20:46:12 วิธีการดำเนินการวางแผน กับ P D C A |
การวางแผนเป็นภารกิจอันดับแรกที่มีความสำคัญของกระบวนการจัดการที่ดี การวางแผน เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน คาดการณ์ไปล่วงหน้า และ กำหนดแนวทางที่คาดว่าน่าจะดีที่สุดโดยผ่านกระบวนการคิดก่อนทำ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างได้ผล การวางแผน คือ ความพยายามที่เป็นระบบเพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด สำหรับอนาคตเพื่อให้องค์การบรรลุผลที่ปารถนา การวางแผน ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ 5W1H 1. W – Who - ใคร 2. W – What - อะไร 3. W – Where - ที่ไหน 4. W – When – เมื่อไร 5. W – Why – ทำไม 6. H – How – อย่างไร ความสำคัญของการวางแผน (Sigenificance of Planning) 1. เป็นการลดความไม่แน่นอนและปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 2. ทำให้เกิดการยอมรับแนวคิดใหม่ๆ เข้ามาในองค์การ 3. ทำให้การดำเนินการขององค์การบรรลุตามเป้าหมายที่ปรารถนา 4. เป็นการลดความสูญเปล่าของหน่วยงานที่ซับซ้อน 5. ทำให้เกิดความแจ่มใสชัดในการดำเนินงาน ไม่มีองค์การใดที่ประสบความสำเร็จได้ โดยปราศจากการวางแผน ดังนั้นการวางแผนจึงเป็นภารกิจอันดับแรกที่มีความสำคัญของกระบวนการจัดการที่ดี การวางแผนมีอยู่ด้วยกัน 2ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ ประเภทที่1 การวางแผนเพื่ออนาคต เป็นการวางแผนสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือกำลังจะเกิดขึ้น บางอย่างเราไม่สามารถควบคุมสิ่งนั้นได้เลย แต่เป็นการเตรียมความพร้อมของเราสำหรับสิ่งนั้น ประเภทที่ 2 การวางแผนเพื่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เป็นการวางแผนเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเพื่อสภาพที่ดีขึ้น ซึ่งเราสามารถควบคุมผลที่เกิดในอนาคตได้ด้วยการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปัจจุบัน ประเภทของการวางแผน แยกออกตามแนวความคิดพื้นฐานโดยใช้มิติต่างๆ เป็นเกณฑ์ดังนี้
ลักษณะของแผนที่ดี (Requirements of Good Plan) มีลักษณะดังนี้ 1. แผนควรจะมีลักษณะชี้เฉพาะมากกว่าจะมีลักษณะกว้างหรือกล่าวทั่วๆ ไป 2. แผนควรจำแนกตามความแตกต่างระหว่างสิ่งที่รู้และสิ่งที่ยังไม่รู้ให้ชัดเจน 3. แผนควรมีการเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุผลและสามารถนำไปปฏิบัติ 4. แผนจะต้องมีลักษณะยืดหยุ่นและสามารถปรับพัฒนาได้ 5. แผนจะต้องได้รับการยอมรับจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ลำดับขั้นในกระบวนการวางแผน 1. การกำหนดวัตถุประสงค์ 2. พัฒนาข้อตกลงที่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการวางแผน 3. พิจารณาข้อจำกัดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการวางแผน 4. พัฒนาทางเลือก 5. ประเมินทางเลือก เพื่อเลือกสิ่งที่เป็นไปได้สูงสุด 6. เปลี่ยนแปลงแผนสู่การปฏิบัติ ชนิดของแผน ในปัจจุบันผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ (Vision) กว้างไกลและมีความสำนึกในเรื่องของส่วนรวม มีปณิธาน (Wish) คือ การตั้งความปรารถนาหรือความมุ่งหวังที่จะทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ควบคู่ไปกับการวางแผนในลักษณะต่างๆ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ (Objective) คือจุดมุ่งหมายปลายทางที่องศ์การต้องการ หรือเกิดจากความประสงค์ของผู้ถือหุ้นและพนักงาน วัตถุประสงค์เป็นตัวกำหนดความต้องการอย่างกว้างๆ 2. กลยุทธ์ (Strategy) คือ การวางแผนหลักเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงาน ขององค์การว่าควรหรือไม่ควรดำเนินการอะไรบ้างเพื่อให้เกิดผลดีที่เป็นข้อได้เปรียบ 3. นโยบาย (Policy) คือ หลักการที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติ 4. แผน (Plan) แนวทางหรือวิธีการหรือกลุ่มของแผนงานรวมโครงการและกิจกรรมต่างๆ 5. แผนงาน (Program) คือ แผนที่รวมนโยบายหรือวีปฏิบัติงาน วิธีการทำงาน มาตรฐานงาน และส่วนประกอบอื่นๆ เพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ 6. โครงการ (Project) คือ กลุ่มของกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน อาจเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะคราวมีช่วงเวลาการดำเนินที่แน่นอน 7. วิธีปฏิบัติงาน (Procedure) มีลักษณะเป็นแผนที่บ่งให้เห็นถึงระเบียบที่กำหนดไว้ ในการดำเนินงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องรวดเร็ว 8. วิธีการทำงาน (Method) มีรายละเอียดมากกว่าวีการปฏิบัติงาน เปรียบเสมือนคู่มือ หรือเครื่องมือที่เป็นสื่อในการทำงานแต่ละประเภทให้ประสบความสำเร็จ 9. มาตรฐานงาน (Standard) คือ เกณฑ์ที่ใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อกำหนดว่า มีการพัฒนาตามแผนที่วางไว้หรือไม่ โดยเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานจริงกับ แผนที่คาดไว้ว่าตรงกันหรือไม่ มาตรฐานงานวัดได้ในรูปของคุณภาพของงาน ปริมาณของงาน ต้นทุน และเวลาที่ใช้ 10. งบประมาณ คือแผนงานที่บอกถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมรวมเวลาและ ค่าใช้จ่าย แสดงออกเป็นตัวเลข วงจรของการวางแผนงาน P-D-C-A เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงาน ประกอบด้วย การวางแผน – ปฏิบัติ – ตรวจสอบ – ปรับปรุงการดำเนินงาน การดำเนินกิจกรรม P-D-C-A อย่างเป็นระบบให้ครบวงจรอย่างต่อเนื่องหมุนเวียนเรื่อยๆ ส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพเพิ่มขึ้น Plan หมายถึง การวางแผนการดำเนินงาน · การกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง /กำหนดเป้าหมาย / วัตถุประสงค์ · การกำหนดมารตราฐาน เกณฑ์มาตรฐาน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบว่า การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในแผนหรือไม่ · การเขียนแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะการดำเนินงาน การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลด ความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ Do หมายถึง การปฏิบัติตามแผน · การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด · ก่อนที่จะปฏิบัติจริง ต้องศึกษาข้อมูล และเงื่อนไขต่างๆ ทราบวิธีการและขั้นตอน · การปฏิบัติจะต้องดำเนินการไปตามแผน วิธีการและขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ และ จะต้องเก็บรวบรวมและบันทึก ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นข้อมูลในขั้นตอนต่อไป Check หมายถึง การประเมินแผน/ตรวจสอบ · การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของการดำเนินงาน เป็นไปตามแผนที่ได้ตั้งไว้หรือไม่ · การติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินปัญหาเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุง คุณภาพของงาน · ในการประเมินสามารถทำได้เอง เป็นลักษณะของการประเมินตนเอง Act หมายถึง การปรับปรุง · การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการได้ทำการตรวจสอบแล้วแก้ไขแบบเร่งด่วน เฉพาะหน้า หรือการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ · การปรังปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใดก็ตาม เมื่อมีการปรับปรุง แก้ไขคุณภาพก็จะเกิดขึ้น ดังนั้น วงจร PDCA จึงเรียกว่า วงจรบริหารงานคุณภาพ
องค์กรย่อมมีวงจร PDCA อยู่หลายๆวง วงใหญ่ที่สุด คือ วงที่มีวิสัยทัศน์ และแผนยุทธศาสตร์ ขององค์กร เป็น P การปฏิบัติงานของหน่วยงาน เป็น D การกำกับ ติดตาม ตรวจสอบในองค์กร เป็น C และการแก้ไขปัญหาหรือการปรับแผนในแต่ละปี เป็น A เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ที่มา http://www.oknation.net/blog/knowledge09/2009/08/01/entry-1 |
|
คอมเม้นทั้งหมด: 0 | |