Thursday, 21 November 2024, 12:52:12
ยินดีต้อนรับ, Guest
หน้าหลัก » 2015 » February » 22 » 10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
15:03:43
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร

10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร   

   ไม่แปลกอะไรหรอกค่ะ กับการที่เราจะประหม่า หรือตื่นเต้น เวลาที่ต้องออกไปพูดต่อหน้าคนเยอะ ๆ แต่ถ้าเราไม่สามารถจัดการกับความตื่นเต้นนี้ได้ นั่นหละจะเป็นปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับสาวทำงานยุคใหม่ ที่ต้องมั่นอกมั่นใจ และพรีเซนท์ตัวอย่างอยู่เสมอ หากว่าคุณยังขาดความมั่นใจในเรื่องนี้ มาดูเทคนิคที่จะช่วยสร้างความมั่นใจกันค่ะ        

อย่างแรก คุณจะต้องเตรียมพร้อมเสมอ
ใน การที่จะออกไปพูด ถ้าหากรู้ตัวล่วงหน้าหลาย ๆ วัน คุณก็สามารถเตรียมได้ ทั้งรายละเอียด เนื้อหา เอกสารประกอบ สิ่งเหล่านี้ จะทำให้คุณนำเสนอเรื่องที่พูดได้อย่างน่าสนใจ นอกจากการเตรียมเอกสารแล้ว ต้องเตรียมสุขภาพด้วยนะคะ ระวังอย่าให้เป็นหวัด เพราะมันเป็นอุปสรรค์ต่อการพูดแบบมือโปรเป็นอย่างยิ่งค่ะ


วิเคราะห์กลุ่มผู้ฟัง
ต้อง รู้ว่าเราจะพูดให้ใครฟัง ผู้ฟังเขามีพื้นฐานความรู้มากน้อยแค่ไหน จะได้รู้ว่าจะใช้วิธีการพูดอย่างเหมาะสมอย่างไร เช่น พูดให้เด็กเล็ก ๆ ฟัง ก็ต้องใช้นิทานช่วย หรือจะไปพูดศัพท์วิชาการ ไทยคำอังกฤษคำให้คนความรู้น้อยฟัง ก็คงจะไม่เหมาะ


สร้างความคุ้นเคยกับสถานที่และอุปกรณ์
ควรจะไปถึงสถานที่ก่อนเวลา เพื่อจะได้สร้างความคุ้นเคยและหัดใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ จะได้ไม่ขลุกขลักระหว่างการพูด


สร้างความเป็นกันเองกับผู้ฟัง
จะ ทำให้ตัวเราลดความตื่นเต้นลงไปได้มาก โดยคุณอาจจะพูดจา ทักทายกับผู้ฟังก่อนที่จะขึ้นพูด จะทำให้เขารู้สึกเป็นกันเองกับเราด้วยเหมือนกัน


มีอารมณ์ขัน
ต้อง หาเรื่องขำขันติดตัวเอาไว้บ้าง เพื่อสร้างบรรยากาศและคลายเครียด เพราะในบางกรณีเรื่องที่เราพูดนั้น ยาว และเครียดเกินไป จะทำให้น่าเบื่อ แต่เรื่องขำขัน ต้องไม่ลามก นะคะ


สังเกตปฏิกริยาของผู้ฟัง
เวลา พูดให้กวาดสายตาไปอย่างทั่วถึง เป็นระยะ ๆ เพื่อดูว่าผู้ฟังเขาตั้งใจฟังอยู่หรือไม่ ดูว่าเขาพยักหน้าเข้าใจ หรือทำคิ้วขมวดด้วยความสงสัย หรือมีใครหลับไปแล้วบ้าง จะได้แก้ไขบรรยากาศ


อย่าท่องจำหรือใช้วิธีอ่านให้คนฟัง
เพราะ มันน่าเบื่อ คุณจะไม่สนใจใคร ไม่เปิดโอกาสให้ใครถาม เพราะกลัวว่าจะลืมสิ่งที่ท่องมา ทางที่ดี ควรซักซ้อม และทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่จะพูดทั้งหมด ให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่ต้องมาท่องหรืออ่านให้ใครฟัง


ลืมความผิดพลาดไปเสีย
หากว่า เกิดความผิดพลาดในระหว่างการพูด อย่านำมาวิตกกังวล และเครียดไปกับมัน ให้ลืมไปก่อน แล้วพูดต่อให้จบ เพราะหากกังวล จะทำให้เกิดความเสียหายมากกว่าที่คิด เมื่อพูดเสร็จแล้ว ค่อยมาทบทวนในสิ่งที่ทำพลาด และหาทางแก้ไขในโอกาสหน้า


อย่าแสดงอาการหรือคำพูดที่ดูหมิ่นคนฟัง
เพราะ คนพูดบางคนชอบคิดว่าตัวเองเก่ง รู้มาก และยิ่งใหญ่กว่าผู้ฟัง ทำให้แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมออกมา ซึ่งมันจะทำให้ผู้ฟังรับไม่ได้ ไม่ยอมรับนับถือในที่สุด


จินตนาการถึงความสำเร็จในการพูด
นึก ภาพเสมอว่า คุณพูดสำเร็จอย่างงดงาม ได้รับเสียงปรบมือ ได้รับคำชมเชย เพราะความคิดเหล่านี้ จะทำให้เกิดกำลังใจ และไม่วิตกกังวลมากจนเกินไป

----------------------------------------------------------------- 

บทความเพิ่มเติม

                      ศิลปะการพูดต่อที่ชุมชน

 

การพูดประกอบด้วยอะไรบ้าง

องค์ประกอบของการพูด

ผู้พูด

เนื้อหา ผู้ฟัง

ผู้พูด

ต้องรู้จักใช้ภาษา อากัปกริยา ท่าทาง และบุคลิกภาพของตน เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนทัศนคติของตน ไปสู่ผู้ฟังให้ดีที่สุด ให้เข้าใจง่าย ชัดเจน รวดเร็ว

เนื้อหา

ผู้พูดต้องรู้จักเลือกพูดในเรื่องที่ตนถนัด มีความเข้าใจ หัวข้อ เนื้อหา อย่างละเอียดลึกซึ้ง มีหลักเกณฑ์คือ คำนำ เนื้อเรื่องสรุป

ผู้ฟัง

ผู้พูดเป็นผู้กำหัวใจ ของผู้ฟังไว้ในมือผู้พูดควรจะได้เรียนรู้ว่าผู้ฟังของตนเป็นใคร อายุ เพศ อาชีพ ศาสนา ความเชื่อ ทัศนคติ หรือภูมิหลัง ตลอดจนสถานะทางสังคม

ผู้พูดที่ฉลาดต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟังของตนก่อนการพูดทุกครั้ง

เตรียมวิเคราะห์

• อายุ

• เพศ

• ศาสนา และความเชื่อ

• ฐานะและอาชีพ

• การศึกษา

• ความสนใจ

• สถานที่

• เวลา , โอกาส

ก่อนพูดต้องเตรียมอะไรบ้าง

เตรียมตัว

ภาษาและน้ำเสียง

ภาษาเป็นเครื่องสื่อความหมาย แสดงถึงรสนิยมที่ดีงามของผู้พูด ผู้พูดเก่ง พูดดีไม่จำเป็นต้องใช้ศัพท์แปลก ๆ ควรใช้ถ้อยคำที่มีความหมายชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษาไทยเข้าใจง่าย

น้ำเสียงจะบ่งบอกถึงความสุภาพ หรือความไม่สุภาพถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้พูดได้เป็นอย่างดี น้ำเสียงที่ดี ควรแจ่มใสนุ่มนวลชวนฟัง การใส่คำว่า นะคะ ครับ นะครับ ท้ายประโยคการพูด เป็นการแสดงถึงความเคารพ ให้เกียรติ แต่อย่าใช้มาก

ท่าทางและใบหน้า

การแสดงออกทางสีหน้าเป็นสื่อที่ทำให้ ผู้ฟังรับรู้ และเข้าใจความรู้สึก และอารมณ์ของผู้พูด รวมถึงการใช้มือ ท่าทางประกอบการพูดได้อย่างแนบเนียนเป็นธรรมชาติสอดคล้องเหมาสะมกับเนื้อหา ที่จะพูด จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายได้อย่างชัดเจน

บุคลิกภาพและความมั่นใจ

การเลือกแต่งกาย ให้เหมาะสมกับบุคลิกโดยยึดหลักเหมาะสม สุภาพและเรียบร้อยย่อมแสดง

ออกถึงนิสัยใจคอ และรสนิยมของผู้พูด ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้พูด

สายตา

สายตาเป็นสื่อที่บอกให้ผู้ฟังรู้ว่า ผู้พูดสนใจมากน้อยแค่ไหน สบตาผู้ฟังบ้างเป็นครั้งคราว ไม่ถึงขนาดมองจ้องตลอดเวลา จะกลายเป็นเสียมารยาท

เดินและยืน

อย่าปล่อยตัวตามสบายจนเกินงาม เมื่ออยู่ต่อหน้าชุมชน แต่ไม่ถึงขนาดเกร็งจนเครียดหรือแข็งทื่อเหมือนหุ่นยนต์ ยืนให้สง่างาม หลังไม่โกง หน้าอกไม่ยื่นจนน่าเกลียด ไม่กระมิดกระเมี้ยนเหนียมอายจนน่าหมั่นไส้

                      ทางรวบรัดสู่การเป็นนักพูด

จงเตรียมเรื่องที่เรารู้ดีที่สุด

จงเตรียมตัวมาให้พร้อม

จงสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง

จงแต่งกายสะอาดเหมาะสมเรียบร้อย

จงปรากฏกายอย่างกระตือรือร้น

จงใช้กิริยาท่าทางประกอบคำพูด

จงสบสายตากับผู้ฟัง

จงใช้น้ำเสียงให้เป็นธรรมชาติ

จงใช้ภาษาของผู้ฟัง

จงยกตัวอย่างหรือแทรกอารมณ์ขัน

ผู้นำยุคใหม่ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพูด ไม่ว่าจะเป็นระหว่างบุคคลหรือสาธารณชน

                  กำหนดจุดมุ่งหมายของการพูดให้แน่ชัด

                   (SET - UP OBJECTIVE)

                   จุดมุ่งหมายโดยทั่วไปมี ๕ ประการ

• เพื่อเร้าใจ (TO STIMULATE)

• เพื่อโน้มน้าว (TO CONVINCE)

• เพื่อเร่งรัด (TO ACTULATE)

• เพื่อบอกเล่า (TO INFORM)

• เพื่อบันเทิง (TO ENTERTAIN)

                      ขั้นตอนในการดำเนินเรื่อง

บันได 5 ขั้น ร่วมกระทำ ACTION

เห็นภาพ VISUALIZATION

พอใจ SATISFACTION

ต้องการ NEED

สนใจ ATTENTION

 

ขั้นที่ 1 ดึงความสนใจของผู้ฟังทันที

ขั้นที่ 2 ทำให้ผู้ฟังเกิดความต้องการจะฟัง

ขั้นที่ 3 ทำให้ผู้ฟังเกิดความพอใจ

ขั้นที่ 4 ยกตัวอย่างข้อเท็จจริงให้ เห็นภาพ

ขั้นที่ 5 เรียกร้องให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

ปัจจัยที่เป็นส่วนประกอบ เพื่อช่วยสนับสนุน คำพูดของท่านเป็นปิยะวาจา อยู่หลายประการ

จริงใจ ท่านต้องมั่นใจว่าคำพูดทุกคำของท่านออกมาจากความจริงใจ

ไร้อารมณ์ ท่านต้องตัดอารมณ์โกรธ โมโห สงบสติพิจารณาเหตุผล

ชมก่อน การเริ่มต้นด้วยการชมจะช่วยลดแรงกระทบให้น้อยลง

ค่อยตำหนิ เมื่อท่านเปิดหัวใจเขาได้ เขาก็พร้อมที่จะฟังคำตำหนิจากท่านแต่ไม่ใช่ประเภทขวานผ่าซาก

พิศดู ขณะที่ท่านกำลังพูดอยู่กับเขาปฏิกิริยาของเขาเป็นอย่างไร

ปูทาง ค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ จา การพูดแล้วทำให้คนฟังทำตามที่เราต้องการถือว่าเป็นสุดยอดของคำพูด

สร้างสัมพันธ์ ก่อสร้างสัมพันธ์ขึ้นมาก่อนเมื่อเริ่มต้นด้วยดีสิ่งดีก็จะตามมา

รายการตรวจสอบการเตรียมนำเสนอ

เตรียมเนื้อหาพร้อมพอเหมาะกับเวลา

ภาษาเข้าใจง่าย

อุปกรณ์ครบและชัดเจน

จัดเรียงเรื่องเป็นลำดับขั้นตอน

เตรียมคำพูดขึ้นต้นและสรุป

ฝึกซ้อมการนำเสนอผลงาน

มีคนช่วยวิจารณ์ เสนอข้อแก้ไข

ตัดทอนการพูดให้อยู่ในเวลาที่กำหนด

ฝึกการพูดให้กระชับ

เตรียมการตอบคำถามไว้ให้พร้อม

หมวด: ศิลปะการพูด | Views: 2430 | เพิ่มโดย: i-Tuinui | Tags: 10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร | Rating: 0.0/0
คอมเม้นทั้งหมด: 0
ComForm">
avatar