Thursday, 21 November 2024, 19:56:08
ยินดีต้อนรับ, Guest
หน้าหลัก » 2013 » March » 1 » ประวัติความเป็นมาของศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล
10:25:43
ประวัติความเป็นมาของศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล

ประวัติความเป็นมาของศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล


๑. แต่เดิม กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้สัมปทานเอกชนดำเนินการเก็บไข่เต่าทะเล ตาม
ชายหาดและเกาะต่าง ๆ
๒. พ.ศ.๒๔๙๓ กองทัพเรือ ได้ออกประกาศตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเขตปลอดภัยทางราชการ และให้สงวน บริเวณสถานีทหารเรือสัตหีบบางส่วน ไว้เป็นเขตปลอดภัยยังนั้นกรมประมงได้มอบการเก็บไข่เต่าทะเล ในบริเวณเขตปลอดภัย ให้กองทัพเรือเป็นผู้ดำเนินการ กองทัพเรือ จึงได้ดำเนินการอนุรักษ์ พันธุ์เต่าทะเล ดังนี้

๒.๑ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๓ กองทัพเรือ มอบหมายให้ กรมอุทกศาสตร์เป็นหน่วยแรกที่ดำเนินการ ๒.๒ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๐๑ กรมอุทกศาสตร์ จึงได้โอนให้ สถานีทหารเรือสัตหีบ เป็นผู้ดำเนินการ
แต่ เนื่องจากผู้บัญชาการสถานีทหารเรือสัตหีบ ในขณะนั้น ได้แก่ พล.ร.ต.อนันต์ เนตรโรจน์ ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการกองการฝึก กองเรือยุทธการ อีกตำแหน่งหนึ่ง จึงได้ลงคำสั่งให้ กองการฝึก กองเรือยุทธการ
เป็นผู้ดำเนินการ

๒.๓ พ.ศ. ๒๕๒๒ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้กรมประมงจัดตั้ง "โครงการสมเด็จอนุรักษ์พันธุ์เต่า ทะเล" ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะมันใน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง สถานีอนุรักษ์เต่าทะเลของกรมประมงแห่งนี้ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ จำนวน ๒ นาย มาร่วมดำเนินการเพาะฟักและเพาะเลี้ยงพันธุ์เต่าทะเล ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือ และกองทัพเรือได้ให้การสนับสนุน โครงการ สมเด็จอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ด้วยการส่งลูกเต่าทะเลปีละ ๔,๐๐๐ ตัว (ลูกเต่าตนุ ๓,๐๐๐ ตัว และลูกเต่ากระ ๑,๐๐๐ ตัว ) ไปให้สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลของกรมประมง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ กองทัพเรือได้ส่งพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เต่าทะเล จำนวน ๙ ตัว ให้สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เกาะมันใน ไปเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ด้วย


๒.๔ พ.ศ.๒๕๓๒ กองทัพเรือได้อนุมัติให้ ฐานทัพเรือสัตหีบโดย กรมต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง รับผิดชอบการดูแลเกาะครามแทน กองการฝึกกองเรือยุทธการ
๒.๕ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๕ กองทัพเรือได้มุ่งเน้นและขยายผลการดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อม ทางทะเลและชายฝั่งให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งกอง ทัพเรือขึ้น มี รองผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่งมอบหมายให้มีหน้าที่สำคัญคือ กำหนดเป้าหมาย นโยบาย รวมทั้งอำนวยการประสานงานและกำกับดูแลการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมใน ทะเล และชายฝั่ง ทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามันให้ เกิด ผลดีมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคำสั่ง นโยบายใน การอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของกองทัพเรือ ได้กำหนดให้ งานอนุรักษ์ พันธุ์เต่าทะเลอยู่ในความรับผิดชอบของ คณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ทะเล โดยมี หน่วยบัญชาการ ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็นหน่วยปฏิบัติ


๒.๖ เมื่อ ๑๗ ต.ค.๔๔ กองทัพเรือ ได้ยกเลิกคณะกรรมการอนุรักษ์ต่าง ๆ และได้จัดงานการอนุรักษ์ทั้งหมดที่กองทัพเรือเกี่ยวข้อง เข้าไว้เป็นสายงานปกติของกองทัพเรือ โดยมีกรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เป็นฝ่ายอำนวยการ สำหรับงานด้านการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลโดยตรงนั้น มีหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็นหน่วยดำเนินการ ทั้งนี้เป็นไปตามการปฏิบัติของ ทร. ตามแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทาง ทะเล ภายใต้นโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ ๒๒ มิ.ย.๔๔ ในเรื่องนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ที่กำหนดให้ กองทัพเรือเป็นหน่วยปฏิบัติหน่วยหนึ่งของรัฐ


๒.๗ พ.ศ.๒๕๓๗ กองทัพเรือ ได้ยกเลิกการจำหน่ายไข่เต่าทะเล ซึ่งเคยจำหน่ายบางส่วนทีี่เหลือจากการนำมาเพาะฟักดำเนินการเพาะฟักทั้ง หมด ๒.๘ พ.ศ.๒๕๓๘ กองทัพเรือได้ขยายการอนุรักษ์เต่าทะเล ไปยังด้านฝั่งทะเลอันดามัน โดยให้อยู่ในความรับ ผิดชอบของ กองเรือภาคที่ ๓ กองเรือยุทธการ มีศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลอยู่ที่ ชายหาดสนงาม แหลมปอ ฐานทัพเรือพังงา อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา



กล่าวทั่วไป 
เต่า ทะเลเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ ที่เคยมีหลักฐานพบว่าอาศัยอยู่ทั่วไปมากว่า ๑๓๐ ล้านปี นอกจากนั้นยังมีหลักฐานว่าเคยพบซากโบราณ (Fossil) ก่อนหน้านั้นไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ล้านปี การแพร่กระจาย ของเต่า
ทะเล พบเฉพาะในเขตร้อนและเขตอบอุ่น เต่าทะเลทั่วโลกที่พบมีอยู่ ๘ ชนิดคือ เต่ามะเฟือง ( Dermochelys -coriacea ) , เต่ากระ ( Erethmochelys imbricata ) , เต่าตนุ ( Chelonia mydas ) , เต่าตนุหลังแบน ( Chelonia - depressa ) , เต่าหัวค้อน( Caretta Caretta ) , เต่าหญ้า ( Lepidochelys olivacea ) และ เต่าหญ้า แอตแลนติก ( Lepidochelys kempii ) และเต่าดำ ( Chelonia agassizii )



ประเทศ ไทย มี ๕ ชนิดที่พบ คือ เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า เต่าหัวค้อนและเต่ามะเฟืองเต่าหัวค้อนไม่เคย พบขึ้น วางไข่ในประเทศไทยตลอดระยะเวลา ๓๐ ปีที่ ผ่านมา



เพียง แต่มีรายงานพบหากินอยู่ในน่านน้ำไทยในอดีตที่ผ่านมาเต่าทะเลถูกล่าจับไปเป็น จำนวนมากโดยเนื้อ และไข่ถูกนำไปเป็น อาหาร กระดองนำไปเป็น เครื่องประดับและเครื่องตบแต่ง , หนังถูกนำไปเป็นผลิตภัณฑ์ จำพวกเครื่องหนังต่างๆ นอกจากนั้นไขมันของ เต่าทะเลยังสามารถนำไปสกัดใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ หรือ น้ำหอมที่มีราคาอีกด้วย



เต่า ทะเลในน่านน้ำไทยที่เคยพบและรายงานไว้มีทั้งหมด ๕ ชนิด จัดเป็น ๒ วงศ์ (Family) วิธีการจำแนกชนิดของเต่าทะเล ใช้ลักษณะกระดอง จำนวนเกล็ดบนกระดองละจำนวนเกล็ดระหว่างจะ งอยปากกับตา




๑.วงศ์ CHELONIIDAE



เต่ากระ Hawksbill Turtle ( Eretmochelys imbricate ) 
ลักษณะ เด่น : จะงอยปากค่อนข้างแหลมงุ้มคล้ายปากเหยี่ยว เกล็ดบนส่วน หัวตอน หน้า มี ๒ คู่ เกล็ดบนกระดองแถวข้างมี จำนวน ๔ เกล็ดลักษณะเด่น ชัด คือเกล็ดบน กระดอง มีลวดลายริ้วสีสวยงาม และลักษณะของเกล็ดซ้อน กันเห็นได้ชัด ลักษณะค่อน ข้างคล้ายเต่าตนุ
ขนาด : โตเต็มที่ยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตรน้ำหนักประมาณ๑๒๐กิโลกรัม ขนาดโต ถึงขั้นแพร่พันธุ์ได้ประมาณ ๗๐ เซนติเมตร
อาหาร : เต่ากระอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง โดยเฉพาะเมื่อขนาดเล็ก จะอาศัย ตามชาย หาดน้ำตื้น กินสัตว์จำพวกฟองน้ำ หอย และ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร
แหล่งที่พบ : แหล่งวางไข่เต่ากระในอ่าวไทย พบที่ เกาะคราม จ.ชลบุรี และพบกระจัด กระจายตามหมู่เกาะต่าง ๆ ทางทะเลอันดามันรวมทั้งแนว หาดทราย จ.พังงา และ จ.ภูเก็ต



เต่าหญ้า Olive Ridley Turtle ( Lepodochelys olivacea ) 
ลักษณะ เด่น : กระดองเรียบ สีเทาอมเขียว สีสันของกระดองไม่สวยงามเท่า เต่ากระ และเต่าตนุ ส่วนหัวค่อนข้างโต จะงอยปากมนกว่าเต่าตนุที่ แตกต่างกันชัดเจน คือ เกล็ดบน ส่วนหัวตอนหน้า มีจำนวน ๒ คู่ และเกล็ดบนกระดอง แถว ข้างมีจำนวน ๖ - ๘ แผ่นในขณะที่เต่าตนุและเต่ากระมีเพียง ๕ แผ่นและ ลักษณะ พิเศษของเต่าหญ้า คือกระดอง ส่วนท้องแถวกลาง ( Inframarginal Scale ) มีรูสำหรับขับถ่ายหรือรูเปิดสำหรับ ประสาท รับความรู้สึก (ยังไม่ทราบระบบการทำงานที่ชัดเจน) จำนวน ๕ คู่ 
ขนาด : เต่าหญ้าเป็นเต่าทะเลที่มีขนาดเล็กที่สุดในจำพวกเต่าทะเล ขนาดโตเต็มที่ ประมาณ ๗๕ – ๘๐ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๘๐ กิโลกรัม ขนาดโตเต็มที่สามารถแพร่พันธุ์ได้ความยาวกระดองประมาณ ๖๐ เซนติเมตร
อาหาร : เต่าหญ้ากินพวก หอย ปู ปลา และกุ้งเป็นอาหาร จึงอาศัยอยู่ชายฝั่ง ทะเล ทั่วไป มีจะงอยปากใหญ่คมและแข็งแรงสำหรับกัดหอยที่มี เปลือก เป็นอาหาร
แหล่ง วางไข่ : พบมากทางฝั่งทะเลอันดามัน ตามหาดทรายฝั่งตะวันตกของ จ.ภูเก็ต พังงาและหมู่เกาะในทะเลอันดามันไม่พบเต่าหญ้าขึ้นวางไข่ฝั่ง อ่าวไทย



เต่าหัวค้อน Loggerhead Sea Turtle ( Caretta caretta ) 
ลักษณะ เด่น : ลักษณะเด่นทั่วๆ ไปคล้ายเต่าหญ้าและเต่าตนุมากต่างกันที่เกล็ดบน ส่วนหัวตอนหน้ามี จำนวน ๒ คู่ เท่ากับเต่าหญ้าแต่เกล็ดบนกระดอง หลังแถวข้างมีจำนวน ๕ แผ่นซึ่งต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่นๆละรูปทรงของ กระดองจะเรียวเล็กลงมาทางส่วนท้าย
อาหาร : กินอาหารจำพวก หอย หอยฝาเดียว และปู เป็นอาหาร
แหล่ง วางไข่ : ปัจจุบันไม่มีรายงานการพบเต่าหัวค้อนขึ้นวางไข่ ในแหล่ง วางไข่ ทะเลของไทยอีกเลยตลอดระยะเวลา ๒๐ ปีที่ผ่านมาซึ่งเข้าใจว่าคงจะสูญพันธุ์ไปจากน่าน น้ำไทยแล้ว



เต่าตนุ Green Sea Turtle ( Chelonia mydas ) 
ลักษณะ เด่น : เกล็ด บนส่วนหัวตอนหน้า (Prefrontal Scale) มีจำนวน ๑ คู่ เกล็ดบนกระดองแถวข้าง (Costal Scale) จำนวน ๔ เกล็ด ลักษณะขอบของเกล็ดจะเชื่อมต่อกันไม่ซ้อน สีสันและลวดลายสวยงามมีกระดองสีน้ำ ตาลอมเหลือง มีลายริ้วสีจางกว่ากระจายจากส่วนกลางเกล็ด มีชื่ออีกอย่าง หนึ่งว่า เต่าแสงอาทิตย์
ขนาด : โตเต็มที่กระดอง ประมาณ ๑๕๐ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๒๐๐ กิโลกรัม ขนาดโตถึงแพร่พันธุ์ ความยาวประมาณ๘๐ เซนติเมตร
อาหาร : เต่าตนุเป็นเต่าชนิดเดียวที่กินพืชเป็นอาหาร เมื่อพ้นวัยอ่อนแล้ว อาหารหลัก ได้แก่ พวกหญ้าทะเล และสาหร่ายชนิดต่างๆ เต่าตนุในวัยอ่อน จะกิน ทั้งพืชและเนื้อสัตว์ เป็นอาหาร
แหล่งที่พบ : แหล่งวางไข่เต่าตนุในอ่าวไทย พบที่เกาะคราม จ.ชลบุรี และ พบประปรายทางฝั่งอันดามัน ทางชายทะเลตะวันตกของจ.พังงาและจ.ภูเก็ตรวมทั้งบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน



๒.วงศ์ DERMOCHELYIDE
เต่า มะเฟือง Leatherback Sea Turtle ( Dermochelys coriacea ) ลักษณะ เด่น : เต่ามะเฟืองแตกต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่นอย่างชัดเจนมีีขนาดใหญ่นอกจากนั้น กระดองไม่เป็นเกล็ด มีลักษณะ เป็นแผ่นหนังหนา มีสีดำ อาจมีสีขาวแต้มประทั่วตัวระดองเป็นสันนูนตามแนวความยาว จากส่วน หัวถึงส่วนท้าย จำนวน ๗ สันไม่มีเกล็ดปกคลุมส่วนหัวจะงอยปากบนมีลักษณะ เป็นหยัก ๓ หยัก 
ขนาด : ขนาดโตเต็มที่มีความยาวกระดอง ประมาณ ๒๕๐ ซม. น้ำหนักกว่า ๑,๐๐๐ กก. ขนาดที่พบขึ้นมาวางไข่ไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ ซม.
อาหาร : เต่ามะเฟืองอาศัยอยู่ในทะเลเปิดกินอาหารจำพวกพืชและสัตว์ ที่ ล่องลอย ตาม น้ำโดยอาหารหลักได้แก่ แมงกะพรุน
แหล่งวางไข่ : เต่ามะเฟืองปัจจุบันมีจำนวนน้อยมากพบขึ้นวางไข่บ้างบริเวณ
ทราย ฝั่งอันดามัน จ.พังงา ภูเก็ต หมู่เกาะต่าง ๆ ปัจจุบันไม่พบเต่ามะเฟือง ขึ้นวาง ไข่ในอ่าวไทย



การดำเนินงาน
- ให้เป็นแหล่งอนุบาลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถดำเนินการปล่อยเต่า ทะเล ที่ได้ทำการอนุบาลให้กลับคืนสู่ท้องทะเล รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาวิจัยข้อมูลในการอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลที่ดีต่อไป
- ให้เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการ อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลซึ่งจะเป็นผลในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลต่อ เนื่องกันในด้านต่างๆ ตามมา



ขอบเขตความรับผิดชอบ
เป็นศูนย์คุ้มครองแหล่งวางไข่ของเต่าทะเล เป็นแหล่งอนุบาลเต่าทะเลและให้ความรู้ในเรื่องเต่าทะเล



การ เยี่ยมชมศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ซึ่ง อยู่ในความรับผิดชอบของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ในอดีตการดำเนินงานด้านอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลของกองทัพเรือมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 และได้ดำเนินงานเฉพาะเรื่องการเพาะไข่เต่า รวมถึงการอนุบาลลูกเต่าทะเลเพื่อ ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติที่บริเวณ เกาะคราม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี วันที่ 17 ตุลาคม 2544 กองทัพเรือ ได้ยกเลิกคณะอนุกรรมการอนุรักษ์ต่างๆ ในงานด้านการอนุรักษ์ทั้งหมด



กองทัพเรือเกี่ยวข้องเป็นสายงานปกติ โดยมี กรมกิจการพลเรือน ตั้งเป็นหน่วยงานอำนวยการ
ในด้านการอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลนี้โดยตรง มีหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็นผู้ดำเนิน
การปฎิบัติตามแผนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเลภายใต้นโยบาย
การรักษาความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ที่กำหนดให้กองทัพเรือเป็นหน่วยปฎิบัติโดย ได้จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์
พันธ์เต่าทะเล ตั้งอยู่ในหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่ใกล้กับศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ และอาคารรับรอง บริการอาหาร - เครื่องดื่ม คาราโอเกะ ที่จอดรถกว้างขวาง พร้อมบรรยากาศชายทะเลร่มรื่นยามอาทิตย์อัสดง จำหน่ายอาหาร - เครื่องดื่มราคาย่อมเยาด้วยบริการที่เป็นกันเอง มีโต๊ะรับประทานอาหารบริเวณชายทะเลและซุ้มดอกเห็ดรวม ๓๐ โต๊ะ เปิดบริการตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. ถึง ๒๒.๐๐ น. ทุกวัน




ท่านที่สนใจสามารถคลิ๊กเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ที่

www.navy.mi.th/turtles 

ติดต่อสอบถาม 038 - 437600 ต่อ 79335 หรือ 79335 ในวันและเวลาราชการ 
เปิดให้เยี่ยมชมตั้งแต่เวลา 8.30 น. - 16.30 น. ทุกวัน (ไม่เว้
จ่าเอก ปริญญา วิลาพันธ์ 
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ จ่าเอก บุญฤทธิ์ รัตนทวีเขต เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ

แผนที่



หมวด: แหล่งเรียนรู้(ทัศนศึกษา) | Views: 1851 | เพิ่มโดย: jatuporn | Tags: ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล | Rating: 0.0/0
คอมเม้นทั้งหมด: 0
ComForm">
avatar