13:58:59 วิตามิน C และ E มีผลต่อผิวพรรณอย่างไร |
"Vitamin C and E"
Vitamin C
วิตามินซี หรือกรดแอสคอร์บิก เป็นวิตามินชนิดละลายในน้ำ หน้าที่สำคัญคือเป็นสารจับออกซิเจนชนิดละลายน้ำ และเป็นสารเก็บกวาดอนุมูลอิสระ
นอกจากนี้ วิตามินซียังเป็นสารจำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ไฮดรอกซีโพรลีน และไฮดรอกซีไลซีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของคอลลาเจน และยังช่วยเร่งให้ต่อมหมวกไตผลิตคอร์ทิโซนและฮอร์โมนชนิดอื่นที่ทำหน้าที่ลดความเคลียดอีกด้วย
วิตามิน C ช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้น เนื่องจาก วิตามินซี ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมและรักษาตัวเอง โดยการไปเสริมสร้างผนังเซลล์ ทำให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง และต่อต้านอาการอักเสบ จึงทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น ในทางกลับกันการขาด วิตามินซี ก็สงผลให้แผลหายได้ช้าลง เช่นกัน
ช่วยเรื่องความจำ โดย วิตามินซี จะไปช่วยรักษาสภาพของเซลประสาท และจะได้ผลดียิ่งขึ้น หากรับประทานร่วมกับอาหารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน กิงโกะไบโลบ้า และโคเอนไซม์ Q10
แหล่งวิตามิน C จากอาหารวิตามินซีพบมากในผลไม้ มันฝรั่ง และผักสีเขียว มีอยุ่เล็กน้อยในเนื้อสัตว์ ธัญญาหาร เมล็ดพืช แหล่งวิตามินซีที่ดีที่สุดกลับไม่ใช่ผลไม้ตระกูลส้ม แต่เป็นโรสฮิพส์ บรอกโคลี กะหลำปมและพริกหวาน ผลไม้ไทยที่มีวิตามินซีสูงสุด คือมะขามป้อม
Vitamin E
วิตามินอี ที่เรามักได้ยินกิตติศัพท์ร่ำลือในด้านการป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่ชรา ดังนั้นนอกจากในอาหารแล้ว ยังพบว่ามีการสกัดวิตามินอีมาผสมในเครื่องสำอางหลายชนิด วิตามินอี หรือ โทโคเฟอรอล (tocopherol) เป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับเป็นประจำทุกวัน มีลักษณะเป็นน้ำมันสีเหลือง และละลายได้ดีในไขมัน เช่นเดียวกับวิตามินเอ วิตามินดี และวิตามินเค วิตามินอี มีหลายชนิด ได้แก่ แอลฟา เบตา แกมมา และซิกมา โทโคเฟอรอล โดยชนิดที่ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด คือ แอลฟาโทโคเฟอรอล (alpha-tocopherol)
ประโยชน์ของวิตามิน E ต่อร่างกายเนื่องจากผนังของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายมีไขมันที่ไม่อิ่มตัวเป็นโครงสร้างหลัก โครงสร้างที่ว่านี้จะถูก ทำลายได้ง่ายด้วยกระบวนการออกซิเดชัน (oxidation) และส่งผลให้เกิดสารอนุมูลอิสระ (free radicals) ชนิดต่างๆ ตามมา ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างภายในเซลล์ที่สัมผัสกับสารอนุมูลอิสระ วิตามินอี เป็นสารต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันและอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ (potent antioxidant) ซึ่งมีผลในการป้องกันการทำลายเซลล์ หรือลดความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระได้ นอกจากนี้ยังมีผลช่วยปกป้องการเสื่อมสลายของเยื่อหุ้มเซลล์ (stabilize) ที่บุอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวหนัง ตา ตับ เต้านม หลอดเลือด และเม็ดเลือดแดง ทำให้อวัยวะดังกล่าวทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความคงทนมากขึ้นด้วย
วิตามินอีกับผิวพรรณสถาบันโรคผิวหนังหลายแห่งมีการวิจัยพบว่า วิตามินอีช่วยป้องกันผิวจากการไหม้เกรียม ริ้วรอยเหี่ยวย่นและรอยแผลได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานหรือการทาที่ผิวหนังโดยตรง เนื่องจากการเกิดแผลหรือการอักเสบบนผิวหนัง หรือการถูกแสงแดดเผาไหม้จะทำให้เกิดการสะสมของอนุมูลอิสระขึ้น วิตามินอีจะทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำที่ดูดซับสารอนุมูลอิสระก่อนที่จะทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ เสียหาย จึงช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของผนังเซลล์ทำให้เซลล์ผิวแข็งแรงขึ้น และช่วยให้ทนต่อรังสี UV ในแสงแดดได้ดีขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตเครื่องสำอางจึงนิยมนำวิตามินอีมาใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์
"วิตามินอี" สารอาหารที่ช่วยชะลอความแก่สารอนุมูลอิสระจะมีผลทำให้เซลล์เกิดความเสียหายและตายได้ในที่สุด ซึ่งนอกจากจะเป็นสาเหตุทำให้ ร่างกายอ่อนแอและแก่เร็วกว่าปกติแล้ว หากเกิดที่สมองก็จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคเรื้อรังทางสมองต่างๆ เช่น โรคสมองเสื่อม (Alzheimer’s disease) โรคพาร์คินสัน (Parkinson’s disease) เป็นต้น จากการศึกษาทางคลินิกพบว่าผู้ที่รับประทานวิตามินอี 1,300 IU ต่อวันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปีจะช่วยชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อมจากการอุดตันของเส้นเลือดในสมองได้
อาหารที่เป็นแหล่งของวิตามิน Eแหล่งอาหารที่มีวิตามินอีอยู่ในปริมาณสูง ได้แก่ นม ไข่ ถั่ว ปลา เนื้อสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ น้ำมันพืชต่างๆ ผักที่กินใบ เช่น ผักกาดหอม ผักโขม เป็นต้น ถึงแม้ว่าวิตามินอีจะค่อนข้างทนต่อความร้อนและไม่ละลายในน้ำก็ตาม แต่การประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนสูงๆ เช่น การทอด รวมทั้งการเหม็นหืนของน้ำมันก็อาจทำให้วิตามินอีสูญเสีย สภาพไปได้
ขอบคุณเนื้อหาดีๆ และรูปภาพ จาก www.108health.com |
|
คอมเม้นทั้งหมด: 0 | |