ขารร่าง
เป็นชื่อเป็นเสียงได้    แต่ร้ายกับดี๚ะ๛
      สัตว์อย่างวัวหรือควายเมื่อตายไปแล้วยังทิ้งเขา กระดูกหนังไว้ให้ทำประโยชน์ได้ ส่วนคนสิ่งที่จะทิ้งไว้เบื้องหลังความตายให้คนกล่าวถึงก็คือ ความดีหรือความชั่วเท่านั้น

๏ ถึงจนทนสู้กัด    กินเกลือ
อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ    พวกพ้อง
อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ    สงวนศักดิ์
โซก็เสาะใส่ท้อง    จับเนื้อกินเอง๚ะ๛
      โคลงบทนี้กวีสอนให้คนหยิ่งในศักดิ์ศรีไม่เบียดเบียนผู้อื่นเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง เหมือนเสือที่ล่าเหยื่อเองเป็นอาหาร ตรงกับสำนวนอดเยี่ยงเสือ

๏ บางคาบภาณุมาศขึ้น    ทางลง ก็ดี
บางคาบเมรุบ่ตรง    อ่อนแอ้
ไฟยมดับเย็นบง-    กชงอก ผานา
ยืนสัตย์สาธุชนแท้    ห่อนเพี้ยนสักปาง๚ะ๛
      บางครั้งพระอาทิตย์นั้น อาจขึ้นทางทิศตะวันตกได้แม้นเขาพระสุเมรุ ยังมีวันเอนไฟนรกที่ร้อนแรงยังดับ ลงได้ ดอกบัวสามารถงอกจากบนหน้าผาแต่คำสัตย์ แห่งสาธุชนนั้น ไม่มีเปลี่ยนแปลง

จากกัลยาณมิตร (ปิยะสิทธิ์ บำรุงพฤกษ์ )

๏ เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้ว    แหนงหนี
หาง่าย หลายหมื่นมี    มากได้
เพื่อนตาย ถ่ายแทนชี-    วาอาตม์
หากยาก ฝากผีไข้    ยากแท้จักหา๚ะ๛
      โคลงบทนี้กวีเตือนสติการคบเพื่อน ให้รู้จักระมัดระวัง อย่าประมาทเพราะเพื่อนในคราที่มีความสุขนั้นหาง่ายมาก แต่เพื่อนที่ไปมาหาสู๋ในครามีทุกข์นั้นหายากยิ่ง ตรงกับสำนวนเพื่อนกินหาง่ายเพื่อนตายหายาก

๏ อ่อนหวานมานมิตรล้น    เหลือหลาย
หยาบบ่มีเกลอกราย    เกลื่อนใกล้
ดุจดวงศศิฉาย    ดาวดาษ ประดับนา
สุริยส่องดาราไร้    เมื่อร้อนแรงแสง๚ะ๛
      คนที่พูดจาอ่อนหวานย่อมมีเพื่อนชอบคบค้าสมาคม เหมือนกับ ดวงจันทร์ (ศศิ)ที่ส่องแสงนวลเย็นต่างมีดาวมารายรอบ ส่วนคนพูดจากระด้างหยาบคาย ย่อมไม่มีใครคบค้าสมาคมเหมือนความร้อนแรงของดวงอาทิตย์ที่ทำให้ดวงดาวลับหาย

๏ ยอข้ายอเมื่อแล้ว    การกิจ
ยอยกครูยอสนิท    ซึ่งหน้า
ยอญาติประยูรมิตร    เมื่อลับ หลังแฮ
คนหยิ่งแบกยศบ้า    อย่ายั้งยอควร๚ะ๛
     การจะกล่าวชื่นชมหรือยกยอใครต้องใช้ให้ถูกกาลเทศะ ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย แต่สำหรับคนที่บ้ายศศักดิ์ ถือเกียรติสำคัญยิ่งควรพูดจายกยออยู่เป็นนิจ
 
๏ พริกเผ็ดใครให้เผ็ด    ฉันใด
หนามย่อมแหลมเองใคร    เซี่ยมให้
จันทน์กฤษณาไฉน    ใครอบ หอมฤๅ
วงศ์แห่งนักปราชญ์ได้    เพราะด้วยฉลาดเอง ๚ะ๛
     คนที่มีดีด้วยตนเอง
 
๏ สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ    ในตน
กินกัดเนื้อเหล็กจน    กร่อนขร้ำ
บาปเกิดแก่ตนคน    เป็นบาป
บาปย่อมทำโทษซ้ำ    ใส่ผู้บาปเอง๚ะ๛
     ทุกสิ่งย่อมมีสาเหตุที่มา หากเราคิดร้าย โกรธขึ้ง ผลจะส่งให้เรานั่นแหละไม่สบายใจ เหมือนสนิมเหล็กที่กัดกร่อนตัวเอง

๏ ใครจักผูกโลกแม้    รัดรึง
เหล็กเท่าลำตาลตรึง    ไป่หมั้น
มนต์ยาผูกนานหึง    หายเสื่อม
ผูกเพื่อไมตรีนั้น    แน่นเท้าวันตาย๚ะ๛
       การผูกมิตรหรือการสร้างความผูกพันต้องใช้การผูกด้วยไมตรีเท่านั้น สิ่งอื่น ๆ ไม่มีความยั่งยืนเท่า ตรงกับร่ายสุภาษิต" ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง" (หึงในที่นี้ เป็นคำวิเศษณ์ แปลว่านาน บ่มิหึง คือไม่นาน)
 
๏ ความเพียรเป็นอริแล้ว    เป็นมิตร
คร้านเกียจเป็นเพื่อนสนิท    ร่วมไร้
วิชาเฉกยาติด    ขมขื่น
ประมาทเหมือนดับไต้    ชั่วร้ายฤๅเห็น๚ะ๛
      ความเพียรทำได้ยาก ต้องทำด้วยความอดทน เป็นเสมือนศัตรู หากสุดท้ายผลที่ได้คือสิ่งที่ดีเปรียบเสมือนมิตรความเกียจคร้านในเบื้องต้นทำให้ผู้ฏิบัติรู้สึกสบายเปรียบเสมือนเป็นเพื่อนสนิท พร้อมที่จะปฏิบัติิเช่นนั้นได้ทุกเมื่อ แต่สุดท้ายกลับส่งผลเสียแก่ผู้ปฏิบัติ การเรียนรู้ในวิชาต่าง ๆก็เช่นกัน ผู้ปฏิบัติไม่มีความสุขเลยแต่สุดท้ายกลับได้ความรู้ ส่วนความประมาทเหมือนคนที่เดินไปโดยปราศจากแสง (ไต้ คบเพลิงที่ทำจากเปลือกเสม็ด+ยางของ
ต้นไม้ยาง)ย่อมไม่เห็นสิ่งชั่วร้ายหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้น
 
๏ เห็นใดจำให้แน่    นึกหมาย
ฟังใดอย่าฟังดาย    สดับหมั้น
ชนม์ยืนอย่าพึงวาย    ตรองตรึก ธรรมนา
สิ่งสดับทั้งนั้น    ผิดเพี้ยนเป็นครู๚ะ๛
      สอนเรื่องการรับข่าวสารข้อมูลอย่าฟังหรืออ่าน ให้ผ่านหูไปเฉย ๆ ให้คิดไตร่ตรองอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นบทเรียนได้ (สดับหมั้น จำให้แม่นยำ หมั้นมาจากมั่น ในที่นี้ หมั้นเป็นโทโทษ แทนมั่น)
 
๏ อย่าโทษไทท้าวท่วย    เทวา
อย่าโทษสถานภูผา    ย่านกว้าง
อย่าโทษหมู่วงศา    มิตรญาติ
โทษแต่กรรมเองสร้าง    ส่งให้เป็นเอง๚ะ๛
       สอนให้รู้จึกคิดไม่โทษอะไรง่าย ๆ ควรไตร่ตรองว่าเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากการกระทำของเราเองใช่หรือไม่
ตรงกับร่ายสุภาษิต "โทษตนผิดพึงรู้"
 
๏ โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง    เมล็ดงา
ปองติฉินนินทา    ห่อนเว้น
โทษตนเท่าภูผา    หนักยิ่ง
ป้องปิดคิดซ่อนเร้น    เรื่องร้ายหายสูญ๚ะ๛
       ธรรมชาติของคนมักมองเห็นความผิดของผู้อื่นใหญ่กว่าของตัวเอง ในที่นี้ใช้คำเปรียบเทียบ ระหว่าง ภูผา กับเมล็ดงาซึ่งแตกต่างกันอย่างมากมาย
 
๏ เดินทางต่างเทศให้    พิจารณ์
อาสน์นั่งนอนอาหาร    อีกน้ำ
อดนอนอดบันดาล    ความโกรธ
ห้าสิ่งนี้คุณล้ำ    เลิศล้วนควรถวิล๚ะ๛
      เมื่อเดินทางไปต่างถิ่นควรตรวจตราเรื่องของที่พัก อาหารและน้ำ ไม่เห็นแก่การนอนเป็นใหญ่ รู้จักระงับอารมณ์ ไม่โกรธฉุนเฉียวง่ายปกป้องตัวเองทั้งเรื่องของอารมณ์ ร่ายกายและจิตใจ (ต่างเทศ คือต่างบ้านต่างเมือง ต่างถิ่น)
 
๏ เป็นคนคลาดเหย้าอย่า    เปล่ากาย
เงินสลึงติดชาย    ขอดไว้
เคหาอย่าสูญวาย    ข้าวเปลือก มีนา
เฉินฉุกขุกจักได้    ผ่อนเลี้ยงอาตมา๚ะ๛
      สอนอย่าให้ประมาท เมื่อออกจากบ้านต้องมีเงินทองติดตัวเสมอ เผื่อความจำเป็นฉุกเฉิน ที่บ้านก็เช่นกัน
ต้องมีเสบียงอาหารพร้อม (ติดชายขอดไว้ นำเงินติดชายพก คือเหน็บไว้ในชายผ้าข้างสะเอว)
 
๏ พายเถิดพ่ออย่ารั้ง    รอพาย
จวนตะวันจักสาย    ส่องฟ้า
ของสดสิ่งควรขาย    จักขาด ค่าแฮ
ตลาดเลิกแล้วอ้า    บ่นอื้นเอาใคร ๚ะ๛
      สอนให้รู้จักใช้เวลาและโอกาส อย่าปล่อยให้เวลาผ่านเลยไป ตรงกับสำนวน"น้ำขึ้นให้รีบตัก"
 
๏ ทรัพย์มีสี่ส่วนไซร้    ปูนปัน
ภาคหนึ่งพึงเกียดกัน    เก็บไว้
สองส่วนเบ็ดเสร็จสรรพ์    การกิจ ใช้นา
ยังอีกส่วนควรให้    จ่ายเลี้ยงตัวตน๚ะ๛
      การบริหารจัดการกับเงินทอง ต้องรู้จักแบ่งสรรปันส่วนทำบัญชี ค่าใช้จ่ายอย่างมีระบบโดยเงิน 1ใน 4 ส่วนต้องเก็บออมไว้ยามจำเป็น
 
๏ ย่าขุดขอดท่านด้วย    วาจา
อย่าถากท่านด้วยตา    ติค้อน
ฟังคำกล่าวมฤษา    โสตหนึ่ง นะพ่อ
หยิบบ่ศัพท์กลับย้อน    โทษให้กับตน ๚ะ๛
      (มฤษา คือมุสา พูดไม่จริง พูดเท็จ)สอนไม่ให้เป็นคนก้าวร้าวทำร้ายผู้อื่นด้วยคำพูดหรือสายตาตรงกับร่ายสุภาษิต "อย่าขุดคนด้วยปาก อย่าถากคนด้วยตา "
 
๏ กาน้ำดำดิ่งด้น    เอาปลา
กาบกคิดใคร่หา    เสพบ้าง
ลงดำส่ำมัจฉา    ชลชาติ
สวะปะคอค้าง    ครึ่งน้ำจำตาย๚ะ๛
      กาน้ำ หมายถึงนกชนิดหนึ่งคอยาว ว่ายน้ำเหมือนเป็ด จับปลาเป็นอาหารกาบก คืออีกา การทำตามหรือเอาอย่างผุ้อื่นโดยไม่พิจารณาไตร่ตรองย่อมนำไปสู่ความหายนะได้ ตรงกับสำนวน"ช้างขี้ ขี้ตามช้าง"(สวะปะคอ วัชพืชที่ลอยอยู่ในน้ำพันคอ)
 
๏ ไปเรือนท่านไซร้อย่า    เนานาน
พูดแต่พอควรการ    กลับเหย้า
ริร่ำเรียนการงาน    เรือนอาต มานา
ยากเท่ายากอย่าเศร้า    เสื่อมสิ้นความเพียร๚ะ๛
       สอนมารยาท ให้รู้จักเกรงใจคนไม่รบกวนเวลาของผู้อื่นและให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ อยุ่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนตรงกับร่ายสุภาษิต "ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน"
 
๏ เป็นคนคิดแล้วจึ่ง    เจรจา
อย่ามลนหลับตา    แต่ได้
เลือกสรรหมั่นปัญญา    ตรองตรึก
สติริรอบให้    ถูกแล้วจึงทำ๚ะ๛
       (มลน หมายถึง ลนลาน) สอนให้คิดก่อนพูด คำพูดนั้นอาจทำร้ายทั้งตนเองและผู้อื่นได้ซึ่งคำพูดเปรียบเสมือนลูกปืนเมื่อพูดออกไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
 
๏ ปางน้อยสำเหนียกรู้    เรียนคุณ
ครั้นใหญ่ย่อมหาทุน    ทรัพย์ไว้
เมื่อกลางแก่แสวงบุญ    ธรรมชอบ
ยามหง่อมทำใดได้    แต่ล้วนอนิจจัง๚
 
๏ คุณแม่หนาหนักเพี้ยง    พสุธา
คุณบิดรดุจอา-    กาศกว้าง
คุณพี่พ่างศิขรา    เมรุมาศ
คุณพระอาจารย์อ้าง    อาจสู้สาคร๚
 
๏ เย็นเงาพฤกษ์มิ่งไม้    สุขสบาย
เย็นญาติสุขสำราย    กว่าไม้
เย็นครูยิ่งพันฉาย    กษัตริย์ยิ่ง ครูนา
เย็นร่วมพระเจ้าให้    ร่มฟ้าดินบน๚
 
๏ วิชาควรรักรู้    ฤๅขาด
อย่าหมิ่นศิลปศาสตร์    ว่าน้อย
รู้จริงสิ่งเดียวอาจ    มีมั่ง
เลี้ยงชีพช้าอยู่ร้อย    ชั่วลื้อเหลนหลาน๚
 
๏ อย่าหมิ่นของเล็กนั้น    สี่สถาน
เล็กพริกพระกุมาร    จิดจ้อย
งูเล็กเท่าสายพาน    พิษยิ่ง
ไฟเล็กเท่าหิ่งห้อย    อย่าได้ดูแคลน๚

ที่มาจาก http://www.st.ac.th/bhatips/loganit.html

ดินหญ้ากาช้ำ:
ห้ามเพลิงไว้อย่าให้      มีควัน
ห้ามสุริยะแสงจันทร์     ส่องไซร้
ห้ามอายุให้หัน             คืนเล่า
ห้ามดั่งนี้ไว้ได้              จึ่งห้ามนินทา

แปลได้ว่า เมื่อใดที่เราสามารถทำให้ไฟไร้ควัน ห้ามพระอาทิตย์และพระจันทร์ส่องแสง
 รวมถึงทำให้อายุของเราย้อนกลับคืนมาได้แล้ว เมื่อนั้น เราจึงห้ามการนินทาได้
 (เท่ากับแปลว่า การนินทา เป็นเรื่องธรรมดาของโลกนี้นั่นเอง)

พระสมุทรสุดลึกล้น  คณนา
สายดิ่งทิ้งทอดมา    หยั่งได้
เขาสูงอาจวัดวา       กำหนด
จิตมนุษย์นี้ไซร้        ยากแท้หยั่งถึง

แปลว่ามหาสมุทร ต่อให้ลึกสักเพียงใดก็ยังใช้สายดิ่งวัดความลึกได้ ภูเขา ต่อให้สูงสักเพียงใด ก็ยังอาจกำหนดความสูงได้
 แต่จิตใจของคนเรานี้ ช่างลึกลับ ซับซ้อน เกินกว่าจะใช้เครื่องมือใด ๆ มาวัดให้หยั่งรู้ได้

รักกันอยู่ขอบฟ้า          เขาเขียว
เสมออยู่หอแห่งเดียว   ร่วมห้อง
ชังกัน บ่ แลเหลียว      ตาต่อ กันนา
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง  ป่าไม้มาบัง

แปลง่าย ๆ ได้ว่า คนที่รักกัน แม้อยู่ไกลกัน ก็เหมือนอยู่ใกล้กัน
 แต่คนที่เกลียดชังกันต่อให้อยู่ใกล้กัน ก็เหมือนอยู่ห่างไกลกัน

พฤษภกาสร        อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง  สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย    มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี   ประดับไว้ในโลกา

คำแปลของคำศัพท์ในบทประพันธ์ข้างต้น
พฤษภ แปลว่า โค, วัว กาสร แปลว่า กระบือ, ควาย กุญชร แปลว่า ช้าง
โท แปลว่า สอง ทนต์ แปลว่า ฟัน (โททนต์ จึงหมายถึง งาช้างทั้ง 2 กิ่งนั่นเอง)
เสน่ง แปลว่า เขาสัตว์ นรชาติ แปลว่า คน)

    ทั้งโคลงและคำประพันธ์ข้างต้น แปลได้ว่า
สัตว์ต่าง ๆ อาทิ วัว ความ หรือกระทั่งช้าง เมื่อตายไปแล้ว ก็ยังเหลือหนังหรืองาเอาไว้
ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ แต่มนุษย์ เมื่อเสียชีวิตไปแล้ว ร่างกายก็สูญสลายไปทั้งหมด ไม่เหลือสิ่งใดเอาไว้เลย
    นอกจากความดีและความชั่วที่ได้กระทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น


ที่มาจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=481776

ดินหญ้ากาช้ำ:

 อัญขยมบรมนเรศร์เรื้อง               รามวงศ์
พระผ่านแผ่นไผททรง                           สืบไท้
แสวงยิ่งสิ่งสดับองค์                              โอวาท
หวังประชาชนให้                                  อ่านแจ้งคำโคลง

พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี(รัชกาลที่๓)มีพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชนได้ความรู้จากโคลงโลกนิติเพื่อเป็นสุภาษิตสอนใจในการดำเนินชีวิต

ครรโลงโลกนิตินี้                           นมนาน
มีแต่โบราณกาล                                    เก่าพร้อง
เป็นสุภสิตสาร                                       สอนจิต
กลดั่งสร้อยสอดคล้อง                             เวี่ยไว้ในกรรณ

โคลงโลกนิติมีมาแต่โบราณแล้วเนื้อหาสาระในโคลงโลกนิติล้วนแล้วแต่เป็นสุภาษิตสอนใจและเป็นเครื่องประดับสติปัญญาของผู้ที่ได้ศึกษา

ปลาร้าพันห่อด้วย                                 ใบคา
ใบก็เหม็นคาวปลา                                    คละคลุ้ง
คือคนหมู่ไปหา                                        คบเพื่อน พาลนา
ได้แต่รายร้ายฟุ้ง                                      เฟื่องให้เสียพงศ์

ใบคาที่เอาไปห่อปลาร้านั้นจะมีกลิ่นเหม็นของปลาร้าไปด้วยเหมือนคบคนพาลก็จะมีแต่ความเดือดร้อนและเสื่อมเสียไปด้วย

ข้อคิดที่ได้ หากเราคบกับคนชั่วเราก็จะได้รับแต่ความทุกข์ และความเดือดร้อนอยู่ร่ำไป

ใบพ้อพันห่อหุ้ม                                 กฤษณา
หอมระรวยรสพา                                    เพริศด้วย
คือคนเสพเสน่หา                                  นักปราชญ์
ความสุขซาบฤๅม้วย                              ดุจไม้กลิ่นหอม

ใบพ้อที่นำไปห่อไม้กฤษณาก็จะมีกลิ่นหอมของไม้กฤษณาไปด้วย ซึ่งเปรียบเหมือนการที่เราคบกับคนดี เราก็จะได้รับความสุขตามไปด้วย

ข้อคิดที่ได้ จงเลือกคบกับคนดี เพราะจะไม่ทะให้เราต้องเดือดร้อนวุ่นวายใจ

ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้                                มีพรรณ
ภายนอกแดงดูฉัน                                    ชาดบ้าย
ภายในย่อมแมลงวัน                                 หนอนบ่อน
ดุจดั่งคนใจร้าย                                        นอกนั้นดูงาม

ผลมะเดื่อเมื่อสุกจะมีสีแดงที่สวยงามแต่ภายในจะมีแมลงวันมีหนอนอยู่ข้างในเปรียบเหมือนกับคนที่คนที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงามแต่จิตใจเลวทราม

ข้อคิดที่ได้ ไม่ควรเลือกคบคนเพียงดูแต่รูปร่างหน้าตาที่งดงามเพียงอย่างเดียว ควรดูที่นิสัยใจคอด้วย

ขนุนสุกสล้างแห่ง                                   สาขา
ภายนอกเห็นหนามหนา                                หนั่นแท้
ภายในย่อมรสา                                            เอมโอช
สาธุชนนั่นแล้                                               เลิศด้วยดวงใจ

ขนุนมีรูปร่างภายนอกที่ไม่งดงามเต็มไปด้วยหนามแต่จะมีเนื้อในที่หอมหวานอร่อยเปรียบเหมือนคนที่รูปร่างหน้าตาไม่สวยแต่มีจิตใจที่ดีงาม

คนที่รูปร่างหน้าตาไม่สวยงามก็อาจจะเป็นคนดีก็ได้ ดังนั้นจะเลือกคบใครควรดูกันไปนาน ๆ

คนพาลผู้บาปแท้                                     ทุรจิต
ไปสู่หาบัณฑิต                                               ค่ำเช้า
ฟังธรรมอยู่เนืองนิตย์                                     บ่ซาบ ใจนา
คือจวักตักข้าว                                               ห่อนรู้รสแกง

คนเลวถึงแม้จะคบหากับคนดีอย่างไรก็ไม่ได้รับคุณความดีติดตัวมาเลยเปรียบเหมือนจวักตักข้าวตักแกงแต่ไม่เคยรู้รสชาติของอาหารนั้น ๆ เลย

ข้อคิดที่ได้
คนเลวที่ไม่ยอมแก้ไขตัวเอง ถึงแม้จะคบกับคนดีอย่างไรก็ไม่สามารถปรับตัวให้เป็นคนดีได้

หมูเห็นสีหราชท้า                               ชวนรบ
กูสี่ตีนกูพบ                                               ท่านไซร้
อย่ากลัวท่านอย่าหลบ                                 หลีกจาก กูนา
ท่านสี่ตีนอย่าได้                                        วากเว้วางหนี

หมูพาลตัวหนึ่งเห็นราชสีห์เดินมา ก็ท้าให้มาสู้กัน แต่ราชสีห์ก็ไม่สนในที่จะต่อสู้ด้วย หมูจึงคิดว่าราชสีห์กลัว

ข้อคิดที่ได้ คนมีอำนาจ หรือคนที่มีศักดิ์ศรีจะไม่สนใจคนต่ำต้อยที่ไม่รู้จักประมาณตัว 

ที่มาจาก 

http://www.kpsw.ac.th/teacher/urai/page5.htm

http://clongklon.blogspot.com/2009/08/blog-post_5193.html

หมวด: ภาษาไทย | Views: 45328 | เพิ่มโดย: jatuporn | Tags: บทอาขยาน โคลงโลกนิติ | Rating: 0.0/0
คอมเม้นทั้งหมด: 2
avatar
0
2 ouinumnaktem • 13:01:20, 07 January 2021
smile
avatar
0
1 nacht0815665639 • 17:36:18, 09 December 2019
ขอบคุณครับ
smile
ComForm">
avatar