MOU คืออะไร
MoU ย่อมาจาก Memorandum of Understanding แปลเป็นภาษาไทยว่า "บันทึกความเข้าใจ" เป็นเอกสารที่บันทึกข้อตกลงและความเข้าใจร่วมกันระหว่างบริษัท องค์กร สถาบัน รัฐบาล และประเทศ ตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ว่าที่ได้มีการเจรจาพูดคุยกันไปแล้วนั้น เข้าใจตรงกันหรือไม่และตกลงกันตามที่เขียนไว้หรือไม่ เมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันและยินยอมตกลงร่วมกันแล้วจึงลงนามรับรอง และเก็บไว้เป็นหลักฐานกันฝ่ายละฉบับ
"MoU ไม่ใช่หนังสือสัญญา ที่มีผลทางกฎหมายโดยตรง" เพราะมันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในกรณีที่ว่า ระเบียบ กฎหมาย หรือรัฐธรรมนูญไม่สามารถรับรองการกระทำได้ หรือ ในขณะนั้นยังไม่ได้ออกระเบียบ กฎหมาย หรือรัฐธรรมนูญ ออกมาเพื่อกรณีนั้นๆ หรือ การเจรจาเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องให้ความรอบครอบและต้องการแก้ไขรายละเอียดจนกว่าจะพอใจทั้งสองฝ่าย จึงต้องมีการทำ บันทึกความเข้าใจ หรือ MOU
เพิ่มเติม สำหรับการทำ MoU ในระดับประเทศนั้นมีข้อได้เปรียบกว่าการทำสนธิสัญญาคือ 1. โดยสากลรัฐบาลไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนก่อนก็สามารถทำ MoU ได้เลย 2. บางกรณีที่กฎหมายสากลระหว่างประเทศนั้นไม่รองรับหรือมีผลบังคับใช้ก็สามารถใส่ข้อตกลงเข้าไปใน MoU ได้เพื่อให้มีผลเมื่อเป็นหลักฐานในศาลระหว่างประเทศ 3. MoU สามารถแก้ไขใหม่ได้เมื่อต้องการ และบางกรณีสามารถนำเอาสนธิสัญญามาดัดแปลงลงใน MoU ได้ด้วย ตัวอย่าง ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม - นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิด เผยว่าได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาระหว่าง รมว.ศธ.ของไทยกับ H.E. Prof. Dr.Muhammad Nuh รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔ ณ The Empire Hotel and Country ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม
รม ว.ศธ.กล่าวว่า บันทึกความเข้าใจฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษา ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย โดยคู่ภาคีจะส่งเสริมความร่วมมือในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑.การ แลกเปลี่ยนข้อสนเทศและสื่อสิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและเทคนิค และอุดมศึกษา ผ่านการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ๒.การแลกเปลี่ยนครู บุคลากรและนักเรียน ๓.การ แลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและเทคนิค และอุดมศึกษา ผ่านการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ๔.การพัฒนาโรงเรียน มหาวิทยาลัย/โพลีเทคนิคร่วมกัน เช่น ระบบโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง โครงการร่วมกิจกรรมร่วมของนักเรียน ๕.การรับรองวุฒิการศึกษาร่วมกันโดยสถาบันการศึกษาของไทยและอินโดนีเซีย ตามกฎหมายและระเบียบของคู่ภาคี ๖.การพัฒนาความเป็นวิชาชีพของครู ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากร ๗.จัดสรรทุนการศึกษาให้กับนักเรียนของคู่ภาคี หากมีงบประมาณ ๘.การวิจัยร่วมและการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์นานานชาติ ๙.ส่งเสริมการสอนภาษาของคู่ภาคี ๑๐.อำนวยความสะดวกโครงการฝึกงานสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษาและเทคนิค ในระดับประถมและมัธยม ๑๑.ความร่วมมืออื่น ๆ ที่จะตกลงร่วมกันโดยคู่ภาคี
รม ว.ศธ. กล่าวสรุปว่า คู่ภาคีจะจัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดตามและทบทวนการ ดำเนินงานบันทึกความเข้าใจฉบับนี้อย่างสม่ำเสมอและนำเสนอรายงานต่อผู้บริหาร คณะทำงานร่วมจะมีกระทรวง ศึกษาธิการของไทยและอินโดนีเซียเป็นประธานร่วม โดยมีหน่วยงานอื่นๆ เข้าร่วมตามความเหมาะสม และจะประชุมอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้งที่ประเทศไทยหรืออินโดนีเซีย ในบางสถานการณ์ที่ไม่สามารถจัดการประชุมได้จะมีการแลกเปลี่ยนเอกสารกันแทน การประชุม ภาคีแต่ละฝ่ายจะคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของภาคีอีกฝ่ายในดินแดนของตนตาม กฎหมายภายในที่ใช้บังคับของประเทศตน ในกรณีที่ข้อตกลงโครงการ หรือโครงงานบางอย่างอาจก่อให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญา คู่ภาคีจะจัดทำข้อตกลงแยกตามระเบียบของตน
โดย บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ จะมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา ๓ ปี และอาจต่ออายุออกไปอีกในระยะเวลาเดียวกัน โดยมีการยินยอมร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษรของคู่ภาคีผ่านช่องทางการทูต เว้นแต่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงเจตนาที่จะสิ้นสุด บันทึกความเข้าใจฉบับนี้เป็นเวลา ๖ เดือนล่วงหน้า ที่มา http://www.sobdai.com/news-by-pornchai/514--mou.html
|