Friday, 22 November 2024, 02:46:06
ยินดีต้อนรับ, Guest
หน้าหลัก » 2012 » August » 31 » ข้อมูลประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
19:53:01
ข้อมูลประเทศสิงคโปร์ (Singapore)

สิงคโปร์ (Singapore)


ชื่อทางการ สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) 

ที่ตั้ง เป็นนครรัฐ ที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ละติจูด 1°17'35" เหนือ ลองจิจูด 103°51'20" ตะวันออก ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ อยู่ทางใต้ของรัฐยะโฮร์ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซีย 
พื้นที่ : ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะใหญ่น้อยบริเวณใกล้เคียง 63 เกาะ มีพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 697 ตารางกิโลเมตร (ประมาณเกาะภูเก็ต) เกาะสิงคโปร์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวจากทิศตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 42 กิโลเมตร และความกว้างจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร 
เมืองหลวง : สิงคโปร์ 
ประชากร : 4.35 ล้านคน (พ.ศ.2548) ประกอบด้วยชาวจีน 76.5% ชาวมาเลย์ 13.8% ชาวอินเดีย 8.1% และอื่น ๆ 1.6% 
ภูมิอากาศ ร้อนชื้น มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส 
ภาษา : ภาษาทางราชการ คือ ภาษามาเลย์ (ภาษาประจำชาติ) จีนกลาง (แมนดาริน) ทมิฬ และอังกฤษ สิงคโปร์ส่งเสริมให้ประชาชนพูด ภาษา โดยเฉพาะจีนกลาง ในขณะที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่องานและในชีวิตประจำวัน 
ศาสนา พุทธ 42.5% อิสลาม 14.9% คริสต์ 14.5% ฮินดู 4% ไม่นับถือศาสนา 25% 
สกุลเงิน : ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar : SGD) อัตราแลกเปลี่ยน (ซื้อ) 23 บาท/ ดอลลาร์สิงคโปร์ (ขาย) 23.5 บาท/ ดอลลาร์สิงคโปร์ (มกราคม 2552) 
ระบอบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

  • ประธานาธิบดี คือ นายเอส อาร์ นาธาน (S R Nathan) (ดำรงตำแหน่งสองสมัยตั้งแต่ กันยายน 2542)
  • นายกรัฐมนตรี คือ นายลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) (12 สิงหาคม 2547)

ประวัติศาสตร์สิงคโปร์

สิงคโปร์เป็นที่รู้จักกันครั้งแรกในสมัยศตวรรษที่ ของชาวจีน พวกเขาเรียกสิงคโปร์ว่า "พู เลา ชุง" (เกาะปลายคาบสมุทร") ณ เวลานั้นไม่ค่อยมีใครทราบประวัติของเกาะแห่งนี้มากนัก แต่ว่าชื่อเรียกนี้ไม่สื่อให้เราเห็นอดีตอันมีสีสันของสิงคโปร์เลย 

ในศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย (Sri Vijayan Empire) และรู้จักกันในชื่อของเทมาเซ็ค (เมืองแห่งทะเล) สิงคโปร์ตั้งอยู่ตรงปลายแหลมมลายู ซึ่งเป็นจุดนัดพบทางธรรมชาติของเส้นทางเดินเรือ เกาะแห่งนี้จึงกลายเป็นจุดแวะพักของเรือเดินสมุทรหลายประเภท ตั้งแต่เรือสำเภาจีน เรืออินเดีย เรือใบอาหรับ และเรือรบของโปรตุเกส ไปจนถึงเรือใบบูจินีส 

ในศตวรรษที่ 14 เกาะที่มีขนาดเล็กแต่มีทำเลที่เยี่ยมแห่งนี้ก็ได้ชื่อใหม่ นั่นก็คือ "สิงหปุระ" ("เมืองสิงโต") ตามตำนานเล่าว่า เจ้าชายแห่งศรีวิชัยมองเห็นสัตว์ตัวหนึ่งแต่เข้าใจผิดว่าเป็นสิงโต ชื่ออันปัจจุบันของสิงคโปร์ก็ถือกำเนิดขึ้น 

ชาวอังกฤษคือผู้สร้างประวัติศาสตร์ตอนต่อมาของสิงคโปร์ ระหว่างศตวรรษที่ 18 นั้น อังกฤษเล็งเห็นถึงความสำคัญของ "จุดแวะพัก" ทางยุทธศาสตร์ สำหรับซ่อม เติมเสบียง และคุ้มกันกองทัพเรือของอาณาจักรที่เติบใหญ่ของตน รวมถึงเพื่อขัดขวางการรุกคืบของชาวฮอลแลนด์ในภูมิภาคนี้ 

ในปี ค.ศ.1824 เพียงแค่ห้าปีหลังจากตั้งประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบัน ประชากรก็เพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 150 คนจนกลายเป็น 10,000 คน ในปี 1832 สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางรัฐบาลของถิ่นฐานช่องแคบปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ การเปิดคลองซุเอซในปี 1869 และการเข้ามาของเครื่องโทรเลขและเรือกลไฟทำให้ความสำคัญของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่กำลังขยายตัวระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก

การตั้งอาณานิคมเป็นการใช้อำนาจของประเทศหนึ่งเหนืออีกประเทศหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วเพื่อหวังผลกำไร ผลกำไรมาจากการตั้งด่านสินค้าในประเทศอาณานิคม ตามประวัติศาสตร์แล้ว เกาะสิงคโปร์ เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมงมาเลย์ เป็นสถานที่ที่จับปลาได้ดีเพราะตั้งอยู่ปากแม่น้ำสิงคโปร์ ก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามาตั้งรกรากอยู่ แต่ในปัจจุบันสิงคโปร์ถูกจดจำเป็นเกาะแห่งเมืองหลวง ชนพื้นเมืองและชาวชนบทจะอาศัยอยู่แถบชายฝั่งและแม่น้ำ ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า บริษัท บริติช อินเดีย นำโดย เซอร์ สแตมฟอร์ด ราฟเฟิลส์ เข้ามาตั้งด่านสินค้าบนเกาะทำให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญที่สุดในปี 1989 กองทหารของสิงคโปร์ภายใต้บริษัท บริติช อินเดีย ก็ประสบความสำเร็จด้วย กำลังทหารของประเทศสื่อถึงพลังของประเทศ สิ่งเหล่านี้ทำให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางแห่งความทันสมัยจากความสำเร็จทางด้านการค้าและการทหาร ในขณะเดียวกัน สิงคโปร์ก็เป็นศูนย์กลางอำนาจของประเทศอังกฤษในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

การตั้งด่านสินค้าในสิงคโปร์ทำให้เกาะนี้เป็นท่าเรือที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก การมาเข้ามามีอำนาจของอังกฤษในพื้นที่แหลมมาเลย์ในช่วงปี 1920 เปลี่ยนแปลงมาเลย์เป็นแหล่งผลิตยางพาราและดีบุกที่ยิ่งใหญ่ และสินค้าถูกส่งออกผ่านทางเกาะสิงคโปร์ จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางการบริหารงานสำหรับมลายา จนภายหลังกรุงกัวลา ลัมเปอร์ ถูกประกาศให้เป็นเมืองหลวงของสิงคโปร์ ในปี 1934 รัฐบาลอังกฤษยกเลิกอำนาจควบคุมบริษัท บริติช อินเดีย และเส้นทางสินค้าต่างๆถูกแทรกแซงได้ สิ่งนี้เป็นไปได้เพราะสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในปี 1842 สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม คือ สนธิสัญญาต่างๆที่เซ็นยินยอมโดยประเทศเอเชียตะวันออกต่างๆ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี กับมหาอำนาจตะวันตกในช่วง ศตวรรษที่ 20 เป็น นี่ช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ชาติต่างๆในเอเชียไม่สามารถต้านทานความกดดันด้านกำลังทหารของชาติตะวันตก ที่ใช้ผ่านสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้ จึงต้องเซ็นยินยอม 

การนำเรือกลไฟมาใช้ขนส่งสินค้า ทำให้การขนส่งเร็วขึ้น และราคาถูกขึ้น เพราะมีความสามารถมากกว่าเรือพายนี่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การค้าเติบโตในสิงคโปร์ การเปิดใช้คลองสุเอช มีผลต่อการค้าอย่างมาก เพราะช่วยให้การใช้เวลาเดินทาง เช่น จากยุโรป ไปเอเชีย ลดลงอย่างมาก ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าของสิงคโปร์มากขึ้น กิจกรรมทางการค้าที่สร้างผลประโยชน์ให้กับสิงคโปร์ได้แก่ สินค้าที่ผู้ค้านำเข้าและส่งออกสินค้าไม่ต้องเสียภาษี ผลประโยชน์ทางการค้าสำเร็จได้ด้วยการตั้งข้อกำหนดสินค้าและความสำคัญของสินค้า ตัวอย่างเช่น ความต้องการเครื่องเทศในยุโรปรวมกับสินค้าอื่นๆทำให้สิงคโปร์เป็นด่านสินค้าที่สำคัญ สิงคโปร์สร้างผลกำไรโดยติดราคาตลาดสูงกว่าราคาทุน ในปัจจุบันการค้าแบบนี้ถูกแทนที่โดยศุลกากรซึ่งเรียกเก็บภาษีจากสินค้าต่างๆ 

จากการที่เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างมาก ผู้บริหารจากอังกฤษจึงไม่ได้ให้เงินทุนกับเกาะแห่งนี้ ผลที่ตามมาก็คือสุขภาพของประชาชนถูกละเลย และประชาชนชาวสิงคโปร์จึงติดเชื้อต่างๆมากมาย เช่น อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ โรคขาดอาหารกลายเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง และผู้เสพย์ฝิ่นที่เป็นปัญหาสังคม ประชากรเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและอังกฤษก็ไม่ได้ให้ความสนใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น จุดมุ่งหมายของการตั้งอาณานิคม คือ ลดความสำคัญของวัฒนธรรมพื้นเมือง และส่งเสริมวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของประเทศตนในประเทศอาณานิคม โดยไม่สนใจความยากลำบากของชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้น

การบริหารของอังกฤษนั้นไร้ประสิทธิภาพ สนใจแต่เพียงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น พวกเขาไม่เข้าใจภาษาและขนบธรรมเนียมของชนพื้นเมือง ไม่สนใจที่จะรักษา และช่วยเหลือการพัฒนาสังคมเลย บทความที่เขียนโดย ดาริโอ โฟ ที่ชื่อว่า "ผิวสีดำ และ หน้ากากสีขาว” อธิบายว่าผู้ล่าอาณานิคมไม่เคยช่วยเสริมสร้างประวัติศาสตร์ของประเทศที่ถูกล่า พวกเขาจะเสริมสร้างและแผ่ขยายประวัติศาสตร์ของประเทศแม่ของตน นี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำไมประวัติศาสตร์จึงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ แต่ละประเทศมีมุมมองต่างกันทางด้านประวัติศาสตร์ ผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับสมัยหลังยุคอาณานิคมมุ่งหมายที่จะยกเลิกมุมมองที่มองประเทศแถบยุโรปเป็นหลักในประวัติศาสตร์ และงานเขียนต่างก็มุ่งหมายที่จะจัดระเบียบประวัติศาสตร์ใหม่และเพิ่มมุมมองที่เท่าเทียมกันเข้าไปให้ผู้อ่านได้รับรู้มากขึ้น กฎของอังกฤษถูกยกเลิกไปในปี 1942 และกองทัพญี่ปุ่นบุกยึดสิงคโปร์ ผลของการบุกเข้ามาของกองทัพญี่ปุ่นในเขตอาณานิคมอังกฤษจึงเกิดการต่อสู้ขึ้น

สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ต่อต้านฝ่ายอักษะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ กลุ่มประเทศอักษะ ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมัน และ อิตาลี สิงคโปร์มีฐานกำลังทหารของประเทศอังกฤษอยู่ และถูกขนานนามว่า "ยิบรอลตาแห่งตะวันออก” เป็นเรื่องน่าตกใจอย่างยิ่งที่ญี่ปุ่นเข้ามาบุกยึดได้ภายใน 8-9วัน นั่นคือ ตั้งแต่วันที่ กุมภาพันธ์ 1942 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 1942 การต่อสู่นี้เป็นการยอมแพ้อย่างสิ้นเชิงของกองทัพภายใต้บริษัท บริติช อินเดีย เชอร์ชิลให้ความเห็นว่าความล้มเหลวที่เสียสิงคโปร์ให้ญี่ปุ่นเป็นความเสียหานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ 

ในปี 1965 สิงคโปร์กลายเป็นรัฐอิสระ และประกาศเป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษเมื่อวันที่ สิงหาคม 1965 ภายหลังในปี 1965 สิงคโปร์ได้เข้าร่วมสหประชาชาติในเดือนกันยายน หลังจากที่สิงคโปร์ได้หลุดพ้นจากการเป็นประเทศอาณานิคมและได้รับอิสระ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็ดีขึ้นอย่างมาก ปัจจุบัน สิงคโปร์อยู่ในประเทศอันดับต้นๆสำหรับนักท่องเที่ยวที่เสาะหาสรวงสวรรค์บนโลกนี้ การลงทุนจากต่างชาติมีมากขึ้น และการเพิ่มผลประโยชน์ให้รับกับมาตรฐานโลกด้านอุตสาหกรรมทำให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรม ด่านสินค้า การศึกษา ความเป็นมหานคร และความทันสมัย

ทุกวันนี้สิงคโปร์ได้ส่งเสริมการเป็นประเทศแห่งศิลปะ เชื้อเชิญผู้คนจากต่างประเทศให้เข้ามาเยี่ยมชมได้มากมาย แผนอุตสาหกรรมถูกนำมาปฏิบัติโดย อัลเบิร์ต วินซิมุส นักเศรษฐศาสตร์ชาวดัตช์ และสิงคโปร์ก็ได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากสังคมที่เป็นระเบียบเรียบร้อยและการวางแผนทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับอัตรา จีดีพี สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ของประเทศที่ร่ำรวยที่สุดของโลก เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ที่มีการดึงเอาทุนจากเงินสำรองของประเทศออกมาหลายร้อยล้านโดยการอนุญาตของนายกรัฐมนตรี

ในส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูประเทศเมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ 2009 ภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง สิงคโปร์ คือ นาย เธอร์แมน แชนมูการัตนัม เงินทุนสำรองของสิงคโปร์มีสูงถึง 170.00 ร้อยล้าน ดอลล่าร์ สหรัฐฯ จากผลสำรวจทางเศรษฐกิจพบว่า สิงคโปร์เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก นี่เป็นผลมาจากประชากรสิงคโปร์ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นสากล ที่อาศัยอยู่อย่างสามัคคีและมั่งคั่งภายใต้การรวมตัวกันของชนพื้นเมืองชาวจีน

การเมืองการปกครองสิงคโปร์

วรวิทย์ ไชยทอง

ลักษณะเด่นและความสำคัญของการเมืองสิงคโปร์ 

ประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบันเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเยี่ยม สิงคโปร์มีการปกครองในระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีประธานาธิบดีทาหน้าที่เชิงพิธีการเท่านั้น สิงคโปร์ได้รับการจัดตั้งให้เป็นสาธารณรัฐสิงคโปร์เมื่อ เดือน ธันวาคม 1965 สิงคโปร์รับเอาระบบประชาธิปไตยรัฐสภาของอังกฤษเป็นแม่แบบ แต่สิงคโปร์มีแต่สภาเดี่ยวไม่มีสภาคู่แบบอังกฤษ

นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากได้รับเอกราชนั้น มีเพียงพรรคการเมืองเดียวคือพรรคกิจประชา(PAP: People’ Action Party) เท่านั้น ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาดารงตำแหน่งทางการเมืองในสภากว่าสามทสวรรษ โดยมีผู้นำประเทศเพียงคนเดียวคือ ลี กวน ยู ภายหลังนายลีจึงยอมลงจากตำแหน่งเพราะบริหารประเทศมานาน แล้วสืบทอดอำนาจให้คนสนิท คือโก๊ะ จ๊ก ตง ซึ่งนายลีก็มีบทบาทในการบริหารอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโส โก๊ะ จ๊ก ตง ก็ดาเนินนโยบายในแนวทางสานต่อทางการเมืองจาก ลี กวนยู เช่นเดิม ในปัจจุบัน การเมืองการปกครองสิงคโปร์นั้นถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีระบบการเมืองที่ค่อนข้าวมีเสถียรภาพมากเป็นลาดับต้นๆของโลกเลยก็ได้ เพราะระบบการเมืองสามารถดาเนินไปได้อย่างมีระบบระเบียบ ไม่มีการแทรกแซงจากอำนาจนอกระบบเช่นการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันเองในหลายๆประเทศ เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลสิงคโปร์เกิดจากการที่สิงคโปร์มีรัฐบาลพรรคเดียวครองอำนาจมาเป็นเวลานานมาก ชนชั้นนำที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองสิงคโปร์นั้นกระจุกอยู่กับกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว พรรค PAP.ของอดีตประธานาธิบดีสิงคโปร์มีบทบาทอย่างมากทางการเมืองตั้งแต่ยุคการเรียกร้องเอกราชจนจึงปัจจุบันที่มีนาย ลี เซียน ลุง บุตรของ นายลี กวน ยู มีอำนาจทางการเมืองจากการเลือกตั้ง 

คำถามที่สำคัญในการเมืองสิงคโปร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสาหรับการเข้าใจการเมืองและความสัมพันธ์ทางอำนาจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจอื่นๆ คือทาไมคนสิงคโปร์จึงยินยอมยอมรับต่ออำนาจของพรรคPAP เพราะถ้าย้อนกลับไปดูหนทางทางการเมืองภายในประเทศ เราจะพบการใช้อำนาจของรัฐอย่างเด็ดขาดในการควบคุม สิทธิ เสรีภาพของพลเมืองอย่างเข้มข้น แล้วใย พลเมืองสิงคโปร์จึงนิยมในการเลือกพรรคPAP เรื่อยมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ชนชั้นนำทางการเมืองการปกครองของสิงคโปร์ใช้วิธีการเชิงรูปธรรมและนามธรรมอย่างไรในการควบคุม ครอบงำการเมืองสิงคโปร์ รวมทั้งสภาพการต่อสู้ของการเมืองในนภาคประชาสังคมของสิงคโปร์เองที่ไม่ชื่นชอบวิธีการควบคุม ครอบงำทางอำนาจ ความคิดของ ชนชั้นนำสิงคโปร์ ถึงวิธีการทั้งทางตรงและทางอ้อม ปกปิดและเปิดเผย ต่ออำนาจ ของชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์ รวมทั้งการทำความเข้าใจและเพื่อการคาดเดาอนาคตการเมืองการปกครองของสิงคโปร์ 

ชาตินิยมกับการเมืองของผู้นำ 
ในเรื่องของชนชั้นนำในการเมืองสิงคโปร์นั้น เราจะพบว่าการเมืองสิงคโปร์ตั้งแต่การได้รับเอกราช นายลี กวน ยู ผู้นำพรรคกิจประชา(PAP) มีบทบาทอย่างมากในฐานะที่สามารถเข้ามาครองอำนาจทางการเมืองได้อย่างยาวนาน ลีกวนยู นาสิงคโปร์เข้ารวมกับมาเลเซียใน การเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่คนมาเลย์ค่อนข้างเหยียดหยามคนสิงคโปร์ หลังรวมกันได้สองปี ลีกวนยูก็แยกสิงคโปร์ออกจากมาเลเซียแล้วมุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี กาจัดผู้ที่คิดต่างทางการเมือง เช่น นักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย คอมมิวนิสต์ 

การทำความเข้าใจชนชั้นนำของสิงคโปร์นั้นอาจศึกษาได้แนวคิดของ Max Weber ในเรื่องการอธิบายลักษณะอำนาจชอบธรรมของชนชั้นนำสิงคโปร์ที่จะปกครอง นั้น เวเบอร์กลั่นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ออกมาเป็นตัวแบบบริสุทธิ์ของการครอบงำ สามแบบหลัก คือ1.แบบจารีต (Traditional) เช่นผู้อาวุโสเป็นใหญ่ แบบพ่อปกครองลูก เป็นต้น 2.แบบบุญบารีส่วนตัว (Charismatic) คือการที่เชื่อว่าผู้ปกครองมีความพิเศษเหนือคนธรรมดา และ 3. แบบที่ต้องอาศัยกฎหมายที่มีเหตุผล (Rational-Legal) หรือระบบการปกครองสมัยใหม่เน้นราชการเป็นตัวจักรในการดาเนินการปกครองภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่อันจากัด มีกฎหมายกำหนด อีกหนึ่งแนวคิดที่สำคัญสาหรับชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์ คือ C.Wright Mills ที่ได้เสนอความคิดของเขาเกี่ยวกับการศึกษาชนชั้นนำทางการเมืองในหนังสือ The Power Elite Mills เสนอว่าการจัดองค์กรทางสังคมในสหรัฐอเมริกานั้นจะมีแต่คนในแวดวงระดับสูง เช่นนักการเมือง ข้าราชการระดับสูง ผู้นำกองทัพ และผู้บริหารบริษัทใหญ่ๆ เป็นต้น ที่สถาปนาตนเองเป็นกลุ่มชนชั้นนำในอำนาจ และควบคุมการดาเนินงานของรัฐ คนเหล่านี้มักมาจากพื้นฐานทางสังคมและการศึกษาใกล้เคียงกัน หรือมีความสัมพันธ์ส่วนตัวมาเป็นเวลายาวนาน 

ในสังคมการเมืองสิงคโปร์นั้น หลังนายลีลงจากตำแหน่งได้สืบทอดอำนาจผ่าน โก๊ะ จก ตง ลีกวนยูมีความน่าสนใจในแง่ที่ว่าเป็นผู้นำเพียงไม่กี่คนในเอเชียที่ยอมลงจากอำนาจโดยสมัครใจเมื่อถึงเวลาอันควร การเปลี่ยนตัวนายกเป็นไปอย่างราบรื่นและเรียบร้อย เนื่องจากมีการเตรียมการเป็นอย่างดีไม่ต่ากว่า 20 ปี สาหรับการสืบทอดอำนาจจากผู้นำทางการเมืองรุ่นแรก ไปสู่ผู้นำทางการเมืองรุ่นที่สอง ลักษณะการสรรหาผู้นำทางการเมืองในสิงคโปร์นั้น พบว่า ผู้นำรุ่นอาวุโสของพรรคกิจประชาจะเสาะหาบุคคลที่มีความรู้ มีการศึกษาสูง มีความสามารถและมีความประพฤติดี เข้ามาเป็นสมาชิกพรรค แล้วส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง ตลอดจนฝึกฝนสมาชิกรุ่นหลังให้ทาหน้าที่สมาชิกรัฐสภาที่ดี นายลีได้ประกาศก่อนหน้า 

การลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึงสองปี ให้ทุกคนรู้ว่า นายโก๊ะ จก ตง จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนถัดไป ชนชั้นนำในสังคมการเมืองสิงคโปร์จึงมีอำนาจอันชอบธรรมจากประชาชนจากการต่อสู้เพื่อเอกราชและการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อย่างมีเสถียรภาพ ความจาเป็นทางเศรษฐกิจของพลเมืองสิงคโปร์ที่ต้องการการเมืองที่มีความมั่นคง เพราะจากการเป็นชาติที่มีปัญหาจากสภาพสังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ทั้งยังถูกโอบล้อมด้วยประเทศใหญ่ ชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์จึงถูกผูกขาดอำนาจอยู่เพียงคนกลุ่มเดียว 

ประชาธิปไตยวิถีเอเชีย 
ผู้นำของสิงคโปร์คือ ลีกวนยู มีความสำคัญอย่างมากในแง่ของการกำหนด เป้าหมาย ปรัชญา อุดมการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมือง ลีกวนยู นาเสนอแนวคิด ค่านิยมเอเชีย (Asian Values) หรือประชาธิปไตยวิถีทางเอเชีย กล่าวคือลีมองว่า ประชาธิปไตยแบบเสรีเป็นแนวคิดแบบตะวันตก ไม่เหมาะสมกับประเทศในเอเชีย เพราะความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม ภูมิประเทศ ดังนั้น ประชาธิปไตยเสรีจึงไม่เหมาะสมถ้าจะนามาใช้ทั้งหมด 

ในช่วงประมาณทศวรรษที่80 สิงคโปร์เริ่มประสบปัญหาทางวิกฤติเศรษฐกิจมากขึ้น ประชาชนเริ่มอึดอัดกับการปกครองที่ควบคุมวิถีชีวิตในทุกแง่มุม การเลือกตั้งในช่วงเวลานั้นประสบคะแนนเสียงของพรรค PAP ลดลงอย่างมาก แม้จะได้ออกแบบโครงสร้างการเลือกตั้งอย่างกีดกันพรรคฝ่ายค้านแล้วก็ตาม ชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์ในขณะนั้นจึงพยายามเสนอแนวคิด "ประชาคมนิยม” (Communitarianism) เพื่อรณรงค์เรื่องความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว และความมั่นคงของรัฐ แนววคิดดังกล่าวมีองค์ประกอบหลักคือ ต้องการเชิดชูความเป็นชาติเหนือกว่าปัจเจกบุคคล สถาบันครอบครัวคือรากฐานที่แท้จริงของสังคม การสนับสนุนจารีตที่ให้ประชาชนผู้น้อยเคารพผู้ใหญ่ การตัดสินใจใดๆก็ตาม ควรเน้นการเห็นพ้องต้องกันมากกว่า การแข่งขัน การถกเถียงกัน และยังต้องสร้างความสามัคคีกันระหว่างประชาชน เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศที่รวมกันของความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ประการสุดท้ายคือ พลเมืองมีหน้าที่ต้องเสียสละแก่บ้านเมือง และรัฐก็ต้องมีสวัสดิการที่ดีแก่ประชาชน อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดดังกล่าวโดยรวมให้ความสำคัญกับเรื่องบทบาทและหน้าที่ของผู้คนในสังคม สอดคล้องกับวัฒนธรรมแบบเอเชีย เช่นแนวทางแบบขงจื้อ

พรรคการเมืองเดียวครองอำนาจ 
การเลือกตั้งของสิงคโปร์ตั้งแต่ในยุคหลังการประกาศเอกราชเป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน ไม่มีพรรคการเมืองใดในสิงคโปร์ที่จะสามารถเข้ามามีเสียงข้างมากในสภาได้ การที่สมาชิกพรรคฝ่ายตรงข้ามกับพรรค PAP จะสามารถเข้ามานั่งในสภาได้ก็นับว่าเป็นเรื่องยาก และเกิดขึ้นน้อยมากเนื่องจากการใช้อำนาจทางการเมืองของรัฐบาลเพื่อกีดกัน และความอ่อนแอในตัวพรรคและนักการเมืองฝ่ายค้านเอง รวมทั้งประชาชนชาวสิงคโปร์ที่นิยม พรรค PAP เป็นอย่างมาก เสียงส่วนใหญ่ในสภาอยู่ในมือของพรรค PAP ตั้งแต่ทศวรรษที่1960 เป็นต้นมา การเลือกตั้งเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากในการเมืองระบอบประชาธิปไตย และพรรคPAP ที่ดูว่าเป็นเผด็จการ ก็มามีความชอบธรรมทางอำนาจมาจากการเลือกตั้งของประชาชน สิงคโปร์มีการเลือกตั้งตรงตามหลักเกณฑ์ประชาธิปไตย แต่เป็นการเลือกตั้งที่ผลิตนักการเมืองเข้าไปจัดการทางอำนาจของคนจากพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวเป็นตัวแทนของประชาชน Chan Heng Chee เสนอว่า ไม่ควรเรียกระบบพรรคการเมืองและการเลือกตั้งว่าเป็นระบบพรรคเด่นเพียงพรรคเดียว แต่ควรเรียกว่าพรรคการเมืองครองความเป็นจ้าว (Hegemonic Party System) มากกว่า เพราะว่าระบบแรกนั้น ในการเลือกตั้งมีการแข่งขันอย่างยุติธรรมระหว่างบรรดาพรรคการเมืองที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพ แต่ในระบบพรรคการเมืองครองความเป็นจ้าวนั้น เป็นการแข่งขันที่มีแต่พรรคๆเดียวที่มีโอกาสชนะ และมีความได้เปรียบพรรคการเมืองอื่นๆที่อ่อนแอกว่าอย่างมาก

เสถียรภาพและความมั่นคงภายใต้ระบอบกึ่งประชาธิปไตย 
การเมืองสิงคโปร์ซึ่งถูกปลูกฝังโดยชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์ที่ให้เน้นความสำคัญของส่วนรวมมากกว่าปัจเจก แนวคิดแบบปัจเจกนิยมเป็นรากฐานและผลผลิตของประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งไม่เหมาะสมสาหรับสังคมสิงคโปร์ การเมืองสิงคโปร์จาเป็นต้องเห็นคุณค่าของส่วนรวม อีกทั้งสิงคโปร์เองเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา การเน้นคุณค่าของส่วนรวมจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากเรื่องความหลากหลาย ด้วยความเป็นชาติใหม่ ที่เพิ่งได้รับเอกราชและมีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย คนสิงคโปร์จาเป็นต้องมีสานึกเรื่องชาติสูง ไม่ต้องการให้เกิดการแบ่งแยกหรือความขัดแย้งใดๆ เพราะประเทศของตนก็เสียเปรียบจากประเทศรอบข้างอย่างมากแล้ว ดังนั้นคนสิงคโปร์ในช่วงแรกจึงเห็นว่าเสถียรภาพทางการเมืองและความมั่นคงของชาติ สำคัญมากโดยเฉพาะเมื่อต้องแข่งขันกันพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สิงคโปร์จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งสร้างชาติให้เจริญเติบโตโดยการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพราะเป็นทางเดียวที่ชาติเล็กๆอย่างสิงคโปร์จะก้าวขึ้นมามีอำนาจในการเมืองโลกได้ 

การเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์นับว่ามีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเมืองสิงคโปร์มีเสถียรภาพสูง คนสิงคโปร์นิยมชมชอบการเมืองแบบลีกวนยู เพราะลีกวนยูมีภาพของความสุจริต ความฉลาดเฉลียว ในการบริหารประเทศ นโยบายทางเศรษฐกิจของลี ทาให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจสิงคโปร์อย่างมากมาย เกิดการกระจายทางทรัพยากรอย่างทั่วถึง ด้วยหลักประชาคมนิยมนั้น ลีเห็นความสำคัญของการจัดสรรสวัสดิการแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก แม้พื้นที่ของสิงคโปร์จะมีจากัด แต่ลีสามารถบริหารจัดการที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภคให้กับคนสิงคโปร์ได้อย่างดี ภายในเวลาไม่กี่ทศวรรษ สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีระบบการเมืองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีความมั่นคงมากเป็นลาดับต้นๆของโลก ว่ากันว่าคุณภาพชีวิตคนสิงคโปร์ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนสิงคโปร์ถือว่ามีคุณภาพดีที่สุดในลาดับต้นๆของโลกเลยทีเดียว 

แน่นอนว่า สิ่งหนึ่งเกิดจากภูมิศาสตร์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์เองที่มีความเหมาะแก่การเป็นเมืองท่าทางการขนส่งทางทะเลเชื่อมโยงระหว่างประเทศในเอเชียกับยุโรปและอาฟริกา นอกจากนี้สิงคโปร์ยังมีความสามารถในการจัดการด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าของภูมิภาค เป็นศูนย์กลางของเงินทุนหมุนเวียนในภูมิภาค กล่าวได้ว่าในภาคการผลิตของสิงคโปร์นั้นมีปริมาณน้อยมากเพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ขนาดพื้นที่ที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนด้านปัจจัยการผลิต แต่สิงคโปร์สามารถเปลี่ยนแนวโน้มการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจเข้าสู่ภาคบริการ และ ภาคการเงิน การลงทุน ศูนย์กลางการบริหารจัดการเป็นต้น ดังนั้นในแต่ละปี สิงคโปร์จึงสามารถทากาไร จากการแสวงหามูลค่าดังกล่าวได้จานวนมาก และเพียงพอต่อการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของพลเมือง 

การสร้างชาติด้วยการสร้างความมั่นทางเศรษฐกิจ 
ภายใต้การจากัดการแสดงออกทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองคือสภาพสังคมสิงคโปร์ที่เกิดขึ้นมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลในอดีตใช้กลไกทางอำนาจรัฐบังคับและควบคุมความคิดทางการเมืองของพลเมืองอย่างเข้มงวด ในเชิงกระบวนการและระบบการเมืองนั้น พรรคPAP ซึ่งมีอำนาจทางการเมืองมาตั้งแต่แรก ได้ปรับเปลี่ยนกลไกการเลือกตั้ง หรือใช้กลวิธีนอกกฎหมาย เพื่อจัดการกับนักการเมืองฝ่ายค้าน ในด้านประชาสังคมนั้น สื่อมวลชนสิงคโปร์ถูกจากัดการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างมาก อาจารย์ในมหาวิทยาลัยก็อาจถูกรัฐบาลจับกุมได้ถ้าแสดงการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ยุครัฐบาล ลีกวนยู และโก๊ะจ๊กตง มีการห้ามนาเสนอข่าวสารอย่างมาก เช่นการจากัดการซื้อขายสื่อที่วิจารณ์รัฐบาล ทาลายการตลาดของสื่อที่วิพากษ์นโยบายรัฐบาล จากัดการขายสื่อต่างประเทศบางฉบับที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลสิงคโปร์ การควบคุมทางเศรษฐกิจและทางการเมืองคือวิธีการของรัฐบาลสิงคโปร์ในการแทรกแซงการสาเสนอข่าวของสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ

อำนาจเด็ดขาดของรัฐบาลต่อพลเมืองสิงคโปร์นั้น นอกจากการห้ามการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากรัฐบาล ยกเว้นองค์กรภาคประชาชนที่รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน  รัฐบาลยังใช้กลไกความรุนแรงบังคับ เช่นการใช้กฏหมายเล่นงานผู้ทีดาเนินการต่อต้านรัฐบาล เคยมีผู้ที่ถูกจับกุมจากรัฐบาลมากุมขังเป็นเวลาหลายเดือน และถูกปล่อยตัวต่อหน้าสื่อมวลชนเมื่อยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้สนับสนุนแนวทางมาร์กซิสจริง ต่อมาบุคคลเหล่านี้เปิดเผยว่าตนถูกบังคับให้สารภาพเช่นนั้นเพราะถูกกระทำการอย่างทารุณทั้งทางร่างกายและจิตใจ และอีกหลายกรณีที่รัฐใช้ระบบยุติธรรมในการจัดการกับผู้ที่ดาเนินการทางการเมืองที่ต่อต้านและน่าสงสัยว่าต่อต้านต่อรัฐบาล 

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์กับการก่อรูปการเมืองสิงคโปร์ 
เศรษฐกิจการเมืองทุนนิยมกับการเปลี่ยนแปลง สิงคโปร์เริ่มพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ในช่วงหลังการได้รับเอกราช เนื่องด้วยต้องการสร้างความเข้มแข็งของรัฐ-ชาติตน เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศเล็กและมีปัญหาเรื่องความหลากหลาย ทางเชื้อชาติ สิงคโปร์จึงสร้างความเป็นชาตินิยมผ่านทางเศรษฐกิจ โดยไม่สนใจการพัฒนาทางการเมืองมากนัก การพัฒนาทางการเมืองของสิงคโปร์เน้นเฉพาะเรื่อง เชิงโครงสร้าง-หน้าที่ การเมืองเชิงสถาบัน แต่ยังบกพร่องในเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมือง ชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์สร้างความเป็นชาติผ่านอุดมการณ์เพื่อส่วนรวม และชี้ให้เห็นถึงความเลวร้ายของแนวคิดปัจเจกชนนิยม ทั้งยังใช้กลไกรัฐเชิงบังคับและเชิงอุดมการณ์เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการกล่อมเกลาและกาจัดการเคลื่อนไหวต่อต้าน จะเห็นได้ว่าบทบาทรัฐของสิงคโปร์นั้นมีความโดดเด่นและสำคัญมาก รัฐมีบทบาทนาอย่างมากในการพัฒนาและสร้างอุดมการณ์ครอบงำการพัฒนาแบบทุนนิยม 

ชนชั้นนำสิงคโปร์ต่อต้านการเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์มีการปราบปรามฝ่ายซ้ายอย่างรุนแรง ชนชั้นนำสิงคโปร์เลือกแนวทางการพัฒนาแบบทุนนิยมเสรีโดยอยู่เคียงข้างสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบัน ในทางเศรษฐกิจนั้น ศาสตราจารย์ คุนิโอะ เสนอว่า ทุนนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นทุนนิยมเทียม เพราะ รัฐแทรกแซงอย่างไร้ประสิทธิภาพ มีเทคโนโลยีต่าและไม่สอดรับทิศทางการพัฒนา รวมทั้งการกีดกันทางการเมืองกับเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความต่างทางเชื้อชาติ คุนิโอะเสนอว่า ไม่สามารถมองสิงคโปร์ซึ่งมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีความเจริญสูงมาก ว่าเป็นรูปแบบที่ถูกต้องของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศนี้ไม่ใช่แบบอย่างประเทศทุนนิยมอุตสาหกรรม เพราะนายทุนที่มีความสามารถในการผลิตส่งออกส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ สิงคโปร์ไม่สามารถสร้างระบบพลวัตรทุนนิยมของตนเองได้เพราะพึ่งทุนต่างชาติมาก แม้จะมีเทคโนโลยีดี ไม่กีดกันเรื่องเชื้อชาติ และมีการแทรกแซงระบบตลาดได้มีประสิทธิภาพกว่าหลายๆประเทศในเอเชียก็ตาม

บทบาทรัฐนาการพัฒนาในสิงคโปร์จึงมีความชัดเจนมาก เพราะรัฐบาลกลายเป็นผู้ถือหุ้นและนักลงทุนรายใหญ่ในธุรกิจต่างๆจานวนมาก ทุนนิยมในสิงคโปร์เป็นทุนนิยมที่เสรีแต่ถูกจากัดอย่างมากในทางการเมือง เศรษฐกิจในสิงคโปร์เป็นเศรษฐกิจที่เน้นภาคการเงินและการบริการมากกว่าภาคการผลิตที่เป็นจริง 

เศรษฐกิจกับเสรีภาพในการเมืองสิงคโปร์ 
ในเรื่องเสรีภาพทางการเมืองกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์นั้นมีความขัดแย้งกันอย่างมาก นิยามของประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจการเมืองทุนนิยมนั้น เราอาจนิยามอย่างง่ายๆได้ว่าคือ การมีการเลือกตั้งเสรี มีรัฐบาลและผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งด้วยหลักการดังกล่าว เราจะพบว่า พรรคการเมืองอย่างPAP นั้น ก็ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนชาวสิงคโปร์อย่างมาก ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ประชาธิปไตยในสิงคโปร์ยังเป็นกึ่งประชาธิปไตยอยู่นั้น เพราะ พลเมืองสิงคโปร์ยังไม่มีสิทธิเสรีภาพในการรวมตัว แสดงออก และมีช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารอย่างหลากหลาย เสรี Barrington Moore เสนอว่าชนชั้นกลางจะเป็นผู้สร้างประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ประชาธิปไตยแบบตะวันตกมาจากการปฎิวัติของชนชั้นกลาง เมื่อเรามาย้อนดูชนชั้นกลางในประวัติศาสตร์การเมืองสิงคโปร์จนถึงปัจจุบัน เราจะ พบว่า ชนชั้นกลางของสิงคโปร์นั้นก็ไม่ได้ชื่นชอบและสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยมากซักเท่าไหร่ เพราะเราจะเห็นว่าชนชั้นกลางส่วนใหญ่ในสิงคโปร์ ก็สนับสนุนอำนาจรัฐแบบเด็ดขาดโดยปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุล ในการเลือกตั้งที่ฝ่ายรัฐบาลกำหนดกฎเกณฑ์การเลือกตั้งเข้าข้างตนเอง มีการใช้ระบบกฎหมายเล่นงานฝ่ายตรงข้าม และฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แต่ชนชั้นกลางสิงคโปร์ก็ยังเลือกพรรคPAP เข้ามาดารงตำแหน่งอย่างท่วมท้น จนเป็นการสืบทอดอำนาจทางการเมืองอยู่เพียงชนชั้นนำทางการเมืองบางกลุ่ม นอกจากนี้เรายังจะเห็นได้ว่าชนชั้นกลางสิงคโปร์ยังเคลื่อนไหวทางการเมืองเพียงเฉพาะประโยชน์ทางเศรษฐกิจแบบคับแคบเท่านั้น 

ชนชั้นกลางกับเสรีภาพในสิงคโปร์มิใช่ภาพนิ่งที่ปราศจากพลวัตรและการเปลี่ยนแปลงเสียเลย ในช่วงที่สิงคโปร์เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจนั้น ก็เกิดการเรียกร้องทางการเมืองเช่นกัน ลึกๆแล้วก็มีคนจานวนมากเช่นกันที่อึดอับและคับแค้นใจจากการปกครองอำนาจนิยมของรัฐบาลในช่วงหลังนายลีกวนยู ลงจากตำแหน่ง นายโก๊ะจ๊กตง ซึ่งมีความก้าวหน้าทางความคิดมากกว่านายลี ก็เริ่มเห็นกระแสการไม่พอใจดังกล่าวก็ได้พยายามลดหรือป้องกันการเรียกร้องทางการเมืองจากการไม่มีอำนาจของพลเมืองในการกำหนดนโยบายรัฐ ด้วยการจัดให้มีการสำรวจความคิด รับฟังความคิดเห็น เพิ่มอำนาจและการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นต้น เพื่อลดกระแสความรุนแรงทางการเมือง จากชนชั้นกลางหน้าใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นจานวนมาก 

การต่อสู้กับอำนาจรัฐกับรัฐบาลสิงคโปร์กระทำได้ไม่ง่าย แต่กระแสความไม่พอใจกฏระเบียบทางสังคมที่เคร่งครัด เข้มงวดอย่างยิ่งนั้นย่อมก่อให้เกิดการต่อต้าน การต่อสู้กับกฎหมายที่เข้มงวดในชีวิตประจาวันของชาวสิงคโปร์เช่น การถ่ายปัสสาวะในลิฟท์ เวลาไม่มีคน ทิ้งก้นบุหรี่ ฯลฯ นี่คือตัวอย่างการต่อสู้ในชีวิตประจาวันของคนสิงคโปร์ 

แนวโน้มทางการเมืองในอนาคตในเรื่องการแสดงออกทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองสิงคโปร์นั้น สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ก้าวหน้ามากขึ้น เพราะรัฐบาลไม่สามารถจากัดการแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นในอดีต โลกยุคโลกาภิวัตน์ที่มีลักษณะไร้พรมแดนทางการสื่อสาร ได้เข้ามาจากัดการใช้อำนาจของรัฐมากขึ้น ทั้งรัฐยังไม่สามารถสร้างวาทกรรมครอบงำได้อย่างง่ายดายเช่นเดิม เพราะกลไกการวิพากษ์วิจารณ์อำนาจเผด็จการมีอำนาจมากขึ้นทั้งโดยตรง และเปิดเผย ปกปิด และซ่อนเร้นมากขึ้นนั่นเอง 

การเมืองเชิงอุดมการณ์ : การสร้างอำนาจของชนชั้นปกครองในสิงคโปร์ 
แนวคิดที่ใช้อธิบายการเมืองสิงคโปร์ที่สำคัญคือ แนวคิดของอันโตนิโอ กรัมชีเรื่องอำนาจ คือการใช้อำนาจของกลุ่ม/ชนชั้นใดๆ เพื่อสร้างภาวะการครอบครองความคิด และมีอำนาจเหนือกลุ่ม/ชนชั้นอื่นๆในสังคม โดยการใช้อำนาจดังกล่าวนั้นปราศจากการใช้ความรุนแรง หรือการบังคับในเชิงกายภาพ แต่เป็นการใช้อำนาจผ่านกลไกชนิด ต่างๆ เพื่อครอบครองความคิด โน้มน้าว และทาให้เกิดการยอมรับ เพื่อก่อให้เกิดขึ้นซึ่งความยินยอมพร้อมใจ และได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มพลังทางสังคมและชนชั้นต่างๆ โดยที่ผู้คนในกลุ่ม/ชนชั้นที่ถูกกระทำนั้นไม่ทราบ หรือไม่สามารถตระหนักได้ว่าตนได้ถูกครอบครองความคิดไปแล้ว 

มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ: 15,303.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 2,715.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

สินค้าส่งออกหลักของไทยไปสิงคโปร์ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป แผง วงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักร กลและส่วนประกอบของเครื่อง และส่วนประกอบอากาศยานและ อุปกรณ์การบิน
สินค้านำเข้าหลักจากสิงคโปร์
 ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและ ส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป
ตลาดส่งออกที่สำคัญของสิงคโปร์ 
ได้แก่ ฮ่องกง มาเลเซีย สหรัฐฯ อินโดนีเซีย จีน 
ตลาดนำเข้าที่สำคัญของสิงคโปร์ ได้แก่ มาเลเซีย สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ถนนสู่ AEC เพื่อ SMEs ไทย

โอกาส

1.       มีทำเลที่ตั้งเป็นเมืองท่าที่สำคัญของโลก มีเครือข่ายธุรกิจกับคนสัญชาติ จีนในประเทศต่างๆ ทำให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ

2.       สามารถจัดตั้งธุรกิจได้อย่างสะดวกรวดเร็ว การดำเนินธุรกิจคล่องตัว เนื่องจากสิงคโปร์มีโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวย อัตราภาษีที่ แข่งขันได้ และบุคคลากรมีความรู้/ความชำนาญระบบการทำงานที่เป็น ระเบียบและมีประสิทธิภาพ

3.       ใช้สิงคโปร์เป็นฐานในการส่งออกต่อ (re-export) สินค้าไทยไปสู่ ประเทศที่สาม โดยอาศัยจุดแข็งของสิงคโปร์ในด้านการจัดการ การตลาด การเงิน/ธนาคาร การสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ที่มี ประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดการด้าน Supply Chain ในระดับมาตรฐาน โลก

4.       เป็นตลาดการค้าเสรีที่นัก ธุรกิจต่างชาติสนใจมาลงทุนจำนวนมากและ มีความ หลากหลายในภาคธุรกิจส่งผล ให้บริษัทไทยมีโอกาสประกอบ ธุรกิจทั้งในสิงคโปร์และสามารถ ต่อยอดเพิ่มได้อีกในประเทศของ นักธุรกิจต่างชาติอื่นๆที่เข้ามา ลงทุนในสิงคโปร์ อีกทั้งได้รับผล ประโยชน์จากการสร้างเครือข่ายกับบริษัทต่างชาติอื่นๆด้วย

อุปสรรค

1.       ตลาดเล็ก

2.       ค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจสูงมาก มีการแข่งขันทางการค้าสูง โดย 106 ถนนสู่ AEC เพื่อ SMEs ไทย ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก เฉพาะสินค้าจากจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

3.       มาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการนำเข้า

ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออกสถานที่ท่องเที่ยว

หากจะมีสักถ้อยคำที่สื่อถึงสิงคโปร์ได้ดีที่สุด คำนั้นก็คือคำว่า "พิเศษสุด" เหตุผลก็คือ สิงคโปร์เป็นเมืองที่ไม่หยุดนิ่งและอุดมไปด้วยความแตกต่างและสีสัน คุณจะพบกับความผสมผสานอย่างกลมกลืนของวัฒนธรรม อาหาร ศิลปะและสถาปัตยกรรมได้ที่นี่ เกาะแห่งนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังที่ถูกปลดปล่อย เป็นเสมือนกลจักรขนาดจิ๋วของเอเชียอาคเนย์ที่รวมเอาสิ่งที่ดีที่สุดของโลก ตะวันตกและตะวันออกเอาไว้ด้วยกัน 

สิงคโปร์ ฟลายเออร์ 
ให้คุณได้สัมผัสกับทัศนียภาพอันงดงามแบบพาโนรามาวิว 360 องศาของสิงคโปร์ ตั้งอยู่ที่อ่าว มาริน่า เบย์ (Marina Bay) บนชั้นที่สามของห้างรีเทล เทอร์มินอล (Retail Terminal) ที่เต็มไปด้วยร้านค้าและร้านอาหาร ส่วนตรงกลางเปิดโล่งรับธรรมชาติแบบป่าเขียวชอุ่ม พร้อมโรงภาพยนตร์แบบกลางแจ้ง คุณจะได้สัมผัสทั้งทัศนียภาพอันงดงามของถนนคนเดินริมฝั่งแม่น้ำยาวกว่า 210 เมตร คุณสามารถชมทัศนียภาพจากจุดที่สูงถึง 165 เมตร คุณจะสามารถสัมผัสประสบการณ์ในการชมท้องฟ้าอันงดงามของสิงคโปร์ อ่าวมาริน่าอันเลื่องชื่อ ตึกสูงระฟ้า วิวธรรมชาติแบบป่าเขียวชอุ่ม และกิจกรรมต่างๆ ภายใต้ท้องฟ้าที่สดใส เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ 8:30 น. ถึง 22.30 น. ใช้เวลาโดยประมาณ 30 นาที 

เกาะเซนโตซ่า (Sentosa) 
เกาะเซนโตซ่า – สวนสนุก รีสอร์ตเขตร้อน สวนธรรมชาติ และศูนย์วัฒนธรรม ทั้งหมดอยู่ในเกาะเพียงเกาะเดียว คุณสามารถเดินทางมาที่นี่ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาทีจากเมืองโดยกระเช้าลอยฟ้า หรือทางรถยนต์ เกาะรีสอร์ทซึ่งเป็นเสมือนอัญมณีแห่งการพักผ่อนของสิงคโปร์นี้มีพื้นที่ถึง 390 เฮกตาร์ พร้อมด้วยแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมมากมาย ครั้งหนึ่ง เซนโตซ่า (หมายถึงความสันติและความสงบสุข) เคยเป็นหมู่บ้านชาวประมงและฐานทัพของอังกฤษ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นเกาะรีสอร์ทที่สงบสุขและงดงามเมื่อปี 1972 เมื่อคุณก้าวเท้ามาที่เกาะนี้ คุณจะค้นพบแดนสวรรค์ของคุณเองจากบรรดาจุดท่องเที่ยวอันน่าตื่นเต้นจำนวน มหาศาลของเรา - ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันมีชีวิต สิ่งบันเทิงทั้งกลางวันและกลางคืน สภาพแวดล้อมสีเขียวชอุ่มที่รอให้คุณสำรวจ สวนที่ตกแต่งอย่างสวยงาม น้ำพุเต้นรำ และสนามกอล์ฟขนาด 18 หลุมระดับอินเตอร์ที่ท้าทายให้คุณเล่น พร้อมด้วยวิวสวยๆ ของภูมิประเทศที่พริ้วไหวตามสายลม ในสมัยนั้น 

สวนสิงโตทะเล (Merlion Park) 
สิงโตทะเล (Merlion) ถูกออกแบบขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมการการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ (Singapore Tourism Board - STB) ในปี 1964 – รูปปั้นนี้มีหัวเป็นสิงโต ร่างเป็นปลา ยืนอยู่บนยอดคลื่น ต่อมาไม่นานทั่วโลกก็ถือกันว่าสิงโตทะเลตัวนี้คือเครื่องหมายประจำชาติ สิงคโปร์ แต่เดิมรูปปั้นนี้ตั้งอยู่ที่สวนสิงโตทะเล (Merlion Park) ข้างๆสะพานเอสพลาเนด (Esplanade Bridge) แม่สิงโตและลูกสิงโตได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว มีการจัดพิธีติดตั้งสิงโตทะเลในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ.1972 ปัจจุบัน รูปปั้นสิงโตทะเลได้บ้านใหม่ซึ่งอยู่ห่างไปจากที่เดิมเป็นระยะทาง 120 เมตร ติดกับ One Fullerton ตัวสิงโตทำจากวัสดุจำพวกซีเมนต์ ผิวหนังทำจากแผ่นกระเบื้อง และตาทำจากถ้วยชาสีแดงขนาดเล็ก 

สวนนกจูล่ง (Jurong BirdPark) 
หากคุณกำลังมองหาการผ่อนคลายจากชีวิตในเมืองที่วุ่นวายและเร่งรีบของสิงคโปร์ สวนนกจูล่ง ที่ซึ่งมีนก 9,000 ตัว จาก 600 สายพันธุ์ที่จะทำใหคุณตื่นตาตื่นใจในความหลากหลาย รูปร่าง และขนาดของพวกมัน สวนนกปรับปรุงใหม่ที่จะให้ความตื่นเต้นแก่คุณ ด้วย กิจกรรมและสิ่งต่างๆ ซึ่งจะสร้างความตื่นเต้นให้คุณ อย่าลืมแวะไปที่ เดอะ แอฟริกัน เวทแลนด์ ซึ่งได้รับรางวัล 2007 เอเซียนต้า ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่สถานที่ท่องเที่ยวเปิดใหม่ที่ดีที่สุดของอาเซียน บรรยากาศแบบแอฟริกัน กระท่อมแอฟริกัน นกที่อันตรายชนิดต่างๆ เช่น ชูบิล แอฟริกันคราวน์เครน แซดเดิลบิล สโตรค และอื่นๆ 

การแสดงชุด เบิร์ดแอนด์บัดดี้โชว์ ที่ปรับปรุงใหม่ได้เพิ่มนกที่เป็นตัวแสดงเพิ่มเข้าสู่การแสดงนกที่ใหญ่ที่ สุด ออกแบบการแสดงโดยผู้ผลิตจากลาสเวกัส เครื่องแต่งกายที่มีเครื่องประดับระยิบระยับและลูกปัด ประกอบกับการสื่อสารระหว่างนกและผู้ชมทำให้การแสดงชุดนี้เป็นที่นิยมชมชอบ ของคนกลุ่มใหญ่ หากท่านต้องการชมสวนของเราจากทุกมุมมอง แนะนำให้ใช้บริการระบบรถลอยฟ้า (Panorail) สุดทันสมัย แล้วค่อยเดินชมสวนนกของเราเปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 8.30 – 18.00 น. 

ลิตเติ้ลอินเดีย (Little India) 
เมื่อคุณย่างเท้ามาที่ "ลิตเติ้ล อินเดีย" (Little India) คุณควรเตรียมพบกับความเร้าใจได้เลย! คุณจะพบกับกลิ่นเครื่องเทศฉุนกึก มาลัยดอกมะลิ ตามด้วยขุมสมบัติเครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง งานแกะสลักไม้ และผ้าไหมซาหรี่สีสดสวยงดงามน่ามอง หยิบแผนที่ขึ้นมาแล้วเริ่มผจญภัยในดินแดนอันมีสีสันแห่งนี้ได้เลย ปัจจุบัน ลิตเติ้ล อินเดีย เป็นศูนย์กลางของชุมชนชาวอินเดียในสิงคโปร์ ถนนที่เต็มไปด้วยกลิ่นเครื่องเทศสายนี้มีเครื่องเพชรพลอยสไตล์อินเดีย มาลัยดอกมะลิ และผ้าไหมส่าหรีเป็นจำนวนมาก เริ่มตั้งแต่เท็กก้าเซ็นเตอร์ (Tekka Centre) และลิตเติ้ลอินเดียอาเคด (Little India Arcade) ที่กว้างใหญ่ ไปจนถึงร้านค้าขนาดเล็ก ลิตเติ้ลอินเดียแห่งนี้เต็มไปด้วยสิ่งน่าสนใจที่รอคุณค้นพบ นอกจากนี้ ระหว่างช่วงเทศกาลดีพาวาลี (ปกติแล้วจัดขึ้นในเดือนตุลาถึงพฤศจิกา) ซึ่งก็คืองานแห่งแสงสว่างของชาวอินเดีย ที่นี่จะกลายเป็นแดนสวรรค์ของถนนอันสว่างไสวที่ประดับประดาอย่างงดงามและ เต็มไปด้วยผู้คนจำนวนมากที่มาเลือกซื้อสินค้า คุณจะสังเกตเห็นความศรัทธาของเหล่าสาวกในระหว่างพิธีกรรมไทยพุซาม (Thaipusam) อันมีสีสัน ซึ่งจัดขึ้นในเดือนมกราและกุมภาพันธ์ของทุกปี 

รูปปั้นเซอร์สแตมฟอร์ด ราฟเฟิล 
เซอร์ สแตมฟอร์ด ราฟเฟิล (Sir Stamford Raffles) คือผู้ก่อตั้งสิงคโปร์ - รูปปั้นบรอนซ์เข้มอันนี้ยืนเด่นงามสง่าอยู่หน้าโรงหนังวิคตอเรีย (Victoria Theatre) นอกจากนี้ ยังมีรูปปั้นเลียนแบบอีกอันอยู่ที่ท่าเรือนอร์ทโบท (North Boat Quay) ซึ่งทำมาจากโพลีมาร์เบิลสีขาวบริสุทธิ์ รูปปั้นนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่มักจะเรียกกันว่าราฟเฟิลแลนดิงค์ไซต์ (Raffles Landing Site) ซึ่งเป็นจุดที่เชื่อกันว่าเซอร์ราฟเฟิลเหยียบขึ้นฝั่งสิงคโปร์เป็นครั้งแรก 

เซนโตซ่า 4D แมจิก 
เซนโตซ่า 4D เมจิก (Sentosa 4D Magix) ให้คุณได้สัมผัสกับประสบการณ์ชมภาพยนตร์ มิติแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบกับการผจญภัยสุดฮาของกัปตันลัคกี้และลูกเรือสุดป่วนในการค้นหาสมบัติล้ำ ค่า เชิญชมความสนุกสนานของภาพยนตร์พร้อมความรู้สึกเสมือนจริงที่นี่ที่เดียว เปิดบริการ ทุกวันตั้งแต่ 10.00 น.- 21.00น. (เปิดให้เข้าโรงภาพยนตร์รอบสุดท้ายเวลา สองทุ่มครึ่ง)

  • รู้จักกับอาหารสิงคโปร์ 
    ชาวสิงคโปร์หลงใหลอาหารและการรับประทานอาหาร มองไปรอบๆแล้วคุณจะพบหลักฐานอยู่ทุกหนทุกแห่ง! เกือบทุกซอกทุกมุมของเกาะนี้คุณจะพบกับอาหารนานาชนิด ทั้งร้อนและเย็น ทุกชั่วโมงในหนึ่งวัน (หรือหนึ่งคืน)! ในเมืองที่มีหลากหลายวัฒนธรรมแห่งนี้ คุณจะพบกับรสชาติที่ไม่รู้จบจากทั่วโลก ในการจัดงานเลี้ยงที่สิงคโปร์คุณจะได้มากกว่าการผสมผสานระหว่างอาหารตะวัน ออกและตะวันตก - แต่เป็นเรื่องราวของรสชาติแห่งการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนใครของ ประเทศนี้ ถักทอจนเป็นอิทธิพลอันเด่นชัดที่ยึดเกาะหัวใจของมรดกทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย ของสิงคโปร์เอาไว้ สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ

 

หมวด: อาเซียน (ASEAN) | Views: 16791 | เพิ่มโดย: jatuporn | Tags: ข้อมูลประเทศสิงคโปร์ (Singapore) | Rating: 5.0/1
คอมเม้นทั้งหมด: 1
avatar
0
1 Ratchanon Puttachat • 19:55:55, 29 August 2014
ยาวมาก
ComForm">
avatar